อาชีพเกษตรกรกับเทคโนโลยีการเกษตร ลดต้นทุน เวลา เพิ่มรายได้
18 ก.ย. 2566
31
0
อาชีพเกษตรกรกับเทคโนโลยีการเกษตร
อาชีพเกษตรกรกับเทคโนโลยีการเกษตร ลดต้นทุน เวลา เพิ่มรายได้

อาชีพเกษตรกรกับเทคโนโลยีการเกษตร ลดต้นทุน เวลา เพิ่มรายได้
เกษตรกรเราในยุคปัจจุบัน ต้องมองเรื่องของการขายหรือการตลาดก่อนการผลิต โดยถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ขบวนการในการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตก็เป็นอีกเรื่องที่เกษตรกร  ควรคำนึงถึง เช่น ต้นทุนด้านค่าจ้างแรงงาน และด้านเวลาในการให้น้ำแก่พืช ผักต่าง ๆ ดังนั้น เกษตรกรยุคใหม่ จึงได้มีการนำแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการน้ำมาใช้ในการเพาะปลูกพืชของตนเองโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้งานในแปลงการเกษตร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณของผลผลิตในแปลงเกษตรหรือในฟาร์มของตนเอง อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้อีกด้วย โดยมีการจัดการระบบน้ำและการเชื่อมต่อเครื่องมือต่าง ๆ เข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต มีการสั่งจ่ายน้ำด้วยระบบอัตโนมัติผ่านมือถือหรือที่เรียกว่าระบบ IOT (Internet of things) เพื่อให้เราสามารถบริหารการให้น้ำแก่พืชซึ่งเป็นงานหลักของกระบวนการในการทำการเกษตรได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น การใช้ระบบการจ่ายน้ำอัตโนมัติดังกล่าวเกษตรกรสามารถตั้งเวลาการเปิด-ปิด มีการตั้งเวลาในการให้น้ำแก่พืชในแปลงการเกษตรในแต่ละแปลงได้อย่างเหมาะสมข้อดีก็คือเกษตรกรประหยัดเวลาในแต่ละวันได้มาก ไม่ต้องมาดูแลการให้น้ำแก่พืช ผักต่างๆ ในแปลงนาของตนเองในแต่ละแปลงซึ่งวันหนึ่ง ๆ เกษตรกรต้องใช้เวลาเกี่ยวกับการให้น้ำแก่พืชและผักของตนเองเป็นเวลาหลายชั่วโมง ระบบอัตโนมัติยังสามารถช่วยให้พืช ผัก ได้รับน้ำตามเวลาที่กำหนดอีกด้วย มีการควบคุมหรือคอนโทรลทั้งระบบผ่านโทรศัพท์มือถือ ถึงแม้ว่าเกษตรกรไม่อยู่บ้านถ้ามีโทรศัพท์มือถือและมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตก็ทำให้เกษตรกรจัดการแปลงการเกษตรได้ตามกำหนดเวลา ระบบดังกล่าวนี้สามารถช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุนการผลิตในด้านเวลา และแรงงานได้อย่างดียิ่ง โดยเกษตรกรสามารถนำเวลาที่ว่างไปทำงานอย่างอื่นเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น นายอุดม วงศ์ศรีอาจ อายุ 41 ปี เกษตรกรบ้านโนนแต้ หมู่ที่ 16 ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นเกษตรกรตามโครงการนำลูกหลานกลับบ้านสานต่ออาชีทางการเกษตร ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ เจ้าของไร่อุดมทรัพย์ มีพื้นที่ทำการเกษตรกรจำนวน 7 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่การเพาะปลูก มีการปลูกฝรั่งพันธุ์ หงเป่าสือ สุ่ยมี่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดราชินีทับทิมสยาม มันหวานญี่ปุ่น ข้าวญี่ปุ่น รวมทั้งปลูกพืชผักชนิดต่าง ๆ ไว้บริโภค หากเหลือจากการบริโภคสามารถขายได้อีกด้วย โดยมีการขุดบ่อน้ำเพื่อการเกษตรไว้จำนวน 3 บ่อ มีการเลี้ยงปลาชนิดต่าง ๆ ไว้เพื่อบริโภคและจำหน่ายอีกด้วย จากการที่มีการปลูกพืชหลายชนิด จึงมีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการน้ำให้แก่พืชในแปลงเกษตร ประกอบกับจบการศึกษาระดับ ปวส.การไฟฟ้า เคยมีประสบการณ์ทำงานด้านช่างในโรงงานอุตสาหกรรมมาก่อน จึงนำความรู้มาใช้ในการทำระบบการจัดการน้ำอัตโนมัติในการจัดการแปลงเกษตรของตนเอง เป็นการทำการเกษตรสมัยใหม่

“คิดใหม่ ทำใหม่” คือแนวความคิดที่เกษตรกรรายนี้นำมาใช้ในการทำการเกษตร ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยประมาณ เดือนละ 17,000 บาท ถึง 20,000 บาท ต่อเดือน สำหรับครอบครัวและชุมชนนั้น เมื่อการทำเกษตรสมัยใหม่ทำให้ผู้ประกอบ “อาชีพเกษตรกร” อยู่ดี กินดี ทำงานง่ายขึ้น มีความมั่นคงยั่งยืนยิ่งขึ้น กลุ่มคนวัยทำงานที่เคยทิ้งบ้านเกิดเพื่อเข้าไปหางานทำในพื้นที่อุตสาหกรรมใหญ่เพื่อแลกกับรายได้ที่มั่นคงก็จะปรับเปลี่ยนความคิดกลับไปสู่ภูมิลำเนา เพื่อทำการเกษตรมากขึ้น คนสูงอายุในชุมชนก็จะกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะมีลูกหลานคอยอยู่ดูแลใกล้ชิด ขณะเดียวกันเมื่อคนบางส่วนหันไปประกอบ อาชีพเกษตรกร กลุ่มคนที่กระจุกตัวในเมืองใหญ่ก็จะลดความแออัดลง

ตกลง