กรมฝนหลวงฯ เร่งช่วยเหลือพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำจากฝนทิ้งช่วง
23 มิ.ย. 2564
342
0
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดย 5 หน่วยปฏิบัติการฯ ภาคเหนือและภาคกลาง เร่งวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา หลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร และน้ำต้นทุนมีปริมาณน้ำเก็บกักค่อนข้างน้อย ด้านภูมิภาคอื่นๆ ยังคงติดตามสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแผนช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
กรมฝนหลวงฯเร่งช่วยเหลือพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำจากฝนทิ้งช่วง
กรมฝนหลวงฯ เร่งช่วยเหลือพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำจากฝนทิ้งช่วง

วันที่ 23 มิถุนายน 2564 นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูฝนเป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือนแล้ว แต่หลายพื้นที่ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรและน้ำใช้การอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด ได้แก่ จ.ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา นครนายก สมุทรปราการ สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่มีการทำการเกษตรปลูกข้าวและพืชไร่เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงพื้นที่เขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดกลางบางแห่งมีปริมาณน้ำต้นทุนต่ำกว่า 30% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วง และการกระจายตัวของฝนไม่สม่ำเสมอ ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดย 5 หน่วยปฏิบัติการฯ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฯ จ. เชียงใหม่ ตาก พิษณุโลก ลพบุรี และกาญจนบุรี ที่ได้ร่วมกับกองทัพอากาศและกองทัพบก สนับสนุนอากาศยานและเจ้าหน้าที่ จึงเร่งวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ถึงปัจจุบัน ทำให้สามารถช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบางส่วนของจังหวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น จ.ตาก ลำปาง กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท เป็นต้น และเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้แก่พื้นที่ลุ่มรับน้ำ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนศรีนครินทร์ อ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก อ่างเก็บน้ำห้วยเทียน บึงบอระเพ็ด เป็นต้น

นายสุรสีห์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภูมิภาคอื่นๆ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยังคงตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงทั้งหมด 13 หน่วยฯ ทั่วประเทศ     การวางแผนช่วยเหลือพื้นที่ ที่ขาดแคลนน้ำ พื้นที่ขอรับบริการฝนหลวง โดยมีการติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำต้นทุนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกวันเพื่อขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือทันทีเมื่อสภาพอากาศเข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง อย่างไรก็ตาม พี่น้องเกษตรกรและประชาชน สามารถขอรับบริการฝนหลวงโดยการประสานกับอาสาสมัครฝนหลวงและหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ หรือช่องทางติดต่อสื่อสารทาง Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร Twitter Instagram Line Official Account : @drraa_pr และหมายเลขโทรศัพท์ 02-109-5100

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง