แจ้งเตือนภัยและเฝ้าระวังโรคแอนแทรกซ์
8 พ.ค. 2568
11
0
แจ้งเตือนภัยและเฝ้าระวังโรคแอนแทรกซ์
แจ้งเตือนภัยและเฝ้าระวังโรคแอนแทรกซ์

โรคแอนแทรกซ์ (ANTHRAX)

 1. ลักษณะโรค : เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียแบบเฉียบพลันเกิดจากเชื้อ Bacillus anthracis พบได้ 3 ชนิด คือ เป็นแผลที่ปอด เป็นแผลที่ผิวหนัง หรือ เป็นแผลที่ทางเดินอาหาร ขึ้นกับช่องทางการติดเชื้อ โรคแอนแทรกซ์มีความเกี่ยวข้องกับโปรแกรมการใช้เป็นอาวุธชีวภาพ ผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ทั่วโลกมากกว่าร้อยละ 95 เป็นชนิดแผลที่ผิวหนัง (Cutaneous anthrax)

 2. ระบาดวิทยา : สถานการณ์ทั่วโลก : ในปี พ.ศ. 2551 มีรายงานโรคแอนแทรกซ์ทั้งในคนและในสัตว์ในประเทศจีนอินเดีย มองโกเลีย อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน และคีร์กิซสถาน ในประเทศเวียดนามพบผู้ป่วยสงสัยทางภาคเหนือของประเทศ และในประเทศลาวพบการระบาดของโรคในโคและแพะที่แขวงจำปาสักสถานการณ์โรคในประเทศไทย : จากรายงานการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา พบว่า ไม่มีผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ไม่พบการติดเชื้อในสัตว์ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ควรเฝ้าระวังโรคในสัตว์ที่ค้าขายผ่านทางชายแดนเนื่องจากยังมีการระบาดของโรคแอนแทรกซ์ในเกษตรผู้เลี้ยงสัตว์ในประเทศลาวระหว่างปี พ.ศ. 2544 - 2553

 3. อาการของโรค :
1. โรคแอนแทรกซ์ผิวหนัง (Cutaneous anthrax)จะเริ่มด้วยอาการคันบริเวณที่สัมผัสเชื้อ ตามมาด้วยตุ่มแดง (popule) แล้วกลายเป็นตุ่มพองมีนํ้าใส(vesicle) ภายใน 2 - 6 วัน จะเริ่มยุบตรงกลางเป็นเนื้อตายสีดำคล้ายแผลบุหรี่จี้ (eschar) รอบๆ อาการบวมนํ้าปานกลางถึงรุนแรงและขยายออกไปรอบเนื้อตายสีดำคล้ายแผลบุหรี่จี้ (eschar) อย่างสมํ่าเสมอบางครั้งเป็นตุ่มพองมีนํ้าใส (vesicle) ขนาดเล็กแผลบวมนํ้า มักไม่ปวดแผล ถ้าปวดมักเนื่องจากการบวมนํ้าที่แผลหรือติดเชื้อแทรกซ้อน แผลมักพบบริเวณศีรษะ คอ (ดังรูปที่ 44) ต้นแขน และมือ(ดังรูปที่ 45) (พื้นที่สัมผัสโรคบนร่างกาย)

ตกลง