วันที่ 22 - 24 มิถุนายน 2563 นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางไปราชการเพื่อติดตามงานและขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ณ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดพิจิตร
24 มิ.ย. 2563
108
0
วันที่ 22 - 24 มิถุนายน 2563 นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางไปราชการเพื่อติดตามงานและขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ณ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดพิจิตร
วันที่22-24มิถุนายน2563นางดาเรศร์กิตติโยภาส
วันที่ 22 - 24 มิถุนายน 2563 นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางไปราชการเพื่อติดตามงานและขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ณ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดพิจิตร

                วันที่ 22 - 24 มิถุนายน 2563 นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางไปราชการเพื่อติดตามงานและขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ณ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดพิจิตร

                ในวันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2563 เป็นประธานการประชุมเพื่อติดตามงานและขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และหารือการทำการเกษตรอัจฉริยะในแปลงใหญ่ โดยมีนายเชน จีนหมวกดำ เกษตรจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วยนายดำรงค์ชัย มีช้าง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานเกษตรอำเภอบางกระทุ่ม สำนักงานเกษตรอำเภอวังทอง และนายวีระชัย เข็มวงษ์ เกษตรจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยนายสามารถ เดชบุญ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นางเหรียญทอง ชัยสุวิรัตน์ เกษตรอำเภอสากเหล็ก และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร พร้อมทั้งโดยนายเอกรัตน์ เตชะเวช ผู้อำนวยการโรงงงานน้ำตาลพิษณุโลก พร้อมทีมคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่โรงงานน้ำตาลพิษณุโลก และเกษตรกรผู้นำ เข้าร่วมประชุมดังกล่าวเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนแปลงใหญ่แบบบูรณาการ ณ บริษัท น้ำตาลพิษณุโลก จำกัด อำเภอบางกระทุ่ม โดยผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ข้อเสนอแนะนำ ติดตามและเร่งรัดเพิ่มเติม ดังนี้

                1. ระบบการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่เน้นย้ำให้ดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาแปลงใหญ่ 5 ด้าน (ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐาน และให้มีการประเมินศักยภาพตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นแปลงใหญ่ โดยสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจ้างแรงงานคน และสามารถทำงานได้ทันต่อช่วงเวลาการเพาะปลูกที่เหมาะสมในช่วงเวลาที่มีอยู่จำกัด อันจะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยง ลดการสูญเสียผลิตผลในช่วงการเก็บเกี่ยว พร้อมทั้งส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกัน

                2. เกษตรกรควรมีการวางแผนการผลิตและการตลาดที่ชัดเจน โดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต้องมีการบูรณาการร่วมกัน ภาคราชการจะสามารถส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ในด้านการผลิต การรวมกลุ่ม ส่วนในภาคเอกชนจะสามารถเติมเต็มในด้านความรู้ในเรื่องแผนธุรกิจ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าใจการทำธุรกิจ ความคุ้มค่าในการลงทุน และการวางแผนการบริหารจัดการธุรกิจของตนเองได้อย่างยั่งยืน

                3. สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับแปลงใหญ่ เพื่อเข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อสร้างโอกาสให้กับเกษตรกรในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ และส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาการผลิต

                ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในการประชุมครั้งนี้ด้วย จากนั้นผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางต่อไปยัง หมู่ที่ 4 บ้านเขาน้อย ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง เพื่อพบปะกับเกษตรกรที่เข้าร่วมดำเนินการกลุ่มแปลงใหญ่อ้อย เพื่อวางแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของการผลิตอ้อยในรูปกลุ่มแปลงใหญ่

                ในวันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563 ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายสามารถ เดชบุญ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นางเหรียญทอง ชัยสุวิรัตน์ เกษตรอำเภอสากเหล็ก และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร เดินทางไปพบปะเยี่ยมเยียนเกษตรกร โดยในพื้นที่อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร พบว่าเกษตรกรกรส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้ในด้านการผลิตอ้อย เนื่องจากพื้นฐานเดิมเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และเริ่มมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเป็นอ้อยโรงงาน ทั้งนี้ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้เกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสากเหล็ก เข้ามาให้ความรู้พร้อมทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยมีความเข้มแข็งสามารถบริหารจัดการการผลิตและการตลาด ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นย้ำเป้าหมายการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ตั้งแต่กระบวนการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา ตลอดถึงการเก็บเกี่ยว และการบริหารจัดการร่วมกันในกลุ่ม เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และเกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง