เกษตรแนวตั้ง Vertical Farm และระบบ Robot Farm
2 มี.ค. 2563
9,300
0
เกษตรแนวตั้ง Vertical Farm และระบบ Robot Farm
เกษตรแนวตั้ง Vertical Farm และระบบ Robot Farm

เกษตรแนวตั้ง Vertical Farm และระบบ Robot Farm

เกษตรแนวตั้ง VERTICAL FARM

พูดถึงการทำเกษตรทุกวันนี้ หลายคนน่าจะนึกถึงการปลูกผักในแปลงเกษตร ที่มีการใช้พื้นที่เป็นแปลง ให้น้ำโดยสปริงเกอร์ ต้องดูแลเรื่องปุ๋ย และวัชพืช คำถามจึงมีอยู่ว่า แล้วถ้ามีพื้นที่จำกัดล่ะ จะสามารถปลูกพืชได้ไหม หรือแม้กระทั้งพื้นที่เพาะปลูกไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคที่มากขึ้นจะทำยังไง ในต่างประเทศตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์หรือญี่ปุ่นเอง ได้มีการวิจัยเรื่องการทำเกษตรในร่ม การปลูกพืชในโรงเรือนเป็นชั้น ๆ หรือที่เราเรียกว่า เกษรแนวตั้งนั่นเองครับ  ในบ้านเราอาจจะยังไม่มีความจำเป็นที่จะทำแบบนั้นครับ แต่ในต่างประเทศเขามีข้อจำกัดในด้านพื้นที่จึงทำให้ต้องมีการพัฒนาการทำเกษตรให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคครับ อย่างเช่น ถ้าพื้นที่ปลูกแบบธรรมดา 1 ไร่ ก็จะได้ผลผลิตแค่ 1 ไร่ แต่ถ้าปลูกแบบแนวตั้งบนพื้นที่ 1 ไร่ ก็จะให้ผลผลิตเทียบเท่า 4-5 ไร่เลยทีเดียวครับ ในบ้านเราตอนนี้ก็เห็นมีการวิจัยมาบ้างแล้วครับ

การเกษตรแนวตั้ง หรือ Vertical Farm หมายถึง การปลูกพืชเป็นชั้น ๆ มีการให้น้ำ อาหาร และแสงโดยการควบคุมจากมนุษย์ ปลูกในโรงเรือนที่มีหลังคา มีตาข่ายป้องกันแมลงเข้ามากัดกินผลผลิต ปลูกพืชได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล และสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ บริษัท Skygreens ในประเทศเพื่อนบ้านสิงคโปร์ของเรา ได้เริ่มมีการทำฟาร์มแนวตั้งเพื่อป้อนผลผลิตออกสู่ตลาดแล้ว โดยในสิงคโปร์มีพื้นที่ทำการเกษตร 250 ไร่ เป็นพื้นที่การเพาะปลูกแบบธรรมดา ซึ่งไม่สามารถให้ผลผลิตได้เพียงพอต่อผู้บริโภค จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำฟาร์มเกษตรแนวตั้งขึ้น โดยฟาร์มแห่งนี้ สามารถป้อนผลผลิตเข้าสู่ตลาดได้มากถึงวันละ 1 ตัน ซึ่งมากกว่าฟาร์มปกติ 5-10 เท่า โดยเปรียบเทียบจากพื้นที่ขนาดเดียวกัน

 โดยฟาร์มแห่งนี้ทำงานด้วยระบบไฮโดรลิค ใช้พลังงาน และน้ำน้อยมาก มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า A-Go-Go โดยโครงสร้างจะเป็นเสา 2 เสาค้ำกันคล้ายกับรูปตัว A แต่ละเสามีความสูง 6 เมตร มีการหมุนเพื่อให้พืชได้รับน้ำและแสงแดดในปริมาณที่เท่ากัน ระบบหมุนไม่ต้องใช้ไฟฟ้า เพราะใช้ระบบเติมน้ำเพื่อหมุนรอก น้ำก็จะวนกลับไปกลับมา น้ำเสียจากพืชก็จะนำไปหมักแล้วสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หลังคาเป็นพลาสติกพีวีซีใส สามารถปลูกพืชที่ชอบอากาศร้อนได้ตลอดทั้งปี ซึ่งการเพาะปลูกแบบปกติในพื้นที่เปิดจะทำไม่ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านฤดูกาล และปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในการสูบน้ำ มีค่าไฟฟ้าเพียง 105 บาทต่อเดือนต่อ 1 โครงสร้างตัว A เท่านั้นเอง

 Skygreens ได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐบาลของสิงคโปร์ และได้เป็นต้นแบบเกี่ยวกับฟาร์มเทคโนโลยีเกษตรอีกด้วย ในอนาคต Skygreens ตั้งเป้าที่จะส่งออกไปที่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน และยุโรป โดยเน้นการแก้ปัญหาความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ครับ

 

ตกลง