แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด “โรคใบร่วงยางพารา”
25 พ.ย. 2563
107
32
แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด “โรคใบร่วงยางพารา”
แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด “โรคใบร่วงยางพารา”

เตือนเกษตรกรชาวสวนยางพาราในภาคใต้ของประเทศไทย ระวังการระบาดของโรคใบร่วงยางพารา

เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทาให้ภาคใต้มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ และ

ขณะนี้มีรายงานว่าพบการระบาดของโรคใบร่วงยางพาราเพิ่มขึ้นในหลายจังหวัดของภาคใต้ ดังนั้น ขอให้เกษตรกร

สารวจแปลงยางพาราอย่างสม่าเสมอ หากพบต้นยางพาราแสดงอาการใบร่วงมากผิดปกติ เมื่อพลิกดูใต้ใบปรากฏ

รอยช้า ผิวใบด้านบนบริเวณเดียวมีสีเหลืองกลม หรือมีสีสนิมซีด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สานักงานเกษตรอาเภอ หรือ

สานักงานเกษตรจังหวัด เพื่อกาหนดแนวทางการควบคุมและดาเนินการป้องกันกาจัดทันที

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Pestalotiopsis sp.

ลักษณะอาการ

อาการเกิดบนใบแก่ อาการเริ่มต้นใต้ใบมีลักษณะรอยช้าค่อนข้างกลม ผิวใบด้านบนบริเวณเดียวกัน

สีเหลืองกลม (chlorosis) ต่อมาเนื้อเยื่อบริเวณนี้เป็นแผลตายแห้ง (necrosis) เปลี่ยนเป็นสีคล้าขอบแผลดา และ

เปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อแห้งสีสนิมซีด รอบแผลไม่เป็นสีเหลือง (no yellow hallow) รูปร่างแผลค่อนข้างกลมขนาดเส้น

ผ่านศูนย์กลางมากกว่า 0.5 เซนติเมตร จานวนจุดแผลบนแผ่นใบมีมากกว่า 1 แผล อาจเจริญลุกลามซ้อนกันเป็นแผล

ขนาดใหญ่ ระยะรุนแรงใบจะร่วงในที่สุด สามารถระบาดในยางทุกพันธุ์ ท าให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 50%

เมื่อใบยางร่วง ต้นยางจะผลิใบใหม่ จากนั้นประมาณ 3 เดือนเมื่อใบยางแก่เต็มที่ หากมีความชื้นที่เหมาะสมเชื้อรา

สามารถเข้าทาลายซ้า

การแพร่ระบาด

การแพร่ระบาดมักเกิดช่วงที่มีความชื้นสูงในระยะใบแก่ พันธุ์ยางทุกพันธุ์อ่อนแอต่อการเกิดโรค

เชื้อสาเหตุแพร่กระจายโดยลม ฝน การเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์หรือวัสดุปลูกในแปลงที่เกิดโรค และมีพืชอาศัยค่อนข้าง

กว้าง เช่น วัชพืช สมุนไพร พืชผักสวนครัว ไม้ผลบางชนิด และพืชจาพวกเฟิน

แนะนาวิธีการป้องกันกาจัด ดังนี้

1. ใส่ปุ๋ยบารุงสม่าเสมอเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับต้นยาง สามารถสร้างใบใหม่ออกมาทดแทน

ใบยางที่ร่วงเนื่องจากโรคได้อย่างรวดเร็ว

2. หากสังเกตเห็นต้นยางมีใบเหลืองให้ตรวจสอบอาการของโรคบนใบ และใบยางที่ร่วง

หากพบมีอาการของโรคให้รีบใช้สารเคมีฉีดพ่นทรงพุ่มให้ทั่วทั้งแปลงโดยเครื่องฉีดพ่นสารเคมีแรงดันสูง

3. สารเคมี ฉีดพ่นพุ่มใบ อย่างน้อย 2 ครั้ง (ซ้า 7-15 วัน)

- เบโนมิล อัตราผสม 20-30 กรัมต่อน้า 20 ลิตร ผสมสารจับใบ 2 ซีซี ฉีดพ่นพุ่มใบจากข้างล่าง

อัตรา 100 ลิตร/ไร่

- โพรปิเนป หรือ แมนโคเซป หรือ คลอโรธาโลนิล อัตราผสม 50 กรัมต่อน้า 20 ลิตร

ผสมสารจับใบ 2 ซีซี ฉีดพ่นพุ่มใบยางจากใต้ทรงพุ่มอัตรา 100 ลิตร/ไร่

- เฮกซาโคนาโซล (5% a.i.) อัตราผสม 30-40 ซีซีต่อน้า 20 ลิตร ผสมสารจับใบ 2 ซีซี

ฉีดพ่นพุ่มใบจากข้างล่างอัตรา 100 ลิตร/ไร่

- โปรปิโคนาโซล (25% a.i.) อัตราผสม 10-15 ซีซีต่อน้า 20 ลิตร ผสมสารจับใบ 2 ซีซี

ฉีดพ่นพุ่มใบจากข้างล่างอัตรา 100 ลิตร/ไร่

- ไทโอฟาเนต-เมธิล (thiophanate methyl) อัตราผสม 20 กรัมต่อน้า 20 ลิตร ผสมสารจับใบ

2 ซีซี ฉีดพ่นพุ่มใบจากข้างล่างอัตรา 100 ลิตร/ไร่ ฉีดพ่นพื้นสวนทีมีใบที่เป็นโรคร่วง

- พื้นดินในสวนยางให้พ่นสารเคมีไทโอฟาเนต-เมธิล (thiophanate methyl) อัตราผสม 20 กรัม

ต่อน้า 20 ลิตร หรืออาจใช้เชื้อจุลินทรีย์ เช่น เชื้อไตรโคเดอร์มา ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคที่ติดมากับใบที่ร่วงลงดิน

 

ตกลง