สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ลงพื้นที่ร่วมกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NPO) ของญี่ปุ่น สำรวจฟาร์มปลาในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง
25 มี.ค. 2567
112
0
สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง
สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ลงพื้นที่ร่วมกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NPO) ของญี่ปุ่น สำรวจฟาร์มปลาในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง

สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ลงพื้นที่ร่วมกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NPO) ของญี่ปุ่น สำรวจฟาร์มปลาในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง

 

วันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. นางวินดา เหลี่ยมสมบัติ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง นางสิริพร ทิพอารักษ์วงศ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ นางสาวณัฐชยา สิทธิยศ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง นายสันติ จันทร์สถานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง นายอนุรักษ์ พูลทรัพย์ เจ้าพนักงานประมง สำนักงานประมงจังหวัดอ่างทอง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ร่วมกับนายนิชิดะ เซจิ (Nishida Seiji) ผู้ก่อตั้ง Yum! Yam! SOUL SOUP KITCHEN ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit Organization : NPO) เพื่อพบปะกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด (ปลาดุก ปลาช่อน ปลาเบญจพรรณ) จำนวน 3 ฟาร์ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเกษตรในอนาคตต่อไป

จุดที่ 1 เข้าพบนายมณฑล วิไลลักษณ์ เจ้าของฟาร์มปลาดุก ตำบลสามโก้ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP มีพื้นที่เพาะเลี้ยง 80 ไร่ (40 บ่อ) ผลผลิตรวม 2,000 ตัน/ปี มีตลาดรับซื้อหลัก คือ ตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง

ต่อมาในช่วงบ่าย คณะได้เข้าเยี่ยมชม จุดที่ 2 กลุ่มแปลงใหญ่สหกรณ์ประมงและการแปรรูปอ่างทอง จำกัด (แปลงใหญ่ปลาช่อน) ตำบลบางยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง พร้อมทั้งหารือกับนายวิจิตร แฉล่มภักดิ์ สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ฯ โดยกลุ่มมีการเพาะเลี้ยงปลาช่อน พื้นที่ 75 ไร่ ( 32 บ่อ) มีสมาชิก 44 ราย ผลผลิตรวม 300 ตัน/ปี จุดเด่นของปลาช่อน ของกลุ่มแปลงใหญ่นี้ เกษตรกรใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เลี้ยงในบ่อดิน มีการจัดการดินเลนในบ่อเลี้ยง และเลี้ยงด้วยอาหารที่เหมาะสม

จุดที่ 3 กลุ่มแปลงใหญ่สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอ่างทอง จำกัด (แปลงใหญ่ปลานิล) ตำบลคลองขนาก อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เกษตรกรนางมณเฑียร ศรีวงศ์ราช โดยมีพื้นที่เพาะเลี้ยง 73 ไร่ (63 บ่อ) ผลผลิตรวม 70 ตัน/ปี ตลาดรับซื้อหลัก คือตลาดในจังหวัดอ่างทอง และแพปลาคลอง 4 จังหวัดปทุมธานี กลุ่มแปลงใหญ่มีการเลี้ยงปลาที่หลากหลาย (ปลานิล ปลาจีน ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลาสวาย) โดยปลาสวายจะช่วยตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ

โดยเกษตรกรทั้ง 3 ฟาร์ม มีความต้องการที่จะขยายช่องทางการตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง จะประสานงานกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่างประเทศ เพื่อเชื่อมโยงตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ปลาน้ำจืดของจังหวัดอ่างทองอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ตกลง