ระวัง หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ในข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว)
25 ก.ค. 2565
48
0
ระวังหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
ระวัง หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ในข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว)
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เตือนผู้ปลูกข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว) ในระยะ ระยะออกดอก-ติดฝัก รับมือหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
ในระยะออกดอก หนอนจะเจาะเข้าไปกินส่วนยอดที่ม้วนอยู่ โดยกัดกินและเจริญเติบโตภายในช่อดอก ทำให้ช่อดอกไม่สามารถคลี่บานได้ จึงมีเกสรตัวผู้ไม่เพียงพอต่อการผสมเกสร ฝักที่ได้จะไม่มีเมล็ด หรือมีเมล็ดไม่เต็มฝัก ทำให้ผลผลิตต่ำ การเข้าทำลายฝัก ตัวหนอนเข้าทำลายโดยการเจาะที่ก้านฝัก หรือโคนฝัก หากมีการระบาดรุนแรงมากจะเจาะกินภายในแกนกลางฝัก และเมล็ดด้วย
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
ในสภาพธรรมชาติมีแมลงด้วยกันที่คอยทำลายหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดให้มีปริมาณลดลง แมลงที่มีประโยชน์เหล่านี้ได้แก่ แตนเบียนในวงศ์ไทรโครแกรมมา แมลงหางหนีบ (Proreus simulans Stallen) แมลงช้าง (Chrysopa basalis Walker) Anthicus ruficollis Sand และ Formicomus braminus La ferte-Senectere (แมลงปีกแข็งในวงศ์ Anthicidae) และแมงมุม Cyclosa sp.
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดถ้าไม่ระบาดรุนแรงจริง ๆ แล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้สารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัด เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมักจะเกิดที่ปลายฝักหรือส่วนของลำต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการระบาดเกิดหลังจากถึงระยะติดเมล็ดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตนัก ในกรณีที่สังเกตเห็นว่ามีหนอนระบาดมากพอสมควร และมีโอกาสเกิดความเสียหายก็อาจป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น
พ่นสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
(- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระยะออกดอก พ่นสารเมื่อพบหนอน 2 ตัวต่อต้น หรือ รูเจาะ 2 รูต่อต้น
- ข้าวโพดหวานในระยะออกดอก พ่นสารเมื่อพบหนอนมากกว่า 50 ตัว หรือ รูเจาะ 50 รู จากข้าวโพด 100 ต้น)
ที่มา : สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
ตกลง