ชป.ยันบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติอย่างเต็มศักยภาพ ช่วยให้ประชาชนมีน้ำกินน้ำใช้อย่างเพียงพอ
30 มิ.ย. 2564
367
0
ชป.ยันบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติอย่างเต็มศักยภาพ ช่วยให้ประชาชนมีน้ำกินน้ำใช้อย่างเพียงพอ
ชป.ยันบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติอย่างเต็มศักยภาพ
ชป.ยันบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติอย่างเต็มศักยภาพ ช่วยให้ประชาชนมีน้ำกินน้ำใช้อย่างเพียงพอ

กรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน (30 มิ.ย. 64) ว่า ขณะนี้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 34,243 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 10,313ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 7,754 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯรวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 1,058 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งในขณะนี้มีการเพาะปลูกข้าวนาปี 64 ไปแล้วทั้งประเทศรวม 8.55 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 51 ของแผน เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพาะปลูกไปแล้ว 4.70 ล้านไร่  คิดเป็นร้อยละ 59 ของแผน

ปัจจุบันพื้นที่หลายแห่งมีฝนตกน้อยเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมไปถึงสถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ส่งผลกระทบต่อน้ำดิบผลิตประปาของการประปานครหลวง(กปน.) ทำให้ต้องระบายน้ำเพิ่มจากแผนที่วางไว้ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และยังคงจำเป็นต้องจัดสรรน้ำตามรอบเวรให้กับพื้นที่การเกษตรที่ทำการเพาะปลูกไปแล้ว โดยจะให้ความช่วยเหลืออย่างศักยภาพ ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่ได้ทำการเพาะปลูก ขอให้ชะลอการเพาะปลูกออกไปก่อน จนกว่าจะมีปริมาณฝนตกในพื้นที่สม่ำเสมอและมีปริมาณน้ำเพียงพอ นอกจากนี้ ได้ร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ตลอดจนรักษาระบบนิเวศและพื้นที่การเกษตรในหลายพื้นที่ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภายใต้ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด พร้อมทั้งประสานขอความร่วมมือไปยังกระทรวงมหาดไทยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ฝ่ายปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในพื้นที่ 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อชี้แจงประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำให้ทุกภาคส่วนรับทราบอย่างต่อเนื่อง

อนึ่งการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมเพื่อให้มีน้ำอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ ตลอดจนน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอภายใต้แผนการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 64 ตามข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควบคู่ไปกับการวางแผนรับมืออุทกภัยและการเก็บกักน้ำสำรองไว้ใช้ในอนาคตอีกด้วย หากประชาชนหรือหน่วยงานใดต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อสอบถามได้ที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือโทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460 ได้ตลอดเวลา

 

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง