เปิดโผ “6 สัตว์น้ำปรับปรุงพันธุ์” ทางเลือกสำหรับเกษตรกร เลี้ยงง่าย โตไว ให้ผลผลิตคุณภาพสูง
26 ก.ค. 2566
20
0
เปิดโผ“6สัตว์น้ำปรับปรุงพันธุ์”
เปิดโผ “6 สัตว์น้ำปรับปรุงพันธุ์” ทางเลือกสำหรับเกษตรกร เลี้ยงง่าย โตไว ให้ผลผลิตคุณภาพสูง

เปิดโผ “6 สัตว์น้ำปรับปรุงพันธุ์” ทางเลือกสำหรับเกษตรกร เลี้ยงง่าย โตไว ให้ผลผลิตคุณภาพสูง
การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ โดยเฉพาะชนิดพันธุ์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนั้น มีความจำเป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งจะช่วย ยกระดับการผลิตของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทยได้

ล่าสุด กรมประมงเผยข้อมูล “6 สัตว์น้ำปรับปรุงพันธุ์” ที่ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์จนส่งผลให้สัตว์น้ำเลี้ยงง่าย โตไว แข็งแรง อัตราการรรอดสูง และตรงความต้องการของตลาด ประกอบด้วย

     • ปลานิลจิตรลดา 3 : ปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการ “คัดเลือกแบบหมู่” จนได้สายพันธุ์ที่มีอัตรารอดและให้ผลผลิตสูง เจริญเติบโตได้ดีกว่าพันธุ์จิตรลดาดั้งเดิม 40%
     • ปลานิลจิตรลดา 4 : ปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการ “คัดเลือกการจากประเมินจากค่าการผสมพันธุ์ของน้ำหนัก” เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง เจริญเติบโตได้ดีกว่าพันธุ์จิตรลดาดั้งเดิม 36%
     • ปลาหมอชุมพร 1 : ปรับปรุงพันธุ์จากปลาหมอพันธุ์เพาะเลี้ยงของภาคใต้ โดยวิธีการ “คัดเลือกแบบหมู่ 4 รุ่น” เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตสูง อัตราการการเจริญเติบโตสูงกว่าปลาหมอสายพันธุ์เดิม 25.22 %
     • ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล : เป็นพ่อพันธุ์ปลาตะเพียนขาวเพศผู้ที่ได้รับการพัฒนาพันธุ์ “สามารถนำไปผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์ปกติ” และให้ผลผลิตเป็นลูกปลาตะเพียนขาวเพศเมียมากกว่า 80 %
     • กุ้งขาวสิชล 1 : เป็นกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาพันธุ์ด้านการเจริญเติบโต โดยคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตดีและปลอดจากเชื้อที่กำหนด 8 โรค จนได้สายพันธุ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น 32.54 - 34.58 % “สามารถเลี้ยงได้ทุกพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทย“
     • กุ้งก้ามกราม มาโคร 1 : เป็นกุ้งก้ามกรามที่ “ปรับปรุงพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์กุ้งก้ามกรามสายพันธุ์เดิม” และปลอดจากเชื้อ Macrobrachium rosenbergii nodavirus (MrNV) และ Extra small virus (XSV) จนมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น 5 - 15 %

 

หากเกษตรกรมีความสนใจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสายพันธุ์ดังกล่าวข้างต้น สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
> หน่วยงานผลิต หรือ กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ อ.ลองหลวง จ.ปทุมธานี
> โทร. 0 2904 7604, 0 2904 7805 และ 0 2904 7446
ที่มา :ไทยคู่ฟ้า

ตกลง