หลักการปรุงดินแบบง่ายๆ
13 ก.ย. 2563
85
0
หลักการปรุงดินแบบง่ายๆ
หลักการปรุงดินแบบง่ายๆ

หลักการปรุงดินแบบง่ายๆ

ถ้าเรามองลึกลงไปในดินที่ยังบริสุทธิไม่มีสารเคมีเจือปน เราจะพบสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่สามารถมองเห็น และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ช่วยให้ดินมีพลัง ทำให้พืชเจริญงอกงาม สมบูรณ์ แข็งแรง ทนทาน ปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวน ซึ่งต้นไม้เหล่านั้นจะเจริญเติบโตโดยไม่มีผู้ใดมาใส่ปุ๋ยและไม่มีใครพ่นสารเคมีป้องกันหนอน และแมลง ต้นไม้บางต้นจะผลิดอกออกผลดกตรงตามฤดูกาล ถ้าเราขุดคุ้ยลงไปในดินเราจะเห็นลักษณะของดินจะมีเศษซากใบไม้ที่เน่าเปื่อยผุพังปะปนอยู่
แต่ดินในบ้านเราตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นดินที่ตายแล้วหรือกำลังจะตาย เพราะดินวันนี้จะไม่มีผู้ผลิต(จุลินทรีย์) ไม่มีต้นไม้ ไม่มีพืช เป็นดินโล้น แล้ง ร้อน ดินบางแห่งถูกเผาด้วยไฟ ด้วยสารเคมี ด้วยแดด สัตว์หน้าดิน ในดิน เช่น ไส้เดือน จุลินทรีย์ ฯลฯ จะตายหมด เพราะไม่มีสิ่งปกคลุมนอกจากนี้ ดินที่จุลินทรีย์ผู้ย่อยสลาย ไม่มีที่อาศัย ไม่มีอาหาร ไม่มีการแพร่พันธุ์ ดินที่ปกคลุมด้วยไอพิษ สิ่งที่มีชีวิต เช่น แมลงปอ แมงมุม กบ นก ผีเสื้อ ผึ้ง ฯลฯ อยู่ไม่ได้ จะเกิดโรคพืชระบาด และขาดออกซิเจน เราจะปลุกให้ดินมีชีวิตอย่างไร
หลักของการปรุงดินมีหลักสำคัญเพียง4 ข้อหรือปัจจัย4ของพืช คือ
1. การเลี้ยงดินให้อิ่ม ดินสมบูรณ์ได้ด้วยจุลินทรีย์ ดังนั้นหลักข้อนี้คือการเติมอาหารให้กับจุลินทรีย์ในดิน กินให้อิ่ม สิ่งที่เราได้กับมาคือผลผลิตที่จุลินทรีย์ย่อยสลายออกมา คือ อาหาร แร่ธาตุสำหรับพืช อาหารที่ใช้เลี้ยงดิน ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รวมทั้งอินทรียวัตถุทั้งหลาย
2. ทำดินให้หายใจ รากพืชต้องการออกซิเจนในกระบวนการสร้างการเจริญเติบโตและการมีชีวิตที่แข็งแรงของราก รากที่อ่อนแอก็จะมีประสิทธิภาพดูดธาตุอาหาร เพื่อส่งไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงได้น้อย ดินที่แน่นทำให้รากขาดอากาศ ดังนั้นการทำดินให้โปร่งคือการเพิ่มอากาศให้รากได้หายใจ
ดังนั้นวัสดุที่ทำให้ดินโปร่งที่เราควรใส่ลงในระหว่างปรุงดิน อัตราส่วนประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ กาบมะพร้าวสับ แกลบดิบ ใบไม้ผุ กิ่งไม้เล็กๆสับ ถ่านไบโอชา เป็นต้น สิ่งที่กล่าวเหล่านี้เลือกใช้ตามที่เรามี เพียงแต่พยายามใส่ให้มากกว่า2ชนิดขึ้นไป
3. หมักดินให้คายร้อน ดินที่ผ่านการผสมวัสดุต่างๆ เช่นมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก ใบไม้ ต่างๆ ตราบใดที่เราให้ความชื้นหรือรดน้ำลงไป จุลินทรีย์ต่างๆจะทำงานกินอาหารที่เราเลี้ยงให้เขาแล้ว เกิดขบวนการย่อยสลาย ผลที่ตามมาคือความร้อนในกองดิน ซิ่งมีอันตรายต่อระบบรากพืช
ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำคือ การหมักดิน เพื่อลดความร้อนในดิน อย่างน้อยสุด5-7วันก่อนปลูก การลดความร้อนคือ หมั่นรดน้ำลงบนกองดินที่เราผสม รดทุกวัน แต่อย่าแฉะจนเละ และกองดินต้องไม่สูงเกินไป การที่กองแผ่ๆเตี้ยๆ จะทำให้แห้งเร็วเกินไป จุลินทรีย์มักขาดความชื้นที่ใช้ในกระบวนการย่อยสลาย ดินก็จะการย่อยสลายของจุลินทรีย์
4. ห่มดินให้อุ่น จุลินทรีย์มักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากบริเวณผิวหน้าดิน จุลินทรีย์อยู่ได้ต้องอาศัยความชื้นเป็นปัจจัยหลัก รวมทั้งรอดพ้นจากแสงแดดที่แผดเผา
การห่มดินคือการคลุมหน้าดิน วัสดุที่ใช้เช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง เป็นต้น

หลักทั้ง 4 ข้อคือหลักสำคัญในการปรุงดิน ซึ่งไม่มีสูตรตายตัว วัตถุดิบพยายามหาในบ้านเรา ไม่จำเป็นต้องหาซื้อในราคาแพง มูลสัตว์ทุกชนิด ใช้ได้หมด เพียงแต่คุณภาพของดินที่ได้ออกมามีธาตุอาหารต่างกัน เช่นมูลสุกร มีธาตุอาหารหลักครบ3ตัวในปริมาณที่มากพอสมควร ส่วนมูลแพะมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัสน้อย กับมีโปรแตสซียมสูง ดังนั้นการแก้ปัญหาคือการใช้มูลสัตว์ต่างกันมาผสมคลุกเคล้ารวมกัน ใบไม้ก็เหมือนกัน ใบพืชตระกูลถั่วจะมีธาตุอาหารพวกไนโตรเจนสูง กว่าใบไม้ทั่วไป แหนแดงมีไนโตรเจนสูงมาก ผักตบชวาหาง่าย แต่ยุบตัวเร็ว เป็นต้น

ที่มา เพจเฟสบุ๊คเรียนเกษตรง่ายๆกับครูชาตรี

ตกลง