นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแนวทางส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนโครงการนำร่อง
7 พ.ค. 2564
28
0
นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแนวทางส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนโครงการนำร่อง
นางดาเรศร์กิตติโยภาสผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแนวทางส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนโครงการนำร่อง

ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนโครงการนำร่อง พัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่” (ข้าวโพดหวาน) ผ่านระบบ VDO Conference

                วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.30 - 16.00 น. นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแนวทางส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนโครงการนำร่อง พัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่อุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน เพื่อหารือแนวทางปฏิบัติงานในพื้นที่และพิจารณากรอบการดำเนินงานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรม โดยมีหน่วยงานในสังกัด กษ. ที่เกี่ยวข้องทั้งคณะทำงานส่วนกลาง และหน่วยงาน กษ. ระดับจังหวัด จาก 4 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายในรัศมี 100 กิโลเมตรจากจุดรับซื้อ ในส่วนของ ส.อ.ท. นำโดยนายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล รองประธาน ส.อ.ท. นายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทซันสวีต จำกัด(มหาชน) และนางสาวลัดดาวัลย์ ราชุรัต ผอ.สถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร

                ผลการประชุมหารือสรุปได้ว่า

                1) หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีความเห็นตรงกันว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อเกษตรกร

                2) เห็นด้วยกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยรวมกลุ่มกันเป็นแปลงใหญ่ในการผลิตข้าวโพดหวาน โดยมีตลาดรับซื้อที่ชัดเจน 

                3) เอกชนพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีการผลิตมาช่วยแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการผลิตให้มีผลผลิตต่อเนื่องสม่ำเสมอ และมีคุณลักษณะที่เป็นไปตามความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรม

                ทั้งนี้ ในการบริหารงานโดยรวมของโครงการจะใช้กลไกลการขับเคลื่อนในจังหวัด โดย กษ. เป็นหน่วยงานประสานงานภาพรวมในระดับจังหวัด และให้เกษตรจังหวัดในฐาน COO เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนเชิงปฏิบัติในพื้นที่ และมอบหมายให้จังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่เป็นจุดศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างหน่วยงานในสังกัด กษ และโรงงานอุตสาหกรรม

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง