เกษตรฯ พลิกโฉมสู่กระทรวงล้ำสมัย ชูเทคโนโลยีดิจิทัลการเกษตรเตรียมเปิดตัว Quick Win
27 พ.ย. 2562
1,317
0
Quick Win
เกษตรฯพลิกโฉมสู่กระทรวงล้ำสมัย
เกษตรฯ พลิกโฉมสู่กระทรวงล้ำสมัย ชูเทคโนโลยีดิจิทัลการเกษตรเตรียมเปิดตัว Quick Win

เกษตรฯ พลิกโฉมสู่กระทรวงล้ำสมัย ชูเทคโนโลยีดิจิทัลการเกษตรเตรียมเปิดตัว Quick Win ให้บริการออนไลน์ครั้งแรก พร้อมกันทุกหน่วยงานในสังกัด 27 ธันวาคมนี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้มุ่งมั่นในการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของประเทศ และขับเคลื่อนให้เป็นกระทรวงที่ก้าวล้ำทันสมัย ยกระดับการบริการสู่ประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเกษตร และมีเป้าหมายในการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech เพื่อยกระดับการบริการเกษตรกร การทำงานของหน่วยงานภาครัฐ และสาธารณะอย่างเต็มประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อเป้าหมายยกระดับ GDP ประเทศ ผ่านการขับเคลื่อนเทคโนโลยีการเกษตรซึ่งเป็นนโยบายหลักของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน)โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ และมีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ 

นายอลงกรณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางในระยะแรก คือ การปฏิรูปกระทรวงเกษตรฯ ให้เป็นกระทรวงเทคโนโลยีที่ทันสมัยสู่มิติใหม่แห่งยุค Digital Transformation ด้วยการ Quick Win ของ 22 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรในวันที่ 27 พฤศจิกายน2562เป็นต้นไป ในรูปแบบแอปพลิเคชั่นให้บริการทางออนไลน์ จัดเป็นฐาน 6 กลุ่ม ให้บริการแก่เกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ และสาธารณะ ประกอบด้วย 1. กลุ่มการให้บริการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจด้านนโยบายการผลิต ได้แก่ (1) ฐานข้อมูลศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (Big data) โดยกรมชลประทาน (2) ศูนย์ข้อมูลสถานการณ์ทางการเงินภาคสหกรณ์ไทย โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์(3) การจัดทำระบบบริหารจัดการข้อมูลด้านข้าวและพัฒนาข้อมูลเชิงแผนที่เพื่อสนับสนุนการใช้งานแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Rice GIS) โดยกรมการข้าว 2. กลุ่มการให้บริการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจด้านการผลิตสำหรับเกษตรกร ได้แก่  (1) ระบบช่วยตัดสินใจในการลงทุนปลูกพืช โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2) การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจปล่อยสินค้าภายใต้หลักการบริหารจัดการความเสี่ยง โดย กรมประมง (3) ระบบปศุสัตว์ไทย 4.0 (DLD 4.0) โดย กรมปศุสัตว์ (4) การพัฒนาระบบรับคำขอและออกใบผ่านด่านยางพารา ผ่านระบบ NSW โดย กรมวิชาการเกษตร (5) พัฒนาแหล่งบริการข้อมูลแหล่งรับซื้อ-ขายสินค้าเกษตรและข้อมูลอุปกรณ์การตลาดของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรผ่านระบบ GPS โดย กรมส่งเสริมสหกรณ์ (6) ระบบบริการประชาชนออนไลน์ ส.ป.ก. “ปันสุข”โดย สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (7) ศูนย์ประสานงานเพื่อช่วยเหลือปัญหาภัยแล้งและบรรเทาภัยพิบัติ โดย กรมฝนหลวงและการบินเกษตร (8) การพัฒนา Platform เพื่อรองรับการดำเนินงานเกษตรอัจฉริยะ โดย สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (9) โครงการบริการข้อมูลเพื่อการเกษตรอัจฉริยะบนพื้นที่สูง โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (10) ระบบคำนวณราคาและบันทึกประวัติคุณภาพน้ำดิบ (COWCULATOR) โดย องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (11) ระบบสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยาง โดย การยางแห่งประเทศไทย

3. กลุ่มการให้บริการข้อมูล ได้แก่ (1) ระบบสืบค้นและให้บริการข้อมูลดิน โดย กรมพัฒนาที่ดิน (2) การให้บริการข้อมูลมาตรฐานสินค้าเกษตรผ่านแอพพลิเคชั่น TAS2GO โดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งช่าติ (3) ระบบการจองเข้าชมพิพิธภัณฑ์แบบหมู่คณะแบบออนไลน์ โดย สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (4) Application จัดเก็บและรายงานราคาสัตว์น้ำ โดย องค์การสะพานปลา (5) การพัฒนาฐานข้อมูลสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร กลุ่มสถาบันเกษตรกรและ OTOP ในเครือข่ายอ.ต.ก. ภายใต้เว็บไซต์ Ortorkor.com โดย องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร 4. กลุ่มการให้บริการข้อมูล Big Data & Innovationได้แก่ การเปิดเผยและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล (DOAE Open Data) โดย กรมส่งเสริมการเกษตร 5. กลุ่มการให้บริการช่องทางการตลาด  ได้แก่ระบบให้บริการข้อมูลร้านค้าจำหน่ายผ้าไหมที่ได้มาตรฐานของกรมหม่อนไหม โดย กรมหม่อนไหม 6. กลุ่มการให้บริการองค์ความรู้ ได้แก่ การพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูลการวิจัยการเกษตรของประเทศโดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ พร้อมกำหนดเปิดตัวใช้งาน Quick Win โดยจะเริ่มคิกออฟพร้อมกันทุกหน่วยงานในวันที่ 27 ธันวาคมนี้ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่แก่เกษตรกรและประชาชนโดยจะรวมบริการออนไลน์ทั้ง 6 กลุ่มให้สามารถสืบค้นข้อมูลได้ตามความต้องการซึ่งขณะนี้ ทุกหน่วยงานมีความพร้อมคืบหน้าไปแล้วกว่า 80% เบื้องต้น สามารถดูรายละเอียดข้อมูลการให้บริการในแต่ละกลุ่มของทุกหน่วยงานได้ทาง https://www.moac.go.th/article-preview-412791791792   และหลังจากดำเนินการ Quick Win ระยะแรกแล้ว ในระยะถัดไปจะยังคงเดินหน้าปฏิรูปกระทรวงเกษตรฯ โดยพัฒนา Big Data กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้สามารถให้บริการเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ  ในกระทรวงทั้ง 77 จังหวัด สำนักงานเกษตรในต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ นับเป็นกระทรวงต้นน้ำด้านแหล่งผลิต จะเชื่อมโยงกับกระทรวงต่างๆ ที่เป็นกลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำปลายน้ำ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการคลัง และภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศเกษตร 4.0 ไปพร้อมกัน

 

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง