นายดิเรก ตนพยอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกาตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 18 ลงพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี วันที่ 30 มีนาคม 2561
12 มี.ค. 2561
170
0
นายดิเรกตนพยอมผู้ตรวจราชการกระทรวงเกาตรและสหกรณ์
นายดิเรก ตนพยอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกาตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 18 ลงพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี วันที่ 30 มีนาคม 2561

วันที่ 30 มีนาคม 2561 นายดิเรก ตนพยอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกาตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 18 ลงพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี เพื่อติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ชุดที่ 14 จังหวัดอุทัยธานีและติดตามการบริหารจัดการสินค้าเกษตรครบวงจรและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรระดับจังหวัด และการดำเนินงานโครงการไทยนิยม ยั่งยืน 

  เวลา 09.30 นายดิเรก ตนพยอม ผู้ตรวจราชการ กษ. เขตตรวจราชการที่ 18เป็นประธานการประชุมคณะติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ชุดที่ 14 จังหวัดอุทัยธานี ณ ห้องประชุมสุพรรณิการ์ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี (หลังเดิม) สรุปพื้นที่เป้าหมายการส่งเสริมปลูกข้าวมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น จำนวน 168,400 ไร่ เกษตรกรขึ้นทะเบียนแล้ว จำนวน 6,615 ครัวเรือน/พื้นที่ 84,636 ไร่ และไม่มีการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย เนื่องจากไม่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งนี้ พบว่า 1) เกษตรกรมีการปลูกข้าวอายุสั้นไปขายแก่โรงสีซึ่งไม่เป็นที่ต้องการทำให้ได้ราคาต่ำ ปัจจุบันจึงหันมาปลูกข้าวตามที่โรงสีต้องการ 2) เกษตรกรในพื้นที่ยังคงต้องการทำอาชีพปลูกข้าว ถึงแม้ในบางช่วงจะได้ราคาต่ำหรือเท่าทุนก็ยังต้องการทำอาชีพปลูกข้าวอยู่ และ 3) การกำหนดพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าวในพื้นที่ไม่ตรงกับสภาพพื้นที่จริงเนื่องจากพื้นที่ที่กำหนดว่าไม่เหมาะสมแท้จริงแล้วมีความเหมาะสมกับการปลูกข้าวเป็นอย่างมาก ข้อเสนอแนะ คือ การกำหนดพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวเจ้าหน้าที่ควรศึกษาทำความเข้าใจในการใช้เครื่องมือให้มีความชำนาญเพื่อนำไปใช้อย่างถูกต้อง และกรณีการส่งเสริมปลูกพืชหลังนาเจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัดควรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตนเอง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ

และเวลา 11.00 น. นายดิเรก ตนพยอม ผู้ตรวจราชการ กษ. เขตตรวจราชการที่ 18 เป็นประธานการประชุมกำกับแนะนำติดตามการบริหารจัดการสินค้าเกษตรครบวงจรและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรระดับจังหวัด และการดำเนินงานโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ณ ห้องประชุมสุพรรณิการ์ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี (หลังเดิม) สรุปได้ดังนี้

     1. การดำเนินการโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ขณะนี้มีแต่งตั้งคณะทำงานระดับอำเภอ/ตำบล/หมู่บ้าน/ชุมชน เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปัญหาความต้องการของชุมชนที่พบส่วนใหญ่ คือ เรื่องน้ำ เพาะปลูก และลานตาก เป็นต้น 

    2. การบริหารจัดการสินค้าเกษตรครบวงจรและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรระดับจังหวัด ให้จังหวัดประชุมหารือร่วมกันโดยพิจารณาคัดเลือกสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญ จากนั้นกำหนดทีมวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคเพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวขาว มันสำปะหลังมีปัญหาราคาต่ำ แก้ไขโดยพัฒนาการแปรรูป เป็นมันเส้น หรือให้สหกรณ์เข้ามาส่งเสริมด้านตลาด เป็นต้น

    ทั้งนี้ สำหรับการดำเนินโครงการฝายชะลอน้ำ มีจำนวน 6 จุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจออกแบบจุดก่อสร้าง

ตกลง