ผักคะน้าเด็ดยอด
16 ก.ย. 2565
125
0
ผักคะน้าเด็ดยอด
ผักคะน้าเด็ดยอด

บทความนี้จะกล่าวถึงผักชนิดหนึ่ง ที่ขอเรียกชื่อตามลักษณะการใช้ประโยชน์ว่า ผักคะน้าเด็ดยอด โดยเรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า petit kale หรือที่รู้จักกันในชื่อ ปูเล่ กล่าวได้ว่า เป็นผักอีกชนิดหนึ่งของผักรับประทานใบ ต้นมีอายุยืน ผักคะน้าเด็ดยอดนี้มีคุณลักษณะเด่นคือ สามารถแตกยอดขนาดเล็กจํานวนมากคล้ายยอดอ่อนของผักคะน้า สามารถนําไปประกอบอาหารได้แบบผักคะน้าทุกเมนู นอกจากนี้ ยอดอ่อนยังมีเส้นใยน้อยกว่าผักคะน้า จึงไม่เหนียวเมื่อบริโภคลักษณะเด่นของ ผักคะน้าเด็ดยอด 

  1. ยอดอ่อนมีเส้นใยน้อยกว่าผักคะน้า จึงไม่เหนียว สามารถนําไปประกอบอาหาร ทั้งรับประทานสดและปรุงสุกได้แบบผักคะน้าทุกเมนู
  2. เป็นพืชผักตระกูลกะหลํ่า มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิด โดยเฉพาะสารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะการเกิดโรคมะเร็ง
  3. เจริญเติบโตได้ดีทั้งการปลูกในภาชนะ เช่น กระถางขนาดใหญ่ หรือนําไปปลูกเป็นแปลงแบบการปลูกผัก
  4. มีอายุการให้ผลผลิตยอดอ่อนต่อเนื่องยาวนานหลายปี
  5. เป็นผักที่สามารถปลูกแบบผักปลอดภัย (ไม่ใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช) เนื่องจากศัตรูพืชที่พบ สามารถป้องกันและกําจัดโดยใช้จุลินทรีย์ควบคุม หรือโดยการควบคุมสภาพแวดล้อมขณะปลูก

คะน้าเด็ดยอด เน้นการขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เนื่องจากต้นพันธุ์ที่ผลิตได้จะมีความสม่ำเสมอ แข็งแรง และปลอดโรค ศูนย์ขยายพันธุ์พืชสยาม (เอกชน) สนใจและเห็นว่า ผักคะน้าเด็ดยอดนี้ เหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นพืชผักประจําบ้าน หรือพัฒนาวิธีการปลูกเชิงธุรกิจ รวมทั้งยังได้คัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีลักษณะดีเด่นและผลิตเป็นต้นพันธุ์ดีออกมา และยังได้ศึกษาวิธีการปลูกที่เหมาะสมสําหรับผู้บริโภคเพื่อใช้ปลูกในลักษณะผักปลอดภัยประจําบ้าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่ปัจจุบันมีความเสี่ยงต่อการบริโภคผักที่มีสารเคมีกําจัดศัตรูพืชตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ดังตัวอย่างข้อมูลของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกําจัดศัตรูพืช หรือ Thai PAN เรื่องผลการตรวจสารเคมีกําจัดศัตรูพืชตกค้างในผัก-ผลไม้ ประจําปี พ.ศ. 2561 พอสรุปได้ว่า 

  1. ตัวอย่างผักไฮโดรโปนิกที่สุ่มเก็บจากห้างสรรพสินค้าและตลาด จํานวน 30 ตัวอย่าง พบว่า มี 19 ตัวอย่าง พบสารเคมีกําจัดศัตรูพืชตกค้างเกินค่ามาตรฐาน
  2. ตัวอย่างผักและผลไม้ที่เก็บจากห้างสรรพสินค้าและตลาด เช่น ผักคะน้า พริกแดง ส้มสายนํ้าผึ้ง และแก้วมังกร เหล่านี้ติดป้ายเป็นผักอินทรีย์ ผักปลอดสาร และผักไม่ติดป้าย โดยตรวจพบสารเคมีกําจัดศัตรูพืชทุกกลุ่มผัก แม้แต่ผักที่มีสัญลักษณ์ปลอดภัย ก็ยังตรวจพบ ยกตัวอย่าง เช่น ผักคะน้า สุ่มเก็บมา 11 ตัวอย่าง ตรวจพบสารเคมีเกินค่ามาตรฐานถึง 10 ตัวอย่าง
  3. กลุ่มสารเคมีกําจัดศัตรูพืชที่พบเจอ ได้แก่ สารเคมีในกลุ่มสารกําจัดวัชพืช สารป้องกันและกําจัดเชื้อรา สารกําจัดแมลงและไร นอกจากนี้ ยังพบสารเคมีชนิดดูดซึมหลายชนิด สารชนิดดูดซึมนี้แม้จะล้างทําความสะอาดอย่างถูกวิธี (เช่น ล้างด้วยนํ้าส้มสายชู) ก็ไม่สามารถล้างได้ เพราะถูกดูดเข้าไปในเนื้อเยื่อพืชแล้ว (http ://thaipublica.org, http so://youtu.be/-W60Wn23ZRQ)

เห็นได้ว่า แนวโน้มของสารเคมีกําจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในผัก-ผลไม้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น หากรอให้ผู้เกี่ยวข้องควบคุมให้พืชผักปลอดภัยได้จริง คงใช้เวลาอีกยาวนาน และเมื่อเราบริโภคผักปนเปื้อนเคมีเหล่านี้เข้าไปมากๆ ก็จะเกิดการสะสมสารเคมีในร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท และที่สําคัญคือ โรคมะเร็ง ผู้เขียนอยู่ต่างจังหวัดมีอาชีพทำการเกษตร ทราบดีว่า การใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชมีอยู่ทุกพื้นที่ หาซื้อได้ง่ายๆ ส่วนใหญ่ก็ใช้แบบเกินความจําเป็น ดังนั้น จึงขอสนับสนุนทุกๆ ครอบครัว ที่พอมีพื้นที่ปลูกผักชนิดต่างๆ เพื่อบริโภค โดยเฉพาะพวกที่ใช้ประจํา เช่น มะนาว กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และขอเพิ่มคะน้าเด็ดยอดเข้าไปด้วยอีกชนิดหนึ่ง

 

แหล่งที่มา วรนัฐ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา 

 

ตกลง