วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00 น. นายอภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนรายสินค้าเกษตรสำคัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
26 พ.ย. 2563
74
0
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00 น. นายอภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนรายสินค้าเกษตรสำคัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันพฤหัสบดีที่26พฤศจิกายน2563เวลา09.00น.นายอภัย
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00 น. นายอภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนรายสินค้าเกษตรสำคัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

   วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00 น. นายอภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนรายสินค้าเกษตรสำคัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดยะลา ดังนี้

    1. สินค้ากาแฟ : แนวทางแผนส่งเสริมการปลูก 

        1.1 ส่งเสริมปลูกกาแฟเป็นพืชเสริม/ทดแทนยางพารา เป็นทางเลือกใหม่สร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้เกษตรกร ซึ่งการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดยะลา มีวางแผนดำเนินการ ในพื้นที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลาเป้าหมายเกษตรกร จำนวน 201 ราย/1,400 ไร่ ซึ่งให้มีการวางแผนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพเช่น พิจารณาระยะการปลูกต่อไร่ให้มีความเหมาะสม ส่งเสริมการเก็บรักษา/แปรรูปกาแฟ เพื่อให้ผลผลิตได้คุณภาพ

         1.2 ส่งเสริมการปลูกกาแฟผสมผสานในสวนทุเรียน การวางแผนให้สินค้ากาแฟซึ่งมีตลาดรองรับ เพื่อเป็นแนวทางลดและป้องกันการเกิดปัญหาทุเรียนล้นตลาด เนื่องจากปัจจุบันมีราคาสูงทำให้เกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนมากในพื้นที่ โดยพื้นที่เป้าหมายดำเนินการอำเภอธารโต เบตง และบันนังสตา และให้มีการพัฒนาระบบน้ำให้มีความเหมาะสม

         1.3 การตั้งจุดสหกรณ์การเกษตรเป็นศูนย์รวบรวมกาแฟส่งให้กับผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร โดยสหกรณ์จังหวัดยะลาเป็นผู้รับผิดชอบ

         1.4 จัดทำคู่มือการปลูกทุเรียน มาตรฐานต่างๆ เช่น อินทรีย์ GAP เป็นต้น เพื่อให้ทุกส่วนราชการ และเกษตรกรนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป

         1.5 จัดทำฐานข้อมูล แผนที่ปลูก ปริมาณการผลิต-ความต้องการ การป้องกันกำจัดโรคพื่อเป็นข้อมูลในการส่งเสริมในระยะยาวได้อย่างถูกต้อง โดยมอบหมายเกษตรและสหกรณ์จังหวัดยะลาเป็นเจ้าภาพร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจเขตในพื้นที่

     2. การใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช (โรคใบร่วงยางพารา) ในช่วงนี้เริ่มมีการระบาดของโรคและยังไม่สามารถควบคุมได้ : แนวทางการขับเคลื่อนเชิงรุก โดยการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดยะลาและเกษตรและสหกรณ์จังหวัดยะลาเป็นเจ้าภาพหลักบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่ ดังนี้ 1) การใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น ไตรโคเดอร์มา เป็นต้น และ 2) การใช้แนวทางการป้องกันและกำจัดโรคของจังหวัดสตูล โดยการใช้ไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยอินทรีย์ในการดูแลบำรุงรักษาต้นยางพาราอย่างเหมาะสม

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง