นายสุพจน์ สิงโตศรี องค์ความรู้ในการจัดการฟาร์มหมูแบบ Zero Waste
7 ธ.ค. 2566
216
0
นายสุพจน์ สิงโตศรี องค์ความรู้ในการจัดการฟาร์มหมูแบบ Zero Waste
นายสุพจน์สิงโตศรีองค์ความรู้ในการจัดการฟาร์มหมูแบบ
นายสุพจน์ สิงโตศรี องค์ความรู้ในการจัดการฟาร์มหมูแบบ Zero Waste

          นายสุพจน์ สิงโตศรี ผู้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงหมูหลุม  โดยใช้แนวทางการเลี้ยงแบบพึ่งพาธรรมชาติ เพื่อลดต้นทุนการผลิต มีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่ปล่อยน้ำเสียออกนอกฟาร์ม และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ) ทำให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และการบริหารด้านการตลาด ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม BCG Model พัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy : B) การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่าควบคู่กับการรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาพันธุ์ ผลิตพ่อแม่พันธุ์ปลอดยาปฏิชีวนะ ลดต้นทุนการผลิตอาหารโดยใช้พืชอาหารท้องถิ่น ควบคู่กับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการฟาร์ม เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy : C) คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เศรษฐกิจสีเขียว มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ขุยมะพร้าว แกลบ มารองพื้น และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นปุ๋ยหมูหลุม (Green Economy : G) มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม เป็นฟาร์มที่สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ ไม่มีกลิ่น ไม่มีน้ำเสีย ทั้งนี้ ฟาร์มของนายสุพจน์เป็นฟาร์มหมูหลุมที่มีขนาดใหญ่สามารถผลิตหมูหลุมขุนได้ปีละ 2,000 ตัว และผลิตปุ๋ยจากการเลี้ยงหมูหลุมได้ปีละ 1,000 ตัน มีส่วนแบ่งการตลาดหมูหลุมคิดเป็นร้อยละ 10 และเป็นศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงหมูหลุมให้กับผู้สนใจทั่วประเทศ

           องค์ความรู้องค์ความรู้

          1.การบริหารจัดการฟาร์มการคัดเลือกสายพันธุ์ (ผลิตพ่อแม่พันธุ์)ผลิตพ่อแม่พันธุ์โดยการคัดเลือกสายพันธุ์พ่อพันธุ์ ใช้พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่อัตราการเจริญเติบโตดี เนื้อมาก แข็งแรงปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี แต่เลี้ยงลูกไม่เก่งแม่พันธุ์ใช้แม่พันธ์ 2 สาย คือ พันธุ์แลนด์เรซ หูปรก ลำตัวยาว รูปร่างมีมัดกล้ามเนื้อ ให้ลูกดกและเลี้ยงลูกเก่ง และพันธุ์ลาร์จไวท์ หูตั้ง ลำตัวยาวขาแข็งแรง มีความสามารถในการเป็นแม่พันธุ์ที่ดีให้ลูกดกและเลี้ยงลูกเก่ง

                    การเลี้ยงสุกรโดยไม่ใช้ยา และวัคซีน การทำอาหารสัตว์ ใช้อาหารข้น 50 % และอาหารหมัก 50 % เพื่อลดต้นทุนค่าอาหาร เน้นพืชจากธรรมชาติ เช่น นำต้นกล้วยมาหั่นเป็นชิ้นๆ หมักในภาชนะ อัตราส่วน อาหารข้น : อาหารหมัก 2 : 1 ในหมูเล็ก 1 : 1 ในหมูรุ่น 1 : 2 ในหมูใหญ่

                    สูตรอาหารหมัก คือ หยวกกล้วยหรือพืชผัก 100 กก. น้ำตาลทรายแดง 4 กก. เกลือ 1 กก.

                    วิธีทำ หั่นต้นกล้วย ให้เป็นชิ้นเล็กๆ คลุกในภาชนะใส่น้าตาลทรายแดงและเกลือ คลุมภาชนะด้วยกระสอบพลาสติกสาน หมักทิ้งไว้ 4-5 วัน

                    สูตรอาหารข้น ผสมเองโดยเลือกใช้วัตถุดิบที่บดละเอียดร่วมกับปลายข้าวบดและใช้น้ำมัน มะพร้าวเพื่อเพิ่มพลังงาน

          การดูแลสุขภาพสัตว์ สร้างภูมิต้านทานโรคโดยยึดหลักธรรมชาติ คือ ให้กินอาหารปลอดสารเคมี พื้นคอกรองด้วยวัสดุจากธรรมชาติ ทำให้สุกรสามารถขุดคุ้ยได้ออกกำลังกาย  มีน้ำดื่มสะอาด  ภายในคอกสะอาดไม่มีการสะสมของเชื้อโรคและไม่แออัด รวมทั้งใช้น้ำหมักผลไม้และจุลินทรีย์ท้องถิ่นให้สุกรกินเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การดูแลสุขภาพสัตว์ สร้างภูมิต้านทานโรคโดยยึดหลักธรรมชาติ คือ ให้กินอาหารปลอดสารเคมี พื้นคอกรองด้วยวัสดุจากธรรมชาติ ทำให้สุกรสามารถขุดคุ้ยได้ออกกำลังกาย  มีน้ำดื่มสะอาด  ภายในคอกสะอาดไม่มีการสะสมของเชื้อโรคและไม่แออัด รวมทั้งใช้น้ำหมักผลไม้และจุลินทรีย์ท้องถิ่นให้สุกรกินเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

                  - การทำน้ำหมักผลไม้ ผลไม้สุกหั่น 1 กิโลกรัม คลุกน้าตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม ใส่ขวดโหล ชั้นบนสุดโรยน้ำตาลทรายแดง ปิดด้วยกระดาษขาว ใช้เชือกผูก ทิ้งไว้ 8-10 วัน กรองเอาน้าไปใช้ อัตราการใช้ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำ 10 ลิตร- เหล้ายาดอง สมุนไพร 1 กก. เบียร์ 2 ขวด เหล้าขาว (40 ดีกรี) 2 ขวด น้ำตาลทรายแดง 0.5 กก . โหลแก้ว 1 ใบ วิธีทำ ใส่สมุนไพรลงในโหล หมักด้วยเบียร์ 2 ขวด ทิ้งไว้ 12 ชม. ครบ 12 ชม.เติมน้าตาลทรายแดง 0.5 กก.ทิ้งไว้ 4-5 วัน เติมเหล้าขาว 2 ขวด หมักทิ้งไว้ 15 วัน นำไปใช้ได้ใช้เหล้า

                  - ใช้เหล้ายาดอง 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 10 ลิตร ให้สุกรกินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อ ช่วยให้สุกรเจริญอาหารและลดความเครียด นอกจากนี้ยังใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีบทบาทในการย่อยสลายทำให้ อัตราแลกเนื้อได้ดีขึ้นและเกิดเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ

                  การทำคอกสุกร (หมูหลุม)

                  - คอกสุกร คอกเลี้ยงหมูหลุมตามตำราจะให้ขุดดินลึกลงไป 90 เซนติเมตร แต่คอกเดิมเป็นพื้นปูนจึงใช้วิธีรองพื้นคอกด้วยแกลบสูงจากพื้นคอกขึ้นมา 60 เซนติเมตร ซึ่งทดลองเลี้ยงแล้วได้ผลดีเช่นกัน ขุดคอกลึกประมาณ 60 - 70 ซม. ใส่แกลบ หรือขี้เลื่อย หรือขุยมะพร้าว หรือก้อนเชื้อเห็ด หรือหญ้าแห้ง โดยเฉลี่ยสุกร 1 ตัว จะใช้วัสดุแห้งประมาณ 100 กก. แบ่งเป็น 2 ชั้นๆ ละประมาณ 30 ซม. ใส่ดินแดง (หรือดินเดิม) ผงถ่าน เกลือทะเล ไอเอ็มโอ3 และจุลินทรีย์ ราดให้ชุ่มทิ้งไว้ 7 วัน จากนั้นปล่อยลูกสุกรลงได้อัตราการปล่อย 2 ตรม.ต่อตัว รดน้ำจุลินทรีย์ในคอกสัปดาห์ละครั้งและทำความสะอาดคอก 1 – 2 สัปดาห์ต่อครั้ง ตัดหญ้าสดให้สุกรกินทุกวันโดยให้กินประมาณ ครึ่งกิโลกรัมน่อตัว เมื่อจับสุกรออกจากคอกหมดจะทำการขุดปุ๋ยออกทั้งหมด พักคอกไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ และเริ่มใส่ วัสดุแห้งเพื่อรองรับลูกสุกรรุ่นใหม่แกลบ 100 กิโลกรัมใช้เลี้ยงหมูได้ 1 ตัว ใน 1 คอกเราจะใช้แกลบ 700-1,000 กิโลกรัม เมื่อใช้เลี้ยงไป 5 เดือน ซึ่งลูกหมูโตพอให้จับขายพอดีจะได้ปุ๋ย 5,000 กิโลกรัม ที่นำไปขายเปลี่ยนเงินต้นทุนค่าแกลบคอกละ 2,000 บาทให้กลับคืนมาได้ถึง 10,000 บาท

                   วัสดุอุปกรณ์วัสดุอุปกรณ์ 1. ใบไม้แห้ง, แกลบ, ขี้เลื่อย และขยะแห้ง 2. ดินแดง 1 กระสอบ 3. ถ่านละเอียด 1 กระสอบ 4. เกลือทะเล 0.5 กก. 5. มูลสัตว์แห้ง 1 กระสอบ 6. ไอเอ็มโอ3 1 กระสอบ 7. ไอเอ็มโอ2 น้าหมักผลไม้ น้าตาลทรายแดง อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้า 10 ลิตร ขั้นตอนการทำ 1. ขุดคอก ลึก 60-90 ซม. 2. ใส่วัสดุตามข้อ 1-7 หนา 30 ซม. 3. ชั้นสุดท้ายโรยด้วยแกลบหนา 1 ฝ่ามือ 4. ทิ้งไว้ 7 วัน จึงใส่ลูกหมู

                   - การทำไอเอ็มโอ 1 วัสดุอุปกรณ์ ข้าวสาร 1 กก. กล่องไม้สี่เหลี่ยม ขนาด 30 x 30 ซม. สูง 10 ซม.กระดาษขาว ตาข่าย พลาสติกใส เชือกฟาง วิธีการทำ หุงข้าวสุก ทิ้งให้เย็น ฆ่าเชื้อกระบะด้วยน้าร้อน เทข้าวลงในกระบะเกลี่ยให้ทั่วใช้กระดาษขาวคลุม มัดด้วยเชือกฟาง นำไปวางไว้บริเวณที่มีเชื้อราขาว นำเชื้อราขาวโรยบนกระดาษเล็กน้อย ใช้พลาสติกคลุมทับป้องกันฝน คลุมด้วยตะข่ายอีกชั้น ใช้ไม้ทับตามมุม ทิ้งไว้3-4วัน เปิดดูเห็นเชื้อราสีขาวอยู่บนข้าวสุก
                   - การทำไอเอ็มโอ 2 วัสดุอุปกรณ์ น้ำตาลทรายแดง 1 กก. ไอเอ็มโอ 1 กระดาษขาว โหลพลาสติก เชือกฟาง วิธีทำ ใช้น้ำตาลทรายขยากับไอเอ็มโอ 1 คลุกให้ทั่วใส่ขวดโหล กระดาษขาวปิด มัดด้วยเชือกฟาง ทิ้งไว้ 4-5วัน จึงนาไปใช้ได้ อัตราการใช้ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้า 10 ลิตร
                   - การทำไอเอ็มโอ 3 วัสดุอุปกรณ์ มูลสัตว์ 2 กระสอบ รำ 1 กระสอบ ไอเอ็มโอ 2 น้ำตาลทรายแดง น้ำสะอาด ฟางหรือเศษหญ้าแห้ง พลาสติก วิธีทำ นำมูลสัตว์กับรำ มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ผสม ไอเอ็มโอ2, น้ำตาลทราย, น้ำหมักผลไม้ ในอัตราส่วน อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร รดให้ทั่วจนมีความชื้น 60 % กองส่วนผสมให้สูงไม่เกิน 70 ซม. ใช้ฟางคลุมใช้พลาสติกคลุมทับบนฟาง ทิ้งไว้ 8-10 วัน นำไปใช้ได้
                   - การออกแบบคอกให้สุกรทุกช่วงอายุอยู่ได้สบาย แตกต่างจากคอกเลี้ยงหมูฟาร์มทั่วไป มีลักษณะเป็นคอกขนาด 4x4 เมตร ด้านล่างก่ออิฐปิดทึบ ด้านบนเป็นตะแกรงเหล็กหรือไม้ เพื่อให้อากาศถ่ายเท ข้อดีคือ ทำให้หมูได้แสดงพฤติกรรมธรรมชาติออกมาได้เต็มที่ ซึ่งทำให้หมู ไม่เครียด อารมณ์ดี มีความสุข ส่งผลต่อคุณภาพของเนื้อหมู เช่น ในสุกรเล็ก ต้องการอุณหภูมิที่สูงกว่า สุกรโต ไม่ต้องการลมมาก จึงมีการใช้ผนังกั้นคอกส่วนหนึ่ง และลูกกรงส่วนหนึ่ง อีกทั้ง ยังสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 100% ในการกกลูกสุกร

                   - การดูแลหมูหลุม
ทุกๆ วัน ดูน้าดื่มหมู ให้หญ้าสด, ผักสด ปริมาณ 1 ใน 3 ของอาหารทุกๆสัปดาห์ กลับเกลี่ยพื้นคอก รดน้าจุลินทรีย์ตามพื้นคอก และ พ่นตัวหมูทาความสะอาดบริเวณโรงเรือนทุกๆเดือน เติมพื้นคอก (แกลบ,ขี้เลื่อย,ดินแดง,เกลือทะเล,ไอเอ็มโอ3)รดน้าจุลินทรีย์,พ่นให้ทั่วบริเวณ

          2. เทคโนโลยีและการประดิษฐ์เครื่องอำนวยความสะดวก
                   - เครื่องหั่นหยวกกล้วย ดัดแปลงมาจากพรานรถไถ เพื่อช่วยในการหั่นต้นกล้วยได้เร็วขึ้น และลดแรงงาน
                   - การให้น้ำสุกร ปรับการให้น้ำจากถ้วยเป็นอ่างน้ำพร้อมจุ๊บน้ำอยู่นอกคอก เพื่อลดการชื้นแฉะของพื้นคอกที่เกิดจากการกินน้ำ และการรั่วของจุ๊บน้ำ

ตกลง