นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผตร.กษ.เขต 11,13 ประชุมร่วมกับ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชัยภูมิ เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้านโยบายสำคัญของ กษ. ตามแผนการตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รอบที่ 2
21 ก.ค. 2564
239
0
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผตร.กษ.เขต 11,13 ประชุมร่วมกับ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชัยภูมิ เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้านโยบายสำคัญของ กษ. ตามแผนการตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รอบที่ 2
นายสัตวแพทย์สมชวน
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผตร.กษ.เขต 11,13 ประชุมร่วมกับ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชัยภูมิ เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้านโยบายสำคัญของ กษ. ตามแผนการตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รอบที่ 2

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผตร.กษ.เขต 11,13 ประชุมร่วมกับ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชัยภูมิ เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้านโยบายสำคัญของ กษ. ตามแผนการตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รอบที่ 2

 

เมื่อวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.30 น. นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าของแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในพื้นที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รอบที่ 2 (จังหวัดชัยภูมิ) พร้อมด้วยที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน หัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการ สังกัดกระทรวงเกษตรฯ เพื่อรับการตรวจติดตามและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการที่รับผิดชอบในประเด็นที่สำคัญ ผ่านสื่อเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Cloud Meeting 

 

ผู้ตรวจ สมชวนฯ ได้รับฟังรายงานจากที่ประชุม โดยมีข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. การตลาดนำการผลิต ควรมีฐานข้อมูลพื้นฐานทั้งกระบวนการผลิตของสินค้าของแต่ละชนิดที่ถูกต้องและแม่นยำ ทั้งภายในจังหวัด จังหวัดข้างเคียงที่ส่งไปสินค้าไปขาย และระดับประเทศ เช่น ข้อมูลการผลิต การบริโภค การตลาด เพื่อนำไปวางแผน และจัดทำมาตรการเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน  ซึ่งต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปริมาณสินค้ามีความเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค จะส่งผลให้ราคาสินค้ามีเสถียรภาพมากขึ้น มีตลาดจำหน่ายสินค้าที่แน่นอน ได้กำไรจากการจำหน่ายสินค้า เกษตรกรมีความพึงพอใจ ทั้งนี้ ควรเลือกสินค้าหนึ่งชนิดใสดำเนินการ ให้เป็นต้นแบบต่อสินค้าอื่น

2. การลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ ที่มีศักยภาพ มีความเข้มแข็ง แต่ประสบปัญหาด้านงบประมาณ หน่วยงานควรสนับสนุนการจัดหาแหล่งทุน เช่น กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรแปลงใหญ่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และปรับปรุง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรอกข้อมูลลงในระบบสารสนเทศของโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำข้อมูลสรุปเสนอผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ 

4. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน ควรเร่งรัดให้ได้ตามเป้าหมาย ของวัคซีนที่ได้รับจัดสรรมาแล้ว และควรจัดทำแผนการฉีดวัคซีนให้มีรายละเอียดชัดเจนในรอบต่อไปที่จะได้รับวัคซีนเพิ่มเติมด้วย 

5. เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อได้กู้ยืมเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร  และจะครบกำหนดชำระหนี้ในเดือนสิงหาคม 2564 มีความประสงค์จะขอขยายเวลาชำระหนี้ออกไปอีก 1 ปี เนื่องจากประสบปัญหาการระบาดของโรคลัมปี สกิน และโรค COVID-19 มีแนวโน้มที่เกษตรกรจะไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ได้ หากไม่ขยายเวลาชำระหนี้ให้เกษตรกร อาจมีการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อเรียกร้องจากรัฐบาล

 

ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนด้านเศรษฐกิจ (นายสิทธิพล สุทธิศักดิ์ภักดี) มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ในจังหวัดชัยภูมิมีปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรจำนวนมาก ควรสนับสนุนเกษตรกรให้มีการแปรรูปสินค้าเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้มีการจัดทำเกษตรแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุนการผลิต จัดทำข้อมูลสินค้าเกษตรรายชนิดเพื่อเป็น Big Data ในนำมาบริหารจัดการด้านการตลาด รวมทั้ง ควรจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน ให้เพียงพอ

 

โดยการประชุมครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบาย Agri Challenge ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องการให้ผู้ตรวจราชการฯ เป็นผู้นำในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการในพื้นที่

 

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง