นายพีรพันธ์ คอทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จังหวัดอุดรธานี
17 ม.ค. 2565
146
0
นายพีรพันธ์คอทองผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายพีรพันธ์ คอทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จังหวัดอุดรธานี

       วันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565 เวลา 13.30 น. นายพีรพันธ์ คอทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จังหวัดอุดรธานี ณ ห้องผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (1410) และผ่านระบบ VDO Conference โปรแกรม ZOOM Meeting พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ช่วยผู้ตรวจราชการฯ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

       ทั้งนี้ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการตามนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยดำเนินการเป็นรายสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัด (มันสำปะหลัง และพืชผัก) โดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี ได้ประสานการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ในการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัด ตามแนวทางและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราการฯ ทั้งในด้านปริมาณการผลิต ประสิทธิภาพการผลิต ทรัพยากรการผลิต คุณภาพมาตรฐานกระบวนการผลิตสินค้า และการเงินและอัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมหารือแลกเปลี่ยนการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรนำร่องในสินค้ามันสำปะหลัง รวมถึง รับทราบสถานการณ์ด้านการเกษตรและการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานในพื้นที่ 

       โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

       1. เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งตามมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้งปี 2564/2565 ใน 9 มาตรการ อาทิเช่น มาตรการที่ 5 วางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และไม่เกินเป้าหมายที่กำหนดตามแผนฯ มาตรการที่ 7 การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลักและสายรอง และเตรียมแผนรองรับกรณีเกิดปัญหา เฝ้าระวัง ตรวจวัด และควบคุมการปล่อยน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และชุมชนลงสู่แหล่งน้ำ และมาตรการที่ 9 การสร้างการรับรู้สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนที่กำหนด  

        2. เน้นย้ำการติดตาม เฝ้าระวัง และสร้างการรับรู้มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากปัญหาไฟป่าหมอกควันการเผาทำลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไม่ให้ก่อความเดือดร้อนรำคาญและสร้างมลพิษต่อชุมชน และขอให้รายงานสถานกาณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ผ่านกลไก อ.พ.ก. 

       3. เน้นย้ำการติดตามเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ในพื้นที่ ทั้งนี้ ไม่พบการระบาดของโรคระบาด AFS ในสุกรในพื้นที่ จ.อุดรธานี แต่ได้เน้นย้ำให้มีการป้องกัน โดยการเลี้ยงในระบบปิด ติดตาม เฝ้าระวัง และสำรวจข้อมูล Supply สุกรขุน และสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนว่าจะมีเนื้อหมูเพียงพอต่อความต้องการบริโภคในพื้นที่

       4. การหารือแลกเปลี่ยนการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรนำร่องในสินค้ามันสำปะหลัง พบว่า

               4.1 ด้านประสิทธิภาพการผลิต ผลผลิตเฉลี่ยน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ซึ่งปัญหาหลักมาจากด้านการจัดการ เช่น การใช้ปุ๋ยไม่ถูกต้อง การจัดการวัชพืชไม่เหมาะสมตามหลักวิชาการ คุณภาพดินในบางพื้นที่มีลักษณะเป็นดินดานอัดตัวแน่นทึบเป็นอุปสรรคต่อการซอนไซของรากพืช การไหลซึมของน้ำ และการถ่ายเทอากาศ ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพืช โดยรวมจึงส่งผลต่อปริมาณผลผลิตและกำไรสุทธิของเกษตรกรได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

              4.2 ด้านคุณภาพมาตรฐาน พบว่า ผลผลิตเข้าสู่ระบบ Food Safety น้อย เนื่องจากพฤติกรรมของเกษตรกรยังดำเนินการผลิตตามความเคยชิน อีกทั้งขาดแรงจูงใจในการผลิตแบบประณีต

             4.3 ด้านการบริหารและพัฒนาประสิทธิภาพการตลาด พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายผลผลิตให้แก่โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังภายในจังหวัดและใกล้เคียง โดยได้รับราคาตามข้อกำหนดเงื่อนไขคุณภาพ (เปอร์เซ็นต์แป้งฯ) การรับซื้อ อีกทั้งระบบสหกรณ์การเกษตรกรในพื้นที่ยังไม่มีบทบาท ชัดเจนและแข็งแรงพอที่จะผลักดันการดำเนินธุรกิจและการจัดการองค์ความรู้ทางวิชาการในสินค้ามันสำปะหลังให้แก่เกษตรกรสมาชิก แม้ว่าจะมีการริเริ่มแปรรูปเป็นมันเส้นจำหน่ายให้เกษตรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โคนม ภายในจังหวัดแต่ยังมีปริมาณการค้าน้อยมาก 

       ทั้งนี้ ได้มีข้อเน้นย้ำในภาพรวม กล่าวคือ ควรมีการการพัฒนาคุณภาพดิน ปรับปรุงบำรุงดิน การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อเติมธาตุอาหารที่ยังขาดในดิน อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ผ่านกลไกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) การจัดการน้ำโดยใช้ระบบน้ำหยด ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ให้เต็ม Capacity ผลักดันการเพิ่มผลผลิตที่ได้รับการรับรองระบบ Food Safety โดยเฉพาะการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ ส่งเสริมการแปรรูปและศึกษาความเป็นไปได้ในทุกมิติ (business study ทั้งด้านการผลิต การตลาด การเงิน และการบริหารจัดการ) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (ValueCreation) เพิ่มกำไรต่อไร่ของเกษตรกรให้มากขึ้น พัฒนา/แปรรูปสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน สู่สินค้าเกษตรมูลค่าสูง (High Value Product) รวมถึงการผลักดันเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจของ วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์/สถาบันเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร ให้มีบทบาทที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

x
  • รวมเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตกลง