นายพีรพันธ์ คอทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน ตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ฯ จังหวัดนครพนม
24 มิ.ย. 2565
69
0
นายพีรพันธ์คอทองผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายพีรพันธ์ คอทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน ตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ฯ จังหวัดนครพนม

วันศกุร์ที่ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30 น. 

       นายพีรพันธ์ คอทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการฯ ประจำเดือนมิถุนายน 2565 จังหวัดนครพนม ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ โดยมีเกษตรและสหกรณ์จังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อคิดเห็น 

       โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 

       สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนมได้บูรณาการการร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัด (ข้าว และปลานิล (ในกระชัง)) ตามข้อค้นพบ ปัญหา/ความท้าทาย และข้อเสนอแนวทางการแก้ไข/พัฒนา ตามผลการตรวจราชการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 1 โดยได้ร่วมหารือ แลกเปลี่ยน และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสินค้า ข้อค้นพบ/ปัญหาสำคัญ (Pain Point) นำมาสู่การกำหนดแนวทางในการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนาสินค้า ทั้งในด้านปริมาณการผลิต ประสิทธิภาพการผลิต ทรัพยากรการผลิต คุณภาพมาตรฐานกระบวนการผลิตและสินค้า รวมทั้งการเงินและอัตราส่วนทางการเงิน โดยผลักดันการขับเคลื่อนงานภายใต้นโยบายสำคัญของกระทรวง ทั้งนี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีข้อเน้นย้ำในภาพรวม ดังนี้ 

       1. ขอให้หน่วยงานได้บูรณาการการทำงานร่วมกันในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลแบบองค์รวม (Holistic) เพื่อวาง Treatment เทคนิคทางวิชาการที่พึงปฏิบัติเพื่อให้ทราบว่าอะไรที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการด้อยค่าทางประสิทธิภาพการผลิต และปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อสื่อสาร ชี้แจง สร้างความเข้าใจต่อเกษตรกร เพื่อประกอบการตัดสินใจการผลิตทางการเกษตร 

       2. ขอให้หน่วยงานสอบทานและปรับเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการอบรม พัฒนาทักษะเกษตรกร และปรับหลักสูตรการอบรมให้ความรู้ โดยนำความรู้และทักษะสมัยใหม่มาถ่ายทอด ทดสอบ ฝึกปฏิบัติแก่เกษตรกร เช่น การปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจาก Climate change, การใช้ประโยชน์จาก Bio & Circular Technology, การวิเคราะห์ทางการเงิน การลงทุนและผลตอบแทน Precision Technology และ Farm Design & Management, พัฒนาทักษะการใช้ประโยชน์จาก Application ด้านการเตือนภัย เฝ้าระวังโรคระบาดพืช ด้านการพยากรณ์อากาศ เช่น WMSC (ฐานข้อมูลข่าวสารในการบริหารจัดการน้ำ) และ Thai Water เป็นต้น เพื่อการติดตาม เฝ้าระวังความเสี่ยง โดยควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับ (Data Feedback) เพื่อการประเมินผลก่อนและหลังการดำเนินการ และนำเสนอรายงานผลการดำเนินงาน เพื่อร่วมหารือ แลกเปลี่ยนในการประชุมตรวจราชการ รอบที่ 2 ต่อไป 

       3. ควรสร้างพื้นที่การทำงานร่วมกัน ถอดบทเรียนของต้นแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง (แปลงใหญ่, ศพก. และ Smart Farmer) สู่การเกษตรสมัยใหม่ โดยการจัดการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับ (Data Feedback) เพื่อการประเมินผลก่อนและหลังการดำเนินการ และนำเสนอข้อสรุปผลการศึกษา, ข้อมูลการจัดการความรู้ (KM), ข้อมูลการวิเคราะห์และวางแผนการผลิต/IFPP/แผนธุรกิจเกษตร ของ Smart Farmer และผลงานที่เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับหารือ แลกเปลี่ยน ในการประชุมตรวจราชการ รอบที่ 2 ต่อไป 

       4. ควรมีการจัดการข้อมูลและอธิบายข้อมูลการใช้สารเคมีเกษตรของจังหวัด โดยขอให้กรมวิชาการเกษตรได้มีการสอบทานและรายงานให้จังหวัดทราบผลการตรวจสอบ รวมถึงโอกาสในการใช้อย่างไม่เหมาะสม ใช้ผิดประเภท (Miss Used) ใช้เกินขนาด (Over Dose) พร้อมทั้งควรกำหนดพื้นที่พัฒนาเกษตรอินทรีย์ และวางแผนพัฒนาพื้นที่ Buffer Zone ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งสื่อสารสร้างการรับรู้ในพื้นที่ 

       5. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ได้มีการบริหารจัดการข้อมูลเกษตรกรร่วมกัน และนำส่งข้อมูลให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดได้วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำเสนอรายงานความก้าวหน้าในการประชุมตรวจราชการ รอบที่ 2 ต่อไป

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง