การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จากเศษปลา
17 มี.ค. 2563
39,892
0
การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จากเศษปลา
การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จากเศษปลา

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จากเศษปลา

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จากเศษปลา

วันนี้ผมจะมาแนะนำการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อทำให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ใช้ในการเกษตรครับ โดยวัตถุดิบก็ได้แก่ เศษอาหาร เศษปลา ก้าง เครื่องใน หรือแม้กระทั่งหอยเชอรี่ก็ได้ครับ แต่ที่จะสาธิตนี้ผมจะใช้เป็นปลาล้วน ๆ เพราะอยู่ใกล้แหล่งจึงสะดวกหน่อยครับ อย่างที่ทราบกันดีว่าปลานั้นเป็นแหล่งแคลเซียมอย่างดี พอนำไปหมักซักพัก ตัวปลา ก้าง เครื่องใน จะเริ่มย่อยสลาย เราก็จะได้น้ำหมักชีวภาพไปใช้ในการเป็นอาหารพืชได้อย่างดีครับ 

ส่วนวัตถุดิบของการทำปุ๋ยหมักชีวภาพมีดังนี้ครับ

  1. เศษปลา     12 กิโลกรัม (ปลาสด หรือเศษอาหารแล้วแต่จะหาได้)
  2. กากน้ำตาล   8 กิโลกรัม
  3. น้ำ EM       2 ลิตร 
  4. ถังขนาด    30 ลิตรแบบมีฝาปิด
  5. กระชอนหรือผ้าขาวบาง (ใช้เพื่อจะตักหรือกรองเศษปลาออกตอนหมักครบระยะเวลา)

ระยะเวลาหมักใช้เวลา 2 เดือน

เคล็ดลับ

ผมจะทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 20 ลิตร และจะใช้กากน้ำตาล 40 % ของน้ำหนักรวม ซึ่งจะต้องใช้กากน้ำตาล 8 กิโลกรัม ถ้าเศษปลามากก็เพิ่มกากน้ำตาลและน้ำ EM ตามสัดส่วนครับ


 

วิธีการทำ

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมเศษปลาที่หามาได้ และถังให้พร้อม

การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

ขั้นตอนที่ 2 ตั้งถังให้พร้อม เพราะเมื่อเราหมักเสร็จถังจะหนักมาก ทำให้เคลื่อนย้ายลำบาก

การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

ขั้นตอนที่ 3 เตรียมกากน้ำตาล 8 กิโลกรัม (ผมใช้วิธีเทใส่ถังแล้วชั่งเอา โดย 1 ลิตร = 1 กิโลกรัม)

การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

ขั้นตอนที่ 4 น้ำหมัก EM 2 ลิตร

การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

ขั้นตอนที่ 5 เท EM ลงกะละมังที่เเตรียมไว้

การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

ขั้นตอนที่ 6 เทกากน้ำตาลลงตาม พร้อมกับใช้ไม้คนให้กากน้ำตาลละลาย

การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

ขั้นตอนที่ 7 นำเศษปลาที่ได้มาใส่ถัง
การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

ขั้นตอนที่ 8 เท EM และกากน้ำตาลที่เตรียมไว้ลงตาม

การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

ขั้นตอนที่ 9 คนให้เข้ากัน สังเกตจะสีที่เปลี่ยนเกิดจากกากน้ำตาลที่มีสีค่อนข้างแดง

การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

ขั้นตอนที่ 10 ปิดฝาให้สนิท

การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

เคล็ดลับ

การหมักควรเหลือพื้นที่ประมาณ 30% ของถังไว้ เพราะเมื่อหมักจะเกิดแก๊สและดันเศษปลาขึ้นมา ถ้าไม่มีพื้นที่เหลือล่ะก็….. งานเข้าครับ 555 พอดีตอนผมหมัก ผมก็ยังไม่รู้ มีเท่าไร่ ใส่ให้เต็ม ผ่านไปประมาณ 1 วันก็กลับมาดูครับ ปรากฎว่ามันเกิดแก๊สขึ้นมาก และดันฝาถังอย่างรุนแรง โชคดีที่เปิดฝาทัน แล้วย้ายส่วนที่ล้นออกมาใส่ถังใหม่ ถ้าเกิดระเบิดขึ้นมาคงไม่มีใครบาดเจ็บครับ แต่จะตายก่อน เพราะกลิ่นมันนี่แหละ ฮ่า ๆๆ  แหม…. เหมือนมีระเบิดเวลาตั้งอยู่ใกล้ ๆ ถึง 3 ลูกแหนะ

ต้องเปิดฝาแล้วคนให้เข้ากันสัปดาห์ละครั้งนะครับ ระหว่างหมักจะมีแก๊สค่อนข้างมาก ควรเปิดเพื่อฝาระบายแก๊สออกบ้าง

PHOTO_20160218_181318

สัปดาห์ที่ 1 ผ่านไป

      เข้าสู่สัปดาห์ที่ 1 ความคิดไว้ตอนแรกน่าจะเหม็น แต่ผิดคาดครับ กลิ่นประมาณว่าเหม็นบวกกับหอมกากน้ำตาลเท่า ๆ กัน เลยพอทนได้ ที่กลิ่นไม่แรงน่าจะเป็นเพระกากน้ำตาลช่วยครับ ระหว่างคนก็เกิดแก๊สผุดขึ้นมาเป็นระยะ ๆ ตัวปลาก็ยังไม่เปื่อยเท่าไร่เลย เดี่ยวอาทิตย์ที่ 2 ต้องเปิดมาเพื่อคนอีกรอบครับ

PHOTO_20160222_170339

สัปดาห์ที่ 2 ผ่านไป

       เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 เปิดออกมาเพื่อคนให้เข้ากันอีกครั้ง ตอนนี้กลิ่นไม่แรงเท่าไร่ครับ กลิ่นนิ่งมาก ตัวเนื้อปลาเราย่อยแล้วครับ เหลือหัว พุง และก้าง ตอนเปิดดูเหมือนไม่มีน้ำครับ แต่พอกวนดูซักพักนึง จะเห็นระดับน้ำเกือบเต็มครับ

 

 

สัปดาห์ที่ 3 ผ่านไป

       เข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ถึงสัปดาห์นี้เปิดมาเพื่อกวนอีกรอบครับ รอบนี้ส่วนผสมต่าง ๆ เริ่มยุบแล้ว จากที่ใช้ไม้กวนซักระยะหนึ่งส่วนผสมเริ่มเข้ากันได้ดี และเป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้น ส่วนกลิ่นนั้นบอกได้เลยว่า เป็นกลิ่นกากน้ำตาลหอม ๆ ครับ ไม่เหม็นแล้ว เอ้า……ถ้าไม่เชื่อว่าหอม ผมลองดมให้ดูเลย ตามภาพด้านล่างครับ (ฮา)

 

 

 

สัปดาห์ที่ 4 ผ่านไป

       เข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 ตอนนี้ตัดปัญหาเรื่องกลิ่นออกได้แล้ว ส่วนหัวปลายังเป็นชิ้น ๆ อยู่ พุงย่อยสลายเกือบหมด ใช้ไม้กวนแล้วเป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้น ส่วนที่เป็นน้ำหมักเริ่มเยอะขึ้นมากกว่าส่วนของปลา

 

 

สัปดาห์ที่ 5 ผ่านไป

       เข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 เปิดถังมาเห็นหัวปลาที่ลอยอยู่ ใช้ไม้กวนดูรู้สืกว่าจะเป็นเนื้อเนียน ๆ เข้ากันหมดแล้ว ส่วนที่ยังไม่ย่อยก็ได้แก่ ก้างปลาและหัวปลาใหญ่ครับ

 

 

สัปดาห์ที่ 6 ผ่านไป

       เข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 ส่วนมากตอนนี้ยอยสลายมากแล้ว จะเห็นได้ว่าตอนเปิดถังใหม่ ๆ น้ำอีเอ็มเริ่มปริ่ม ๆ แล้ว ส่วนพุงปลาและหัวปลาเล็กย่อยสลายเกือบหมด ใช้ไม่กวนดูถือว่ากวนได้ง่าย ส่วนที่ยังไม่ย่อยสลายคือหัวปลาตัวใหญและก้างปลา



สัปดาห์ที่ 7 ผ่านไป

        เข้าสู่สัปดาห์ที่ 7 ใกล้ครบ 2 เดือนแล้ว เปิดมาสภาพเหมือนถังบรรจุน้ำ แทบจะมองไม่เห็นหัวปลาเลย มีฟองผุด ๆ ขึ้นนิดหน่อยซึ่งเป็นการเกิดก๊าซระหว่างหมัก ใช้ไม้กวนดูรู้สึกว่ากวนง่ายมาก ลองใช้ไม้บีบหัวปลาติดกับข้างถังก็แตกโดยง่าย ส่วนที่เหลือยังไม่ย่อยก็เป็นพวกก้างปลาใหญ่ หลังจากนี้รออีก 1 อาทิตย์ก็จะครบ 2 เดือนพอดีครับ

 

 

สัปดาห์ที่ 8 ครบ 2 เดือนพอดี

เข้าสู่สัปดาห์ที่ 8 ไม่มีอะไรน่าห่วงแล้ว ทั้งกลิ่นทั้งปลาแทบจะละลายหายเกลี้ยงหมดตามภาพด้านล่าง หลังจากนี้รออีกสักพักก็สามารถกรองเอานี้ไปทำปุ๋ยแก่พืชได้แล้วครับ

 

ถึงเวลากรอง

ผ่านมาประมาณ 2 เดือนนิด ๆ เป็นใช้ได้ โดยใช้ไม้กวนให้เข้ากันอีกครั้ง

 

ใช้ภาชนะตักตัวปุ๋ยลงถังกรอง

หาถังมาพร้อมกรองด้วยผ้าขาวบาง ตอนนี้อาจใส่ถุงมือยางกวนบนผ้าเพื่อให้น้ำปุ๋ยไหลเร็วขึ้น ส่วนกากให้ตักออกไปผสมดินเป็นปุ๋ยให้พืชได้อีกทางหนึ่ง

หรือใช้กระชอนตักเอาเศษปลาออกก็ได้ครับ

เสร็จแล้วตักบรรจุใส่กระติกหรือขวดก็สามารถนำไปใช้ได้แล้วครับ

หน้าที่ของจุลินทรีย์ EM จะทำการย่อยสลายเศษปลา ส่วนกากน้ำตาลจะเป็นอาหารของจุลินทรีย์ EM และทำให้จุลินทรีย์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะย่อยสลายได้เร็วขึ้น

วิธีใช้

 

 

เนื่องจากตัวปุ๋ยมีความเข้มข้นสูง จึงต้องนำมาเจือจางกับน้ำก่อนนำไปใช้ฉีด พ่น รดต้นพืช โดยมีการเจือจาง 500 เท่า

ปุ๋ยน้ำ 2 ซีซี : น้ำเปล่า 1 ลิตร

ฉีดพ่นพืชผัก เดือนละ 2-3 ครั้ง


ปุ๋ยน้ำ 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำเปล่า 1 ลิตร

รดโคนต้นพืชผัก เดือนละ 2-3 ครั้ง

สามารถใช้กับพืชสวนได้อาทิ

รดโคนต้น : กล้วย มะนาว พริก มะเขือ มะกรูด ฯลฯ


ไม่ควรใช้กับการเพาะต้นกล้า เพราะตัวปุ๋ยมีความเข้มข้นสูง

เหมาะกับพืชผักในระยะเร่งการเจริญเติบโต

ผลการใช้

พริก

 

สลัด

 

กล้วยหอมทอง

 

ภาพด้านล่าง ต้นเดียวกันกับปลีด้านบน ผลงานปุ๋ยหมักปลา

ปุ๋ยหมักปลา เป็นวัตถุดิบทำเกษตรอินทรีย์ 100%

 

 

ตกลง