จังหวัดอุตรดิตถ์ขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Model ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียน "ถ่านไบโอชาร์"
28 เม.ย. 2566
56
0
จังหวัดอุตรดิตถ์ขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ
จังหวัดอุตรดิตถ์ขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Model ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียน "ถ่านไบโอชาร์"

จังหวัดอุตรดิตถ์ขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Model ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียน "ถ่านไบโอชาร์" . ถ่านชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ในสวนเกษตร ปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของประเทศไทยสู่ 3 สูง” คือ ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง และรายได้สูง ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) มีการนำวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร เช่น เปลือกทุเรียน ฟางข้าว ซังข้าวโพด กิ่งไม้ เป็นต้น ผ่านการกระบวนการด้วยเตาเผาถ่าน 200 ลิตร ที่มีความร้อนสูงประมาณ 400-800 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาการเผาที่รวดเร็ว สามารถนำถ่านชีวภาพไปใช้ในพื้นที่วนเกษตรไม้ผลจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ สวนทุเรียน ลองกอง มะขาม และมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งคุณสมบัติของถ่านชีวภาพสามารถช่วยเพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นของพืชผล ทำให้ดินเกิดความชุ่มชื่น และสามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีผลผลิตด้านการเกษตรที่ปลอดภัย . สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายชยพล รังสฤษฎ์นิธิกุล ประธานแปลงใหญ่ทุเรียนเมืองลับแล โทร 08 9565 3885 . ผลิต/เผยแพร่ : ส.ปชส.อุตรดิตถ์ #BCG #PRUTT

ตกลง