จังหวัดชุมพรจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีถ่านชีวภาพ (Biochar) โครงการศึกษาการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
27 ม.ค. 2565
80
0
จังหวัดชุมพรจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีถ่านชีวภาพ (Biochar) โครงการศึกษาการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
จังหวัดชุมพรจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีถ่านชีวภาพ
จังหวัดชุมพรจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีถ่านชีวภาพ (Biochar) โครงการศึกษาการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ 27 มกราคม 2565 นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีถ่านชีวภาพ (Biochar) โครงการศึกษาการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรจัดขึ้น เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร แก่ผู้ที่สนใจ ซึ่งได้รับความสนใจจาก เกษตรกรผู้จัดทำแปลงศึกษา เกษตรกรเครือข่าย วิสาหกิจชุมชน เกษตรกรทั่วไป เข้าร่วมงาน ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ตำบลวังไผ่ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

นายธีระศักดิ์ ยมสวัสดิ์ เกษตรจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินงานโครงการศึกษาการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้งบประมาณสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงผลการศึกษาการใช้ถ่านชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ที่สามารถทำให้เผชิญปัญหาภัยแล้งและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปรับปรุงดิน และศึกษาทัศนคติ การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติ และสามารถเป็นต้นแบบขยายผลได้ สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีถ่านชีวภาพ (Biochar) ในครั้งนี้ขึ้น โดยภายในงานได้จัดให้มีกิจกรรมการเข้าฐานเรียนรู้ จำนวน 4 ฐาน คือ การเลือกชนิดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กระบวนการผลิตถ่านชีวภาพ ประโยชน์จากถ่านชีวภาพ และสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ โดยเกษตรกรเจ้าของแปลงศึกษาพร้อมด้วยเกษตรกรเครือข่าย และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดชุมพร และนิทรรศการจากศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน วิสาหกิจชุมชน และกรมพัฒนาที่ดิน

ด้านนายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวว่า ดิน คือ ปัจจัยหลักในการเป็นแหล่งให้น้ำ อากาศ และธาตุอาหารแก่ต้นพืช การจัดการดินให้มีสมบัติที่เหมาะสมทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ ทำให้ดินมีโครงสร้างที่ดี จะส่งผลให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช มีแหล่งน้ำและอาหารในดินให้แก่พืช ต้นพืชแข็งแรงสามารถทนทานต่อความแห้งแล้งและการเข้าทำลายของศัตรูพืช การดำเนินงานโครงการศึกษาการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาบริหารจัดการดินอย่างเหมาะสม และนำเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตร นำกลับมาใช้ประโยชน์ เพื่อใช้ในการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการการผลิตพืชในสภาวะที่ต้องเผชิญกับภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต ผลิตสินค้าได้ปริมาณและคุณภาพ เพิ่มรายได้ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ได้อีกด้วย

ตกลง