เกษตรกรหนุ่ม คุณกบ ปรมินทร์ ประทุมมา อยู่ที่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ผู้หันมาสานต่ออาชีพปลูกดอกขจรของที่บ้าน เพราะเห็นว่าเป็นพืชที่ยังทำเงินได้ดี เขาพยายามศึกษาคัดเลือกสายพันธุ์ที่ทนต่อโรค และตอนนี้ดอกขจรในสวนของเขานี้เป็นขจรพันธุ์ดอก มีลักษณะดอกใหญ่ ทนโรคแมลง ซึ่งเกิดจากการศึกษาและคัดสรรดูและเป็นอย่างดีของเขานั่นเอง
ในการปลูกต้นขจรของคุณปรมินทร์นั้น เขาต้องเริ่มเรียนรู้ใหม่ทุกขั้นตอนรวมทั้งการบำรุงดิน ในช่วงต้นเขาใช้ปุ๋ยเคมีก่อน เพื่อการบำรุงดิน และใส่แร่ธาตุสารอาหารที่ดินขาดไป เพื่อให้การปลูกพืชเจริญงอกงาม แต่ก็จะผสมปุ๋ยอินทรีย์เข้าไปด้วย เพื่อไม่ให้ดินเสีย อีกทั้งในการป้องกันโรคพืช ยังจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี เพราะเพียงใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว ยังไม่สามารถป้องกันโรคพืชได้ 100 %
ในด้านการปลูกต้นขจรแบบปลอดสารเคมี คุณปรมินทร์มีขั้นตอน ดังนี้
1. เตรียมแปลงปลูก : ควรเลือกบริเวณที่มีแสงแดดส่องได้ดีตลอดทั้งวัน หรือ อยู่ทางทิศตะวันตก
2. ทำร้าน ( ค้าง ) ให้ต้นขจร : ความสูงประมาณ 1 เมตร , กว้าง 1 เมตร
เว้น ทางเดินประมาณ 1 เมตร ส่วนวัสดุที่นำมาใช้ทำร้าน หรือค้างต้นขจรนี้ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ไผ่ ของสวนเราเลือกใช้ไม้ยูคา ไม้ไผ่ และไม้รวก รวมกัน
3. ขุดหลุมปลูก ความกว้างและความลึก ประมาณ 20 ? 30 ซม.ระยะห่างระหว่างต้น 2 เมตร
4. ผสมวัสดุปลูกลงไปในหลุม เราใช้เปลือกมะพร้าวสับ ผสมกับใบไม้แห้ง และดิน
5. นำต้นกล้าขจรลงปลูก รดน้ำให้ชุ่ม แล้วใช้เชือกฟางมัดต้นกล้ากับหลักไว้ เพื่อให้ต้นขจรไต่ขึ้นไปตามหลักได้ง่ายและป้องกันต้นกล้าโยกเวลาถูกลมพัด
6. ช่วงแรกควรรดน้ำ วันละครั้ง ต่อมารดวันเว้นวันได้
7. เริ่มให้ปุ๋ยหลังจากปลูกประมาณ 1สัปดาห์ ปุ๋ยที่ให้ทางดินคือปุ๋ยคอก ให้ 1 กำมือต่อต้นเดือนละครั้ง ปุ๋ยทางใบใช้น้ำขี้หมูฉีดพ่น หรือ ใช้ วัคซีนพืช big 40 cc./น้ำ 20 ลิตร/1ไร่ สัปดาห์ละครั้ง
8. เมื่อขจรมีอายุได้ 3 เดือนก็จะเริ่มออกดอก ใช้ วัคซีนพืช big 40 cc./น้ำ 20 ลิตร/1ไร่ สัปดาห์ละครั้ง ฉีดพ่นทางใบต่อ เพื่อกระตุ้นให้ขจรออกดอก ดก ดอกใหญ่ และมีรสชาติดีอีกด้วย
9. ช่วงที่ขจรยังต้นเล็กอยู่พบแมลงชอบมากินใบอ่อน ใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่นเป็นระยะๆ และคอยดูแล มัดเถาขจรให้ติดไว้บนค้างเสมอเพื่อให้ขจรได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ ขจรก็จะออกดอกดกมากขึ้น.
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
นายปรมินทร์ ประทุมมา
เลขที่ 193 หมู่2 ตำบลปลายนา
อำเภอศรีประจัน จังหวัดสุพรรณบุรี
72140