กษ.นครศรีฯร่วมโครงการสนับสนุนยุทธศาสตร์ส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี และการจัดประเภทชุมชนท่องเที่ยว
4 ก.ค. 2562
530
0
กษ.นครศรีฯร่วมโครงการสนับสนุนยุทธศาสตร์ส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว
กษ.นครศรีฯร่วมโครงการสนับสนุนยุทธศาสตร์ส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี และการจัดประเภทชุมชนท่องเที่ยว

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม 2562 เวลา 09.30 น. นายสุริยันต์  บุญญานุกูล เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช มอบหมายให้นางสาวนิพภยา  ยอดระบำ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร เข้าร่วมประชุม “โครงการสนับสนุนยุทธศาสตร์ส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี และการจัดประเภทชุมชนท่องเที่ยว” จัดโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช  ณ โรงแรมแกรนปาร์ค อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีนายขจรเกียรติ รักพานิชมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุม สรุปได้ดังนี้  

1. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี แบ่งความโดดเด่นชุมชนเป็น 4 กลุ่ม ภายใต้กลยุทธ์ “พัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และบริการในชุมชนท่องเที่ยว” เพื่อการสร้างงาน สร้างอาชีพ และลดความเหลื่อมล้ำสังคมอย่างยั่งยืน

2. จากการลงทะเบียน OTOP ปี พ.ศ. 2557-2561 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวน 1,836 ราย 3,566 ผลิตภัณฑ์ ส่วนการส่งผลิตภัณฑ์เข้ารับการคัดสรรหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 249 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น

1) ประเภทอาหาร 64 ผลิตภัณฑ์ 

2) ประเภทเครื่องดื่ม 8 ผลิตภัณฑ์ 

3) ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย 48 ผลิตภัณฑ์ 

4) ประเภทของใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึก 101 ผลิตภัณฑ์ 

5) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 28 ผลิตภัณฑ์ 

โดยได้ประมาณการยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2562 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 2,923 ล้านบาท

3. การดำเนินงานชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป้าหมายเดิมได้กำหนดเอาตัวผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นตัวตั้ง แต่หลังจากการประเมิน ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว พบว่าเป็นนโยบายที่ดี แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้ปรับนโยบายใหม่

4. การจัดประเภทชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตถี ตามศักยภาพและความโดดเด่น แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 

1) ประเภท A หรือชุมชนท่องเที่ยวดาวเด่น (Attractive)  

2) ประเภท B หรือชุมชนท่องเที่ยวดาวรุ่ง (Brighten Star) 

3) ประเภท C หรือชุมชนโดดเด่นเฉพาะด้าน (Case Study) 

4) ประเภท D หรือชุมชนสินค้า OTOP (Delivery Products)

5. กรอบการพิจารณาจัดแบ่ง ประเภทชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จะพิจารณาจาก 3 ประเด็นหลัก คือ  

1) ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว (50%) 

2) ความพร้อมของชุมชน และสิ่งอำนวยความสะดวก (30%)  

3) สินค้าและบริการ (20%)

6. จังหวัดนครศรีธรรมราช มีชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จำนวน 82 ชุมชน แบ่งเป็น 

 - ประเภท A (Attractive) 1 ชุมชน (ชุมชนบ้านวังหอน ต.วังอ่าง อ.ชะอวด) 

- ประเภท B (Brighten Star) 6 ชุมชน 

- ประเภท C (Case Study) 32 ชุมชน 

- ประเภท D (Delivery Products) 43 ชุมชน 

โดยมีเป้าหมายชุมชน คือ สามารถบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว และสร้างรายได้อย่างยั่งยืน 

7. มติที่ประชุม ได้รับรองผลการจัดประเภทชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดนครศรีธรรมราช และควรพิจารณาความโดดเด่นให้ชัดเจน เพื่อให้จังหวัดนครศรีธรรมราชขับเคลื่อนนโยบายชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีได้ตามเป้าหมายสูงสุด คือ ประชาชนมีความสุข เน้นคุณภาพ และความคุ้มค่า โดยเอาความพร้อมของชุมชนเป็นตัวตั้ง ชุมชนใดมีความพร้อมก็ต้องดำเนินการก่อน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ตกลง