คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมประชุมการดําเนินงานโครงการฯ ผ่านระบบทางไกลออนไลน์ (ACU Conference)
21 ม.ค. 2564
158
0
คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ
คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมประชุมการดําเนินงานโครงการฯ ผ่านระบบทางไกลออนไลน์ (ACU Conference)

          วันพฤหัสบดี 21 มกราคม 2564 เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ  นายคมกริช จินดามณี ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินอำนาจเจริญ พร้อมด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ จังหวัดอำนาจเจริญ  เข้าร่วมประชุมการดําเนินงานโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ผ่านระบบทางไกลออนไลน์ (ACU Conference) โดยมีนายสำราญ สาราบรรณ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม ถ่ายทอดสัญญาณจากห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ห้อง 134-135) ผ่านระบบทางไกลออนไลน์ (ACU Conference)

          ประธาน ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ได้อนุมัติการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามผล การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ฯ โดยเห็นควรปรับลดกรอบ วงเงินของโครงการจากเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 วงเงิน 9,805.7075 ล้านบาท เป็น 3,550.9175 ล้านบาท และขยายระยะเวลาดําเนิน โครงการจากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 เป็นธันวาคม 2564 พร้อมทั้งเห็นควรให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กํากับดูแลหน่วยงานรับผิดชอบ ดําเนินการตามมติ คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ฯ อย่างเคร่งครัด   แจ้งผลการรับสมัคร เกษตรกรผ่านการคัดเลือก 20,583 ราย จ้างงานระดับตำบล ผ่านการคัดเลือก 22,095 ราย  ผลการดำเนินงานโครงการฯ การโอนงบประมาณ การเตรียมการจัดซื้อจัดจ้าง

          มติ ครม. 19 มกราคม 2564 อนุมัติให้การขอเปลี่ยนแปลง โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่  เป้าหมายเกษตรกร 32,000 ราย จ้างงานระดับตำบล 16,000 ราย เกษตรกรตั้งแต่ 2-50 รายต่อตำบล จ้างงานระดับตำบล ตั้งแต่ตำบลละ 1 ราย ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 25 ราย งบประมาณรวม 3,550,917,520 บาท พื้นที่เข้าร่วมโครงการ 4 ขนาด ดังนี้ 1) ขนาดพื้นที่ 2.5 ไร่ พื้นที่เก็บกักน้ำปริมาณดินขุดไม่เกิน 1,800 ลบ.ม. 2) ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ พื้นที่เก็บกักน้ำปริมาณดินขุดไม่เกิน 2,100 ลบ.ม. 3) ขนาดพื้นที่ 4ไร่ แหล่งเก็บกักน้ำปริมาณดินขุดไม่เกิน 2,800 ลบ.ม. - ปรับผลผลิตของโครงการในประเด็นพื้นที่เก็บกักน้ำให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงของจํานวนเกษตรกรที่ สมัครเข้าร่วมโครงการและปริมาณดินขุดตามที่เกษตรกรเลือกรูปแบบ  กระบวนการจัดการเรียนรู้แก่เกษตรกรแบบต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรมีการปรับแนวคิด พฤติกรรม โดยเป็นการอบรมมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาให้เกษตรกรทําเกษตรทฤษฎีใหม่ได้ เป็น รูปแบบการจัดเวทีชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาดูงาน เป็นต้น  และใช้รูปแบบมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินและมีรูปทรงเรขาคณิตอื่นที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของ เกษตรกร ซึ่งสามารถตรวจนับปริมาณดินขุดได้ โดยให้มีปริมาณดินขุดตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้

แผนการปฏิบัติงานสําคัญ  การรับสมัครเกษตรกร 114,177 ราย

3.1 การรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ

3.1.1 เกษตรกรที่ผ่านการสํารวจจากโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ (5 ประสาน) จํานวน 7,759 ราย

1) คณะทํางานฯ ระดับอําเภอ ลงพื้นที่ตรวจคุณสมบัติดิน/จุดขุดสระเก็บน้ำ/วาดผังแปลง

2) คณะทํางานฯ ระดับอําเภอ/ระดับจังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบ

3) รายงานผลให้กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน

ภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564

3.1.2 เกษตรกรทั่วไป จํานวน 3,659 ราย

1) รับสมัครเชิงรุก คณะทํางานฯ

2) เผยแพร่/บอกข่าวสู่ชุมชน

3) นัดหมายลงพื้นที่รับสมัคร

4) ตรวจสอบคุณสมบัติ

5) ลงพื้นที่ตรวจสอบความเหมาะสมของดิน / ขุดสระเก็บกักน้ำ / วาดฝังแปลง

6) รายงานผลให้กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน

ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564

3.2 เสนอแผนการฝึกอบรม (เวทีการเรียนรู้)

กระบวนการเรียนรู้ครั้งที่ 1 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาการเกษตรทฤษฎีใหม่ (2 วัน ๆ ละ 6 ชั่วโมง)

กระบวนการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วิเคราะห์พื้นที่ วางแผนการผลิต (หลักสูตร 1 วัน)

กระบวนการเรียนรู้ครั้งที่ 3 การรวมกลุ่ม (หลักสูตร 1 วัน)

กระบวนการเรียนรู้ครั้งที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ (ศึกษาดูงาน) รุ่นละ 1 วัน

         หลังจากรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ปิดการประชุมทางไกลเสร็จเรียบร้อย ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินอำนาจเจริญ ได้หารือร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ตกลง