ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ
15 มิ.ย. 2560
164
0

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ 

ระหว่าง 14 มิถุนายน 2560 - 20 มิถุนายน 2560

ภาคเหนือ

        ในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 18-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. 

พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะที่ผ่านมาหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคมีฝนตกน้อยกว่าอัตราการสูญเสียน้ำจากการระเหยน้ำและการคายน้ำของพืช และในช่วงวันที่ 18-20 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ซึ่งจะเป็นผลดีสำหรับกล้าข้าวที่กำลังเจริญเติบโต บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย 

สัตว์เลี้ยง ฝนที่ตกต่อเนื่องในระยะนี้ทำให้อากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลโรงเรือนให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ให้อับชื้นเพี่อป้องกันสัตว์อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคหวัดในสัตว์ปีก เกษตรกรควรให้วัคซีนป้องกันโรคแก่สัตว์เลี้ยง รวมทั้งหมั่นสำรวจหากพบสัตว์ที่เป็นโรคให้แยกออกแล้วทำการรักษา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

        ในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 18-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 

ข้าวนาปี ในช่วงวันที่ 18- 20 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อาจทำให้ท่วมแปลงต้นกล้าข้าวที่ปลูกใหม่ได้ เกษตรกรควรเตรียมพร้อมป้องกันกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้สภาพอากาศที่มีความชื้นสูงอาจชักนำให้เกิดการระบาดของโรคไหม้ ชาวนาควรหมั่นสำรวจแปลงนา หากพบควรรีบกำจัด 

พืชไร่/ พืชผัก สำหรับฝนที่ตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในข้าวโพด และพืชผักสวนครัว โรคหัวมันเน่าในมันสำปะหลัง เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกหากพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้รีบกำจัด นอกจากนั้นบริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย

ภาคกลาง

        ในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 18-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 

พื้นที่การเกษตร ระยะนี้บางพื้นที่แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณและการกระจายยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชโดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้ง วางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ตลอดช่วงที่มีฝนตกน้อย 

พืชไร่/พืชผัก/ไม้ดอก ในช่วงที่มีปริมาณและการกระจายของฝนลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนใน พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

ภาคตะวันออก

        ในช่วงวันที่ 15-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ในช่วงวันที่ 18-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส 

พื้นที่การเกษตร แม้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกชุกทำให้ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรยังคงต้องเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ในไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และอาจถึงตายได้ 

พืชไร่/พืชผัก เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนที่ลดลงเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และพืชผักควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงัก การเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ นอกจากนั้นควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

        มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส 

พื้นที่การเกษตร สำหรับบริมาณฝนที่ลดลงในระยะนี้ เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย 

พืชสวน/พืชผัก ในช่วงที่มีฝน

ตกลง