เคล็ดลับการปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง สุดยอดข้าวกล้องเพื่อสุขภาพ
22 พ.ย. 2566
31
0
เคล็ดลับการปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
เคล็ดลับการปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง สุดยอดข้าวกล้องเพื่อสุขภาพ

เคล็ดลับการปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง สุดยอดข้าวกล้องเพื่อสุขภาพ
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย มีหลากหลายสายพันธุ์ตามแต่ละภาคของประเทศ ซึ่งปัจจุบันข้าวไม่เพียงให้พลังงานแต่ยังช่วยบำรุงสุขภาพอีกด้วย และหนึ่งในบรรดาพันธุ์ข้าวเพื่อสุขภาพคือ ข้าวสังข์หยด ซึ่งมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของไทยเรา

ข้าวสังข์หยด เป็นพันธุข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่น มีแหล่งปลูกดั้งเดิมอยู่ในจังหวัดพัทลุง ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีลักษณะพิเศษ คือ ข้าวกล้องมีสีแดงเข้ม นิยมบริโภคในรูปแบบข้าวซ้อมมือ จมูกข้าว ข้าวสังข์หยดเป็นที่นิยมทานของกลุ่มสายรักสุขภาพมากขึ้น เพราะอุดมไปด้วยกากใย โปรตีน ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็กสูง มีกาบา แอนตี้ออกซิแดนท์ป้องกันมะเร็ง ช่วยชะลอความแก่ ป้องกันความจำเสื่อม มีปริมาณไนอะซินสูง ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและผิวหนัง มีวิตามินบี ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา มีสาร ASGs ในข้าวกล้องพันธุ์สังข์หยด ช่วยการทำงานของอินซูลินและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ข้าวสังข์หยดจะเริ่มปลูกประมาณเดือนกันยายน แล้วเก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ใช้เมล็ดพันธุ์ปลูก 10 กิโลกรัมต่อไร่

การจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์

สามารถทำได้โดยการคัดแยกสิ่งเจือปนที่อยู่กับเมล็ดพันธุ์ข้าว แช่น้ำไว้ 1 คืน หลังจากนั้นให้นำเมล็ดข้าวที่แช่ออกมาวางไว้ในที่ร่ม ทิ้งไว้ 2 คืน จะแตกหน่อเป็นต้นกล้า ทำพร้อมไปกับการเตรียมแปลง

การเตรียมแปลงก่อนปลูก

ต้องเตรียมแปลงในช่วงเดือนสิงหาคม จะเตรียมดินโดยการไถแล้วทำเทือกร่องน้ำ เมื่อปล่อยน้ำเข้านาในปริมาณที่เหมาะสมจึงไถกลบตอซังทิ้งไว้ 1 เดือน แล้วเริ่มหว่านต้นกล้าในช่วงต้นหรือกลางเดือนกันยายน

กำหนดวันเก็บเกี่ยว

เมื่อข้าวเริ่มออกดอก หมั่นเดินสำรวจแปลงนา ถ้าข้าวทั้งแปลงออกดอกประมาณ 80% ถือเป็นวันออกดอก นับจากวันออกดอกไปอีก 28-30 วัน เป็นกำหนดวันเก็บเกี่ยวข้าวที่เหมาะสม จากนั้นระบายน้ำออกจากแปลง ก่อนถึงกำหนดเก็บเกี่ยว 7-10 วัน เพื่อให้ข้าวสุกแก่สม่ำเสมอ แปลงนาแห้งสะดวกในการเก็บเกี่ยวด้วยคนหรือเครื่องเกี่ยวข้าวไม่สกปรก และเปียกน้ำ

การเก็บเกี่ยวข้าว

เมื่อถึงระยะสุกแก่เหมาะสมคือ 28-30 วันหลังออกดอก ให้ทำการเก็บเกี่ยวความชื้นเมล็ดไม่ควรต่ำกว่า 20% การเก็บเกี่ยวข้าวก่อนหรือหลังจากระยะนี้จะทำให้ข้าวสูญเสียน้ำหนักและคุณภาพมากยิ่งขึ้น

การนวดข้าว

ในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คนนวด เครื่องนวด หรือเครื่องเกี่ยวนวด การนวดทุกวิธีจะต้องระมัดระวังการสูญเสียปริมาณข้าวจากการร่วงหล่น กระเด็นติดไปกับฟางข้าว เมล็ดเกิดการแตกร้าวหรือแตกหัก

การลดความชื้นเมล็ด

จากนั้นนำข้าวเปลือกไปลดความชื้นเมล็ด ซึ่งความสำคัญต่ออายุการเก็บรักษา การเข้าทำลายของแมลงศัตรูในโรงเก็บ เชื้อรา ดังนั้นหลังจากเก็บเกี่ยวและนวดจะต้องรีบตากหรือลดความชื้นเมล็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุด เพื่อลดอัตราการหายใจของเมล็ด ลดการเกิดเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพเร็วยิ่งขึ้น

วิธีการลดความชื้นของข้าว มี 2 วิธี คือ

1. การตากแดด การใช้แสงอาทิตย์เป็นแหล่งของความร้อน เป็นวิธีการที่เกษตรกรใช้กันมากที่สุดเพราะประหยัด ไม่ยุ่งยาก และได้ผลดี

2. การใช้เครื่องอบ การใช้เครื่องอบ ตู้อบ ฯลฯ สามารถควบคุมการลดความชื้นให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง ใช้ระยะเวลาลดความชื้นไม่มากและยังสามารถควบคุมป้องกันความเสียหายต่อคุณภาพข้าวได้ดีกว่าวิธีธรรมชาติ

การสีข้าวและทำความสะอาดข้าว

การสีข้าว คือขั้นตอนการแปรรูปเบื้องต้นของข้าวเปลือกให้ได้เป็นข้าวสารหรือข้าวกล้อง การทำความสะอาดข้าวคือขั้นตอนการแยกสิ่งปะปนหรือสิ่งเจือปนต่าง ๆ ออกจากข้าว เช่น เมล็ดพืชอื่น ๆ เมล็ดวัชพืช เมล็ดข้าวที่เสียหาย ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของข้าว เช่น ส่วนของใบ ลำต้น วัตถุอื่น ๆ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย

เครื่องสีข้าว ตราสิงห์สยาม รุ่น MS-475-RM เหมาะสำหรับสีข้าวไว้ทาน หรือสีข้าวไว้ขายในชุมชน สีได้ทั้งข้าวขาวและข้าวกล้อง ไม่มีฝุ่นฟุ้งกระจาย

เครื่องคัดเปอร์เซ็นต์ข้าวสาร ตราสิงห์สยาม รุ่น MS 33 CM ช่วยคัดแยกเม็ดข้าวที่ดีกับปลายข้าวออกจากกัน

เครื่องคัดหิน ตราสิงห์สยาม รุ่น MS 160 RS ใช้สำหรับคัดแยกหินและสิ่งเจือปนออกจากข้าวสาร หลังจากสีข้าวเสร็จแล้ว

 

ตกลง