แจ้งเตือนเรื่อง “เพลี้ยจักจั่นมะม่วง”
3 ก.พ. 2563
143
66

แจ้งเตือนเรื่อง “เพลี้ยจักจั่นมะม่วง” วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 

 เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงนี้อาจพบการเข้าท าลายของเพลี้ยจักจั่น ฝอยในช่วงระยะมะม่วงแตกช่อดอก โดยช่อดอกที่ถูกท าลายจะท าให้ช่อดอกแห้งและดอกร่วงติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย และจะมีน้ าเหนียว ๆ คล้ายน้ าหวานติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบ ๆ ทรงพุ่ม ต่อมาตามใบ ช่อดอก จะถูกปกคลุม โดยเชื้อราด าดังนั้น เมื่อพบการท าลายให้รีบแจ้งหรือขอค าแนะน าจากเจ้าหน้าที่ส านักงานเกษตรอ าเภอ  ส านักงานเกษตรจังหวัด เพื่อหาแนวทางการควบคุม และป้องกันก าจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Idioscopus clypealis (Lethierry)  Idioscopus niveosparsus (Lethierry) วงศ์ : Cicadellidae อันดับ : Homoptera ชื่ออื่น : แมงกะอ้า รูปร่างลักษณะ เพลี้ยจักจั่นที่พบระบาดอยู่มี ๒ ชนิด มีรูปร่างคล้ายกันมาก ล าตัวมีสีเทาปนด า หรือน้ าตาลปนเทา  ส่วนหัวโตและป้าน ล าตัวเรียวแหลมมาทางด้านหาง ท าให้เห็นส่วนท้องเรียวเล็ก มองดูด้านบนเหมือนรูปลิ่ม และที่แผ่น ตรงเหนือริมฝีปากบนเป็นสีด า มักอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม แมลงชนิดนี้ใช้ขาหลังดีดตัวกระโดดไปมา ท าให้ได้ยินเสียงชัดเจน ตัวอ่อนมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการการเคลื่อนไหวว่องไวแต่ไม่เท่าตัวเต็มวัย ตัวอ่อนนี้มักพบอยู่เป็นกลุ่มตาม ช่อดอกและใบ โดยเฉพาะบริเวณโคนของก้านช่อดอกและก้านใบ เนื่องจากบริเวณโคนจะมีเยื่อบาง ๆ สีน้ าตาลหุ้มไว้ เมื่อแดดร้อนจัดจะหลบซ่อนอยู่ตามหลังใบเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงเพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรีสีเหลือง อ่อน จะวางไข่ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอก ปรากฏเป็นแผลเล็ก ๆ คล้ายมีดกรีดหลังจากวางไข่แล้วประมาณ ๑ - ๒ วัน จะมียางสีขาวของมะม่วงไหลหยดเห็นได้ชัด ระยะฟักไข่ ๗ - ๑๐ วัน เมื่อออกเป็นตัวอ่อนจะดูดกินน้ าเลี้ยง จากช่อดอกและใบ ตัวอ่อนเจริญเติบโตโดยการลอกคราบ ๔ ครั้ง จึงเป็นตัวเต็มวัย ระยะตัวอ่อน ๑๗ - ๑๙ วัน ลักษณะการท าลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะท าลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน แต่ระยะที่ท าความเสียหาย มากที่สุดคือ ระยะที่มะม่วงก าลังออกดอก โดยจะดูดน้ าเลี้ยงจากช่อดอกท าให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ าเลี้ยง จะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ าเหนียว ๆ คล้ายน้ าหวานติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบ ๆ ทรงพุ่ม ท าให้มะม่วงเปียกเยิ้ม ต่อมาตามใบ ช่อดอก จะถูกปกคลุมโดยเชื้อราด า ถ้าปกคลุมมากก็จะกระทบกระเทือน ต่อการสังเคราะห์แสง ใบที่ถูกดูดน้ าเลี้ยงในระยะเพสลาด ใบจะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบ ตามขอบใบจะมีอาการปลาย ใบแห้งแมลงชนิดนี้พบระบาดทั่วไปทุกแห่งที่ปลูกมะม่วง พบได้ตลอดทั้งปีแต่ปริมาณประชากรของเพลี้ยจักจั่นจะเพิ่ม อย่างรวดเร็วในช่วงออกดอก คือระหว่างธันวาคม - มกราคม เมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกจ านวนเพลี้ยจักจั่นจะเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วและสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนระยะดอกตูม มีปริมาณสูงสุดเมื่อดอกใกล้บาน และจะลดลงเมื่อมะม่วงเริ่มติดผล  ซึ่งจะไม่พบบนผลเมื่อมะม่วงมีขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ 

 ๒ กรมส่งเสริมการเกษตร แนะน าวิธีการป้องกันก าจัด ดังนี้ ๑. ส ารวจแปลงอย่างสม่ าเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งทุกสัปดาห์ ๒. หมั่นส ารวจในระยะที่ใบอ่อน ถ้าพบเพลี้ยจักจั่นฝอยปริมาณน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกท าลายไปเผาทิ้ง  ๓. เมื่อส ารวจพบปริมาณเพลี้ยจักจั่นฝอยท าลายยอดอ่อนเกินกว่า ๕๐% ของทั้งหมดที่ส ารวจในระยะ มะม่วงแตกใบอ่อน ให้ใช้สารเคมีดังนี้  - ไซเปอร์เมทริน ๒๕% EC อัตรา ๓๐ - ๔๐ มิลลิลิตร ต่อน้ า ๒๐ ลิตร  - คาร์บาริล ๘๕% WP อัตรา ๔๕ - ๖๐ กรัม ต่อน้ า ๒๐ ลิตร  - แลมป์ด้าไซฮาโลทริน ๒.๕ % EC อัตรา ๑๐ มิลลิลิตร ต่อน้ า ๒๐ ลิตร 

ตกลง