การชี้แจงรายละเอียดการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งตามกฎหมายสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น ครั้งที่ 240 (30 มี.ค. 64)
31 มี.ค. 2564
186
106

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น (MHLW) จัดส่งเอกสารการส่งเสริมการอำนวยความสะดวกอาหารนำเข้า ครั้งที่ 240 (The 240th Materials for Promotion of Food Import Facilitation) เพื่อชี้แจงรายละเอียดการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งตามกฎหมายสุขอนามัยอาหาร (Food Sanitation Act) แทนการจัดการประชุมชี้แจง เนื่องจากสถานการณ์การะบาดของ COVID-19 โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่

1. การกำหนดใหม่หรือปรับปรุงค่า MRLs สำหรับสารเคมีทางการเกษตร

   1.1 สารกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ Tolfenpyrad, Fenquinotrione, Flazasulfuron

   1.2 สารกำจัดศัตรูพืชและยาสำหรับสัตว์ ได้แก่ Cypermethrin

   1.3 ยาสำหรับสัตว์ ได้แก่ Isometamidium, Eugenol, Chlorhexidine, Decoquinate, Nafcillin, Nitroxinil, Virginiamycin, Mecillinam, Menbutone

รายละเอียดตามเอกสารแนบ

ทั้งนี้ MHLW มีกำหนดจะปรับแก้มาตรฐานและข้อกำหนดให้เป็นไปตามรายละเอียดข้างต้น ตามเอกสาร จากนั้นจะดำเนินการแจ้งเวียน SPS ต่อไป กรณีมีความคิดเห็นสามารถส่งเอกสารภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาอังกฤษไปยัง MHLW ภายในวันที่ 13 เมษายน 2564 หากเลยกำหนดวันดังกล่าวสามารถยื่นเรื่องผ่านช่องทางตามข้อกำหนด WTO/SPS 

อนึ่ง ตามกฎหมายสุขอนามัยอาหาร (Food Sanitation Act) มาตราที่ 13 วรรค 1 (*1) ได้กำหนดให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น (MHLW) สามารถกำหนดมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตรที่ตกค้างในอาหาร สารเจือปนในอาหารสัตว์ และยาสำหรับสัตว์ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว นอกจากนี้ MHLW เริ่มใช้ระบบ Positive List เกี่ยวกับสารเคมีทางการเกษตร ฯลฯ (*2) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 และกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดที่จำหน่ายในญี่ปุ่นต้องเป็นไปตามข้อกำหนดฯ 

หมายเหตุ: ร่างมาตรฐานอาจได้รับการปรับปรุงแก้ไขก่อนการแจ้งเวียน SPS หรือก่อนออกประกาศบังคับใช้ตามกฎหมายญี่ปุ่น จึงควรตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันก่อนการอ้างอิง หรือสืบค้นค่า MRLs ได้จากฐานข้อมูล Maximum Residue Limits (MRLs) of Agricultural Chemicals in Food ทาง https://db.ffcr.or.jp/front/

 *1 กฎหมายสุขอนามัยอาหาร (Food Sanitation Act)

     "มาตรา 13 วรรค 1" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการสังคม สามารถกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับวิธีการผลิต การแปรรูป การใช้ การปรุง หรือการเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์อาหารหรือสารปรุงแต่ง สำหรับจำหน่าย หรือกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อาหารหรือสารปรุงแต่ง สำหรับจำหน่าย โดยรับฟังความคิดเห็นจากคณะกรรมการยาและสุขอนามัยอาหาร (Pharmaceutical Affairs and Food Sanitation Council)

     "มาตรา 13 วรรค 2" เมื่อมีการกำหนดมาตรฐานตามมาตรา 13 วรรค 1 ห้ามให้มีการผลิต แปรรูป ใช้ ปรุง หรือเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์อาหารหรือสารปรุงแต่ง โดยวิธีที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว หรือห้ามให้มีการจำหน่าย หรือนำเข้า ผลิตภัณฑ์อาหารหรือสารปรุงแต่ง โดยวิธีที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว หรือห้ามให้มีการผลิต นำเข้า แปรรูป ใช้ ปรุง เก็บรักษา หรือจำหน่าย ผลิตภัณฑ์อาหารหรือสารปรุงแต่งที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว

*2 ระบบ Positive List โดยหลักการแล้ว ห้ามให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างเกินกว่าปริมาณ 0.01 ppm ยกเว้นกรณีที่มีการกำหนดมาตรฐานสารตกค้าง

ตกลง