ระวัง ด้วงงวงกัดใบ มะม่วง
31 ม.ค. 2566
2,632
0
ระวัง ด้วงงวงกัดใบ มะม่วง
ระวัง ด้วงงวงกัดใบ มะม่วง

ระวัง ด้วงงวงกัดใบ มะม่วง
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็น อุณหภูมิลดต่ำลง มีหมอกในตอนเช้า มีแดดแรงในตอนกลางวัน เตือนผู้ปลูกมะม่วง ในระยะ ใบอ่อน-แทงช่อดอก รับมือด้วงงวง ตัวเต็มวัยเป็นด้วงงวงขนาดเล็ก ก่อนการวางไข่ ตัวเต็มวัยเพศเมียจะใช้อวัยวะที่อยู่ปลายงวงเจาะที่ด้านข้างของเส้นกลางใบ จากนั้นจะวางไข่ตามแกนกลางใบอ่อนประมาณ ๒-๑๔ ฟองต่อใบ เมื่อวางไข่เสร็จ จะกัดใบห่างจากขั้วใบประมาณ ๑-๒ เซนติเมตร เหลือแต่โคนใบทำให้ใบอ่อนส่วนที่มีไข่ติดอยู่ร่วงลงบนพื้นดิน ลักษณะรอยกัดจะกัดเป็นเส้นตรงเหมือนใช้กรรไกรตัด เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนจะเจาะเส้นกลางใบและแทรกตัวเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อใต้ผิวใบ หนอนจะเจริญเติบโตอยู่ภายในใบมะม่วงที่ร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน จากนั้นจะเข้าดักแด้ตามพื้นดินที่มีความชื้นโดยใช้ดินสร้างเป็นรังดักแด้ พบการระบาดของด้วงงวงกัดใบมะม่วง ในระยะที่มะม่วงแตกใบอ่อน โดยด้วงจะกัดใบอ่อนขาด เหลือแต่โคนใบไว้บนต้น ภายในระยะเวลา ๒-๓ วัน
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
๑. เก็บใบอ่อนมะม่วงที่ถูกกัดร่วงตามโคนต้น นำไปเผาหรือฝัง เพื่อทำลายไข่และหนอน
๒. ในระยะที่มะม่วงแตกใบอ่อน หากพบการทำลายของด้วงงวงกัดใบมะม่วง ควรพ่นด้วยสาร คาร์บาริล ๘๕% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๖๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร การใช้สารกำจัดแมลงควบคุมแมลงศัตรูมะม่วงชนิดอื่นๆ มีส่วนช่วยลดการทำลายด้วงกัดใบด้วย
๓. การไถพรวนดินจะช่วยลดความเสียหายลงได้

ตกลง