แจ้งเตือนศัตรูพืช “จักจั่น (Cicada)”
22 พ.ค. 2561
2,424
310
แจ้งเตือนศัตรูพืช “จักจั่น (Cicada)”
แจ้งเตือนศัตรูพืช “จักจั่น (Cicada)”

แจ้งเตือนศัตรูพืช “จักจั่น (Cicada)” เตือนเกษตรกรชาวไร่อ้อยในภาคตะวันตก และภาคกลาง เฝ้าระวังจักจั่นเข้าท าความเสียหายให้กับอ้อยปลูก โดยเฉพาะในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี และนครสวรรค์ ซึ่งเคยมีการระบาดเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ๒๕๕๙ เดิม จักจั่นจัดเป็นศัตรูป่าไม้ สันนิษฐานว่าปัจจุบันป่าไม้ถูกท าลายไปมากอาจมีผลท าให้เสียความสมดุลของระบบนิเวศ ประกอบสภาพแวดล้อมและช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงอาจท าให้จักจั่นออกมาท าลายพืชเศรษฐกิจ เช่น อ้อย ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นส ารวจแปลงอย่างสม่ าเสมอเมื่อส ารวจพบจักจั่นให้เตรียมการป้องกันหรือขอค าแนะน าจากเจ้าหน้าที่ ส านักงานเกษตรอ าเภอ ส านักงานเกษตรจังหวัด เพื่อการควบคุม และหาทางป้องกันก าจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง วิทยาศาสตร์ : Platypleura cespiticola Boulard ชื่อวงศ์ : Cicadidae อันดับ : Hemiptera ชื่ออื่น :  -  รูปลักษณะ การเจริญเติบโตของจักจั่นเป็นแบบไม่สมบูรณ์ คือ ระยะตัวอ่อนมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับตัวเต็มวัย ต่างกันที่ ตัวอ่อนในระยะแรกไม่มีปีก เมื่อลอกคราบปีกจะค่อย ๆ ยาวออก จากข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์ พืช จักจั่นมีวงจรชีวิต ดังนี้  ระยะไข่ ตัวเมียจะเจาะต้นไม้ให้เป็นรูเล็ก ๆ เพื่อวางไข่ เมื่อไข่ฟักกลายเป็นตัวอ่อนจะร่วงลงสู่พื้นดิน โดยไข่ใช้ เวลาฟักประมาณ ๔ เดือน ระยะตัวอ่อน อาศัยในดินที่ความลึกตั้งแต่ ๓๐ เซนติเมตร ถึงมากกว่า ๒.๕ เมตร ดูดกินน้ าเลี้ยงจากรากพืช  ตัวอ่อนมีขาหน้าขนาดใหญ่ส าหรับขุดดิน บางครั้งจะเห็นดินเป็นแท่งทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  ๒ เซนติเมตร บิดเป็นเกลียวโผล่ขึ้นมาจากดินสูงประมาณ ๕ – ๗ เซนติเมตร คล้ายกับดินที่เกิดจากไส้เดือนแต่มีขนาด ใหญ่กว่า ตัวอ่อนใช้เวลาประมาณ ๔ – ๖ เดือน ระยะตัวเต็มวัย เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่ จะไต่ขึ้นมาบนล าต้นเพื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย ในเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน ระยะที่เป็นตัวเต็มวัยจะประมาณ ๑ – ๒ เดือน วงจรชีวิตโดยรวมประมาณ ๒ – ๕ ปี แต่มีบางชนิด ที่มีวงจรชีวิตยาวนานถึง ๑๗ ปี จักจั่นตัวผู้สามารถท าเสียงได้ดังมาก มักส่งเสียงร้องในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน ส่วนตัวเมียไม่สามารถ ท าเสียงได้ ชาวเหนือและชาวอีสานมักน าจักจั่นทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมาประกอบอาหารนอกจากนี้บางคนก็น าซากตัว อ่อนจักจั่นที่ตายเพราะถูกท าลายโดยเชื้อราชนิด Cordyceps sobolifer ที่มีอยู่ในดิน ลักษณะการท าลาย จักจั่นตัวเมียมักจะเจาะต้นเพื่อวางไข่ เมื่อฟักไข่เป็นตัวอ่อนจะท้าลายพืชโดยการดูดกินน้ าเลี้ยง จากรากพืช  ท าให้ระบบรากเสียหายเกิดอาการเหี่ยว และแห้งตายได้ในที่สุด กรมส่งเสริมการเกษตร แนะน าวิธีการป้องกันก าจัด ดังนี้ วิธีการป้องกันก าจัดจักจั่นที่เหมาะสมที่สุดคือ ไม่บุกรุกท าลายป่า นอกจากไม่บุกรุกแล้วยังต้องอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ด้วย เพื่อให้แหล่งอาศัยของแมลงไม่ให้มาท าลายพืชผลเกษตร หากพบการท าลายพืชเศรษฐกิจ เช่น  ที่ก าลังระบาดในอ้อย ไม่ควรใช้สารเคมีเนื่องจากเป็นการลงทุนสูง และไม่ได้ผล อีกทั้งแมลงชนิดนี้ไม่ได้มีการระบาดเป็น ประจ า ส าหรับในพื้นที่ที่มีการระบาดให้ใช้วิธีรวมกลุ่มโดยให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมทั้งชุมชน รณรงค์ในการใช้วิธีกล หรือเขตกรรม เช่น การขุดหรือไถพรวนเพื่อจับตัวอ่อนในดิน การเก็บตัวเต็มวัยในเวลากลางคืน ดังเช่นที่เคยท าส าเร็จ แล้ว ในการรณรงค์เก็บตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวเจาะล าต้นทุเรียน แมลงนูนหลวง และด้วงหนวดยาวอ้อย เป็นต้น 

ที่มา  :   ๑. กรมวิชาการเกษตร     ๒. กรมส่งเสริมการเกษตร 

ตกลง