โรคราดำในมะม่วง
9 ธ.ค. 2564
133
0
ที่มา : สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
โรคราดำในมะม่วง
โรคราดำในมะม่วง

ระวัง โรคราดำ (เชื้อรา Capnodium sp., Meliola sp.) ในมะม่วง สภาพอากาศในช่วงนี้สภาพอากาศเย็น  เตือนผู้ปลูกมะม่วง ในระยะ  ออกดอก รับมือโรคราดำ (เชื้อรา Capnodium sp., Meliola sp.) พบคราบราสีดำติดตามส่วนของต้น ใบ ยอด ช่อดอก หรือผล ทำให้ช่อดอกบานช้า หรือบานผิดปกติ หรือเหี่ยว และหลุดร่วงลงได้ บางครั้งทำให้ไม่ติดผล ถ้าเป็นที่ผลอาจทำให้ผลเหี่ยวและหลุดร่วง แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1. พ่นน้ำเปล่าล้างสารเหนียวที่แมลงปากดูดขับถ่ายไว้ และคราบราดำ เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค 2. เนื่องจากเชื้อราเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้งขับถ่ายไว้ จึงควรพ่นสารกำจัดแมลงดังนี้ เพลี้ยจักจั่น ได้แก่ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล 85% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 10% SL อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เพลี้ยหอย ได้แก่ มาลาไทออน 83% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และเพลี้ยแป้ง ได้แก่ มาลาไทออน 83% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไทอะมีทอกแซม 25% WG อัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

ตกลง