วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.10 - 10.00 น. นางปารีณา สอนอาจ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ มอบหมายกลุ่มสารสนเทศการเกษตร สำนักงานฯ ดำเนินรายการวิทยุ “รายการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบเกษตรกร” ร่วมกับ นางสาวถิรดา สายยศ นิติกรปฏิบัติการ และ นางสาววิภาวดี สุรารักษ์ นักวิชาการสหกรณ์ กลุ่มตรวจการสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารโครงการ/กิจกรรม ดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มตรวจการสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ
1.1 แนะนำ กลุ่มตรวจการสหกรณ์ บทบาทหน้าที่ ความเป็นมาและความสำคัญ
กลุ่มตรวจการสหกรณ์ มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตรวจการสหกรณ์ ดังนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ปฏิบัติตามหรืองดเว้นปฏิบัติตามที่กฎหมายสหกรณ์หรือกฎหมายอื่นกำหนด รวมถึงข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ ระเบียบหรือคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ พร้อมจัดทำรายงานเสนอนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อพิจารณา
2. ศึกษา วิเคราะห์ แนวทางการตรวจการสหกรณ์ให้เกิดประสิทธิภาพ
3. ศึกษา วิเคราะห์ การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ การร้องเรียน การดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อนำเสนอนายทะเบียนสหกรณ์วินิจฉัยหรือสั่งการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมวางแนวทางป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟู
4. การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์
5. ช่วยเหลือนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ ในการเตรียมการหรือทำคำสั่งทางปกครองให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางปกครอง
6. ติดตาม ประเมิน และจัดรายงานในหน้าที่ความรับผอดชอบ
7. ประสานการทำงานร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ
8. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย
9. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย
จากสภาพการณ์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ภาวะการว่างงาน เศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้สหกรณ์ต้องบริหารจัดการการดำเนินงานของสหกรณ์ตามภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยี หรือสภาพทางสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดข้อบกพร่องในการดำเนินงานของสหกรณ์ เช่น การทุจริต ข้อบกพร่องทางบัญชี ข้อบกพร่องทางการเงิน การกระทำนอกกรอบวัตถุประสงค์ และพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งอาจ ทำให้สหกรณ์เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งปัญหาการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์มีความโน้ม เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมภายในและการตรวจการณ์สหกรณ์ ป้องกันปัญหาการเกิดข้อบกพร่องอันเกิด จากการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร หรือหากเกิดข้อบกพร่องก็สามารถแก้ไข หรือระงับ ยับยั้งได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ จำเป็นต้องมีการกำกับ ดูแล แนะนำ ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้ครอบคลุม ทั้งระบบ
พระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2562 มาตรา 16 (3) และมาตรา 19 บัญญัติว่า “ให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งผู้ตรวจการสหกรณ์” และ “ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วให้เสนอรายงานการตรวจสอบต่อนายทะเบียนสหกรณ์” ทั้งนี้ เพื่อนายทะเบียนสหกรณ์จะได้ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาวินิจฉัย สั่งการตามอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์ที่ได้บัญญัติไว้ตาม กฎหมายสหกรณ์บทบัญญัติดังกล่าวมีความประสงค์จะให้รัฐใช้อำนาจฝ่ายปกครองกำกับดูแลการดำเนินกิจการ ของสหกรณ์ไม่ให้มีการปฏิบัติการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งเป็นสาเหตสำคัญในการทำให้สหกรณ์และ สมาชิกได้รับความเสียหาย ในขณะที่กลไกการตรวจสอบภายในองค์กรของสหกรณ์เองบางส่วนยังขาดความ เข้มแข็ง จึงส่งผลให้เกิดข้อบกพร่องในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นบางครั้งที่เกิดจากการ ทุจริต ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายตามมา ฉะนั้นจึงจําเป็น อย่างยิ่งที่รัฐจะต้องใช้กลไกการตรวจสอบของรัฐ ที่กฎหมายได้กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้เข้าไปทำหน้าที่อย่างจริงจัง อย่างน้อยก็เพื่อเป็นการระงับยับยั้ง ป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและให้มีการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม้ให้ลุกลามขยายตัวออกไป โดยเฉพาะ อย่างยิ่งข้อบกพร่องที่เกิดจากการทุจริต ซึ่งผู้ตรวจการสหกรณ์ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งของนายทะเบียน สหกรณ์ที่จะเข้าไปทำหน้าที่ตรวจสอบสหกรณ์ตามที่ กฎหมายสหกรณ์บัญญัติไว้การกำกับดูแลสหกรณ์ในสภาวการณ์ปัจจุบันนี้การตรวจการสหกรณ์จึงมีความสำคัญเป็นอย่าง มาก เพราะการตรวจการสหกรณ์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญของภาครัฐในการควบคุมหรือกำกับ ดูแลระบบ สหกรณ์ของประเทศให้ดำเนินงานโดยถูกต้องตามหลักการและวิธีการสหกรณ์รวมทั้งกฎหมายและ แนวนโยบาย ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์
1.2 แนะขั้นตอนในการตรวจการสหกรณ์ ความหมายของการตรวจการสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ขั้นตอนการตรวจการสหกรณ์ การเตรียมการก่อนการตรวจสอบ การวางแผนการตรวจสอบ ขอบเขตการตรวจสอบกิจการของสหกรณ์ กรณีการบริหารจัดการภายในองค์กร แนวทางการตรวจการสหกรณ์ กรณีเกี่ยวกับสมาชิก กรณีการบริหารจัดการภายในองค์กร การตรวจสอบฐานะการเงินของสหกรณ์ การตรวจการสหกรณ์ และการรายงานผลการตรวจสอบ