CPTPP กรณีผลกระทบด้านการเกษตร
22 มิ.ย. 2563
1,141
0
CPTPP กรณีผลกระทบด้านการเกษตร
CPTPP กรณีผลกระทบด้านการเกษตร
CPTPP กรณีผลกระทบด้านการเกษตร
YesCPTPP or NoCPTPP กรณีผลกระทบด้านการเกษตร


บทความที่จะนำเสนอทุกท่านต่อไปนี้ คืออีกมุมมองหนึ่งต่อประเด็นกระแสสังคมที่กำลังถกเถียงกันอย่างมากในเรื่องของการเข้าร่วม CPTPP เขตการค้าเสรีที่กำลังเป็นที่พูดถึง ที่กำลังเป็นกระแสการต่อต้านในไทย โดยเราจะนำเสนอมุมมองอีกด้าน ที่มากกว่าอินโฟกราฟิคต่างๆ ที่แต่ละฝ่ายพยามผลิตออกมาจนละเลย ข้อมูลสำคัญและ แนวทางแห่งการประนีประนอม ที่น่าจะเกิดขึ้นได้และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากกว่าสภาพที่เป็นอยู่

------ Executive Summary -----

บทความนี้ใช้กรอบแนวคิดและวางโครงพื้นฐานเนื้อหาจาก บทความ Thailand’s New CPTPP Opportunity ของ Termsak Chalermpalanupap เป็นหลักในการวางพื้นฐานและข้อเสนอต่อประเด็น CPTPP เสริมด้วยความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่ถ่ายทอดผ่านเฟสบุ๊ค เพื่อมุ่งนำเสนอมุมมองข้อคิดเห็นในอีกด้านมากกว่าจัดทำเป็นงานหรือมุมมองทางวิชาการ

ประเด็นคัดค้าน CPTPP มีอยู่ด้วยกันหลักๆ 3 ประเด็น ได้แก่ การคุ้มครองเมล็ดพันธุ์พืชตาม UPOV1991 ,การยกเลิกสิทธิ์ CL ในการผลิตยา ,และ การแข่งขันเสรีในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

แต่ประเด็นที่ถูกนำมาเคลื่อนไหวมากที่สุดคือ UPOV 1991 ที่กล่าวกันว่าจะทำให้เกษตรกรประสบปัญหาและนายทุนได้ประโยชน์ โดยการผลักดัน

ประเด็นจาก กลุ่ม NGOs

ประเด็น UPOV นั้นปัจจุบันประเทศที่เข้าร่วม CPTPPในภูมิภาค ASEAN อันได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซียและบรูไน โดยประเทศที่เข้าเป็นภาคี UPOV 1991 แล้ว คือสิงคโปร์ ซึ่งไม่ใช่ผู้ผลิตด้านการเกษตร กับ เวียดนาม แหล่งผลิตด้านการเกษตรขนาดใหญ่คู่แข่งในสินค้าเกษตรหลายรายการของไทยที่เป็นภาคี UPOV1991 มาตั้งแต่ปี 2006 ส่วนเม็กซิโก และนิวซีแลนด์ ที่อยู่นอกภูมิภาคยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีของ UPOV1991 แต่เป็นภาคีของ UPOV1978 และยังขอยืดเวลาในการปรับปรุงกฏหมายไปอีกสามปี

ถ้าปัญหาสำคัญคือผลกระทบต่อภาคการเกษตรที่อาจถูกครอบงำโดย

บรรษัทใหญ่และบรรษัทข้ามชาติ ถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะสามารถเจรจาเพื่อขอยืดเวลา หรือผ่อนปรนกฎเกณฑ์ หรือการเข้าร่วมเป็นภาคีของUPOV1991 ได้หรือไม่ เพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจจากการไม่เข้าร่วม CPTPP

ผลกระทบจาก COVID19 ทำให้รายได้หลักสำคัญจากการท่องเที่ยวหายไป การพลาดโอกาสในความร่วมมือพหุภาคี ซึ่งจะเป็นหนทางสำคัญในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ น่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นหรือไม่อย่างไร

มาตรฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ ถูกนำมาใช้เป็นกฎเกณฑ์มาตรฐานในกรอบความตกลงเรื่องมือต่างๆ เปรียบเสมือนบรรทัดฐานใหม่ เช่นเดียวกัน. CPTPP ก็กำลังสร้างบรรทัดฐานใหม่ ที่ต่อไป ในระบบระหว่างประเทศจะใช้ในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกัน ประเด็นของ UPOV 1991 ไม่ได้มีอยู่ในเฉพาะการเจรจา CPTPP เท่านั้น แต่ในการเจรจาเขตการค้าเสรี ที่เราเข้าคิวรอต่อจาก CPTPP ไม่ว่าจะเป็น EUFTA EFTA RCEP เขตการค้าเสรีกับสหราชอาณาจักร UKFTA ผลพวงจาก Brexit ต่างก็ใช้เงื่อนไขการคุ้มครองเมล็ดพันธุ์พืชตาม UPOV 1991 ทั้งนั้น ถ้าเราจะไม่เข้าร่วมความร่วมมือได้เลย เนื่องจากเงื่อนไขนี้ เราจะหาตลาดสำหรับภาคการเกษตรได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่การบริโภคเองในประเทศจะเพียงพอ ผลเสียก็จะวนตกกลับมาที่เกษตรกรอยู่ดีเมื่อไม่มีตลาดในการรองรับผลผลิต

ผู้เขียนเห็นว่าควรเข้าร่วม CPTPP เพื่อโอกาสทางเศรษฐกิจไว้ก่อน แต่เพื่อปกป้องและลดผลความเสียหาย ผลกระทบในภาคประชาชน ควรใช้โอกาสในการเจรจา CPTPP เพื่อหาข้อยกเว้น ข้อผ่อนปรน หรือบทเฉพาะกาลที่เหมาะสม ในการที่จะลดผลกระทบหรือ วิธีป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบหรือการเสียผลประโยชน์ของเกษตรกรตาม UPOV1991 ควบคู่ไปกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกร และใช้แนวทางนี้เป็นมาตรฐานในการเจรจากับกรอบความร่วมมืออื่นที่ใช้เกณฑ์ UPOV 1991 นี้เช่นเดียวกันเพื่อผลประโยชน์สูงสุดให้กับภาคประชาชน และรวมไปถึงใช้เป็นกรอบและตัวแบบในการเจรจาประเด็นปัญหาอื่นเช่น CL ยา และการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

----- CPTPP คืออะไรและไทยเกี่ยวข้องอย่างไร -----

CPTPP มีชื่อเต็มว่า Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership กลุ่มความตกลงแบบยิ่งยวดและก้าวหน้าทางเศรษฐกิจตลอดภาคพื้นแปซิฟิก ที่จะมุ่งสร้างเขตการค้าเสรี โดยยกระดับมาตรฐานของการลงทุน การค้า และการบริการ โดยสร้างมาตรฐานร่วมกันในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การรักษาสิ่งแวดล้อม และ การแก้ไขข้อพิพาทระหว่างภาคเอกชนกับรัฐ

อ่านเพิ่มเติม

https://www.blockdit.com/articles/5ee7bad6efb0272763dbcae4/#


แหล่งที่มา

โลกและความมั่นคง - Bear Forum for Security Studies
https://www.blockdit.com/articles/5ee7bad6efb0272763dbcae4/#
ตกลง