รายงานผลการจัดทำสรุปความพึงพอใจของผู้มารับบริการ ณ ศูนย์บริการข้อมูลด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดแบบเบ็ดเสร็จ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี 2565
15 ก.ย. 2565
34
0
รายงานผลการจัดทำสรุปความพึงพอใจของผู้มารับบริการ
รายงานผลการจัดทำสรุปความพึงพอใจของผู้มารับบริการ ณ ศูนย์บริการข้อมูลด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดแบบเบ็ดเสร็จ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี 2565

ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านข้อมูลข่าวสาร 

1) ผู้บริการมีความพึงพอใจ ร้อยละ 90.42

2) ผลรวมคะแนนเฉลี่ย 4.52

3) ระดับความพึงพอใจ “มาก”

4) มีผู้มารับบริการ 64 ราย เฉลี่ยเดือนละ 5-6 ราย 

 

 

ปัญหา อุปสรรค

          1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นแหล่งข้อมูล มีการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างจากที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จัดเก็บข้อมูล ความต้องการใช้ข้อมูลของผู้ขอรับบริการมีความแตกต่าง ระบบฐานข้อมูลที่จัดทำไม่สนองตอบ และมีการบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อนกับหน่วยงานข้อมูลปฐมภูมิ

          2.  ปี 2565 สถานการณ์การระบาดโรค โควิด 19  มีการผ่อนคลาย ส่งผลถึงการผู้เข้ามาขอรับบริการเริ่มเข้ามาที่ศูนย์บริการข้อมูลมากว่า ปี 2564 และกลุ่มเกษตรกรที่มาขอรับบริการส่วนใหญ่เข้ามาติดต่อเรื่องที่ยื่นไว้เช่น กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร กองทุนหมุมนเวียน ไม่ได้มาขอรับบริการข้อมูลข่าวสารโดยตรง ส่งผลให้ให้ข้อมูลที่ได้ไม่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเกษตรกร ส่วนกลุ่มหน่วยงาน ราชการต่าง ๆ ได้ข้อมูลตรงตามความต้องการมาก

การดำเนินการ แก้ไขปัญหา

          1.คณะทำงานข้อมูลด้านการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด ได้มีการจัดทำข้อมูลร่วมกันเป็นข้อมูลเดียวกัน เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านกูเกิ้ลไชต์ https://sites.google.com/view/amnat-agriculture  

          และในส่วนที่มาขอรับบริการข้อมูล ณ ศูนย์บริการข้อมูลด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดแบบเบ็ดเสร็จ ได้มีการจัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจขอผู้มาขอรับบริการ การให้บริการทั้ง 4 ด้านผลการประเมิน สรุปผลดังนี้     1) ด้านความรวดเร็วในการให้บริการ ร้อยละ  90.772) ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 91.14  3)ด้านอำนวยสิ่งสะดวก ร้อยละ 90.31  ด้านข้อมูลตรงตามต้องการ ร้อยละ 89.47  จะเห็นว่าด้านที่ 4 คือข้อมูลตรงตามความต้องการได้ความพึงพอใจน้อยที่สุด ใน 4 ด้าน  ซึ่งการจัดทำแบบสอบถามผู้มาขอรับบริการ ในส่วนของราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ข้อมูลตรงตามความต้องการมาก และในส่วนของเกษตรกร ข้อมูลยังไม่ตรงตามความต้องการ เป็นข้อมูลที่ศูนย์บริการข้อมูลต้องนำมาปรับปรุงศูนย์ต่อไป

          2. หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัด ได้ร่วมจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอำนาจเจริญ ตามดำริของผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อความเป็นเอกภาพ  มีความถูกต้อง สามารถเปรียบเทียบ วิเคราะห์สถานการณ์ แนวโน้ม และนำไปใช้ประกอบการวางแผนการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถเชื่อมโยง ในภาพรวมกับจังหวัด และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้          

          3. การเพิ่มช่องทางการให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางอื่น ๆ เช่น การส่งข้อมูลทาง อีเมล์ ไลน์ เฟสบุค เว็ปไซต์

ตกลง