แนวทางการยกระดับเกษตรไทย ด้วยการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่
23 มิ.ย. 2563
7,967
0
แนวทางการยกระดับเกษตรไทย
แนวทางการยกระดับเกษตรไทย ด้วยการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่

 

แนวทางการยกระดับเกษตรไทย ด้วยการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่

การ​ปรับ​ปรุง​ประสิทธิภาพ​ด้าน​เกษตรกรรม​ ได้​เริ่ม​ขึ้น​อย่าง​ค่อย​เป็น​ค่อย​ไป แต่​แล้ว​ก็​พัฒนา​ขึ้น​อย่าง​รวด​เร็ว  การ​เปลี่ยน​แปลง​แต่​ละ​ขั้น​มี​ผล​กระทบ​อย่าง​รุนแรง​ต่อ​หลาย​ล้าน​ครัวเรือน ​และ​กระบวนการการพัฒนาประสิทธิภาพด้านเกกษตรกรรม ​นี้​ยัง​คง​ดำเนิน​อยู่​ทั่ว​โลก โดยเฉพาะการเกษตรประเทศไทยไทยประสบปัญหาหลายด้านโดยเฉพาะมิติผลิตภาพ หรือคุณภาพในการผลิตอยู่ในเกณฑ์ไม่สูง รายได้เกษตรกรต่ำ เนื่องจากขาดความรู้ที่เพียงพอสำหรับการทำเกษตร ขาดข้อมูลเชิงลึกด้านการตลาดสำหรับวางแผนการผลิต รวมทั้ง การผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพ

อ้างอิงรูปภาพ ; vote4halloran

      ในการจัดการการผลิตในด้านภาคเกษตรกรรม จึงเป็นประเด็นที่สำคัญในการยกระดับในด้านประสิทธิภาพด้านเกษตรกรรม การจัดการการผลิตในปัจจุบันควรคำนึงถึงการจัดการทรัพยากร การใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสม การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพื่อควบคุมการผลิต และการติดตามสภาพอากาศ แนวทางเกษตรแม่นยำ (Precision agriculture) เป็นการจัดการใช้ทรัพยากรโดยแบ่งเป็นพื้นที่ย่อยในพื้นที่จำกัดและเหมาะสมกับพืช เพื่อให้การดูแลการผลิตมีประสิทธิภาพและ แม่นยำในการจัดการผลิตเกษตรกรรมผสมผสาน

     แนวคิด ของการทำเกษตรสมัยใหม่ที่แม่นยำสูงด้วยเทคโนโลยีและการจัดการผลิตภาคเกษตรตามแนวคิดเกษตรปราดเปรื่อง (smart farm) ที่การจัดการการผลิตตั้งแต่กระบวนการวางแผนการผลิตด้วยข้อมูลประกอบการตัดสินใจ การผลิตที่มีความ ปลอดภัย และการตลาดเพื่อจำหน่ายผลผลิตภาคเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดเกษตรปราดเปรื่องจึง เป็นการจัดการเกษตรสมัยใหม่เพื่อยกระดับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อ ความยั่งยืนของไทยในอนาคต

เกษตรแม่นยำเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ในยุคสารสนเทศกับการเติบโตของอุตสาหกรรมเกษตร โดยระบบการจัดการพืชแบบผสมผสาน ที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดในพื้นที่ปลูกขนาดเล็ก การตัดสินใจเพื่อกำหนดการผลิตต้องพิจารณาถึงประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม ใช้ข้อมูลการวิเคราะห์เพื่อการจัดการจากเทคโนโลยีระบบพื้นฐาน ประกอบด้วย GPS (Global positioning system) ระบบเซนเซอร์ (Remote sensing) GIS (Geographic information system) การประยุกต์ใช้งานในการทำเกษตรได้แก่ ระบบติดตามผลผลิตอย่างต่อเนื่อง การวัดสารอาหารและความชื้นในดินการสุ่มตัวอย่ างดินเพื่อสร้างแผนที่สารอาหาร ( map of nutrient) ในดิน การจัดการข้อมูลที่ประกอบด้วยผลผลิต แผนที่ลักษณะดิน ปริมาณสารอาหารในดิน  และการจัดการเกษตร Climate Smart agriculture (CSA) เป็นการพัฒนาการเกษตรโดยมีนโยบายการพัฒนาที่เน้นการใช้เทคนิคการเพาะปลูก  ที่ส่งผลกับการเพิ่มผลผลิต  ลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และลดการปล่อยมลพิษก๊าซเรือนกระจก

อ้างอิงรูปภาพ : marketingoops

      หลักการการทำเกษตรสมัยใหม่ 

  1. การใช้นวัตกรรม การวิจัย และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มาปรับใช้
  2. การทำเกษตรแบบแม่นยำ   คือ การเปลี่ยนทรัพยากร (Input) ไปเป็นผลผลิต (Output) ด้วยต้นทุนต่ำที่สุด เกิดของเสียน้อยที่สุด โดยการออกแบบกิจกรรมต่างๆ ให้มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ ตามสารสนเทศที่มี เพื่อให้เหมาะสำหรับ “พื้นที่ย่อยๆ” ให้ดีที่สุด ทำโดยสมาร์ทฟาร์มเมอร์  ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความหมายของ สมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือเกษตรปราดเปรื่อง หรือเกษตรกรมืออาชีพ หมายถึง บุคคลที่มีความ ภูมิใจในการเป็นเกษตรกร มีความรอบรู้ในระบบการผลิตด้านการเกษตรแต่ละสาขา ใช้ข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจและวิเคราะห์เชื่อมโยงและบริหารจัดการการผลิตและการตลาด
  3. ควบคุมปัจจัยผันแปร เช่น ดิน น้ำ สภาพอากาศ
  4. การใช้เครื่องจักรกลเกษตร และใช้ให้เต็มประสิทธิภาพ
  5. การรวมกลุ่มการผลิต
  6. มีมาตรฐาน มีการบันทึกข้อูล ตรวจสอบย้อนกลับได้ เทียบเคียงคุณภาพได้กับต่างประเทศ

       การผลิต ภาคเกษตรของไทยเป็นรากฐานสำคัญต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจของไทย เป็นแหล่งผลิต อาหารที่สำคัญของโลก  จึงนำแนวคิดการเกษตรแนวเกษตรปราดเปรื่อง (Smart Farm) การจัดการผลิตภาคเกษตรที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี และสารสนเทศเพื่อใช้ตัดสินใจการวางแผนการผลิตภาคเกษตร ผลผลิตที่ได้จึงมีปริมาณเพียงพอ คุณภาพและมีความปลอดภัยต่อ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

 แหล่งข้อมูลอ้างอิง 

ตกลง