เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ต่อร่างผลการศึกษาและร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดคลองขลุง โดยใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงของบริษัท ไบโอ เพาเวอร์ แพลนท์ จำกัด
15 ม.ค. 2562
381
0
เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ต่อร่างผลการศึกษาและร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดคลองขลุง โดยใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงของบริษัท ไบโอ เพาเวอร์ แพลนท์ จำกัด

นายวสันต์ พรหมศิริรัตน์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร ได้มอบหมายให้ นางสาวสรรพมงคล  บุญกัน  นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ต่อร่างผลการศึกษาและร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดคลองขลุง โดยใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงของบริษัท ไบโอ เพาเวอร์ แพลนท์ จำกัด   ในวันอังคารที่ 15  มกราคม 2562  ณ ศาลาวัดคลองเจริญราษฎร์บำรุง วัดคลองเจริญราษฎร์บำรุง ตำบลท่าพุทรา อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

โดยมี นายไพโรจน์ แก้วแดง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2  ในครั้งนี้  ร่วมด้วยผู้แทนจากส่วนราชการ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และผู้นำชุมชน   เข้าร่วมประชุม พร้อมให้ความคิดเห็นฯ

การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต่อร่างผลการศึกษาและร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดคลองขลุงฯ  ในครั้งนี้ เป็นการรับฟังความคิดเห็นในครั้งที่ 2 เนื่องด้วย บริษัท ไบโอ เพาเวอร์ แพลนท์ จำกัด มีโครงการที่จะดำเนินการผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งมีกำกลังการผลิตทั้งหมด 15.0 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลนั้น เข้าข่ายในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบก่อนดำเนินการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานฯ รวมทั้งกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ศึกษา

จากการประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ สามารถสรุปความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากประชาชนในพื้นที่ และตัวแทนผู้เข้าร่วมประชุมได้ ดังนี้

1.       มีความกังวลในการเก็บน้ำของบ่อเก็บน้ำของบริษัทว่า จะไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เพียงพอในช่วงฤดูน้ำหลาก  ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ และทีมที่ปรึกษาฯ ชี้แจงว่า บริษัทได้ออกแบบระบบบ่อเก็บน้ำ ให้สามารถรองรับน้ำในฤดูน้ำหลากอย่างรัดกุม

2.        ขอให้ควบคุมการจัดการด้านฝุ่นละอองอย่างรัดกุม

3.       ชุมชนที่อยู่ติดกับพื้นที่โครงการฯ จะได้รับผลกระทบด้านเสียงและฝุ่นละอองหรือไม่ อย่างไร  โดยทางบริษัท แจ้งว่า มีการวางแผนประเมินและเก็บตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงของการก่อสร้างนั้น หากมีปัญหาในด้านดังกล่าวขอให้ติดต่อที่ทีมมวลชนสัมพันธ์ซึ่งจะประจำอยู่ในพื้นที่

4.       ชุมชนขอให้บริษัทตรวจสอบคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมภายหลังจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดฯ แล้ว อย่างต่อเนื่องด้วย

5.       ในการจ้างแรงงาน ขอให้บริษัทพิจารณาจ้างแรงงานในท้องถิ่นก่อนเป็นลำดับแรกด้วย  โดยบริษัทแจ้งว่า ทางบริษัทมีนโยบายรับแรงงานในท้องถิ่นอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ต้องตรวจสอบข้อมูล และแรงงานต้องมีความรับผิดชอบ ต่อการทำงานด้วย

6.       ควรมีจุดรับซื้อชีวมวลเชื้อเพลิงสำหรับป้อนให้โรงงานอย่างชัดเจนด้วย

 

ทั้งนี้  ภายหลังจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ฯ ในครั้งนี้  ทางบริษัทจะได้จัดทำรายงานการประชุม ปิดประกาศไว้ในแต่ละชุมชนในพื้นที่ ภายใน 15 วัน  รวมทั้งวิเคราะห์กลั่นกรองข้อมูล เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

ตกลง