เตือนการเฝ้าระวัง โรคยอดเน่า รากเน่า ในสับปะรด ประจำเดือน พฤษภาคม 2568
22 พ.ค. 2568
5
0
เตือนการเฝ้าระวัง
เตือนการเฝ้าระวัง โรคยอดเน่า รากเน่า ในสับปะรด ประจำเดือน พฤษภาคม 2568

ตือนการเฝ้าระวัง โรคยอดเน่า รากเน่า ในสับปะรด

     สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกสับปะรด ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคยอดเน่า รากเน่า (เชื้อรา Phytophthora spp.) อาการที่ต้น ใบยอดมีสีซีด ที่โคนใบหรือฐานใบจะเน่าช้ำมีสีขาวอมเหลืองขอบแผลสีน้ำตาลส่งกลิ่นเหม็นเฉพาะตัว เมื่อดึงส่วนยอดจะหลุดโดยง่าย หากอาการรุนแรงกลุ่มใบตรงกลางต้นจะหักล้มพับลงมา อาการที่ราก อาการเริ่มแรกจะเห็นใบมีสีซีดคล้ายอาการที่ต้น ใบด้านล่างนิ่มกว่าปกติและแห้งตายเข้ามาจากปลายใบ ต้นชะงักการเจริญเติบโต รากมีแผลสีน้ำตาล เปื่อยและเน่าดึงหลุดออกมาจากดินโดยง่าย
อาการที่ผล ผลมีขนาดเล็ก ผลเน่าเป็นจุดสีเขียวเข้ม ผ่าดูภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเป็นสีน้ำตาล

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
   1. เลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน
   2. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำดี ไม่ควรมีน้ำท่วมขัง และเมื่อมีน้ำท่วมขังควรรีบระบายออก
   3. ใช้ส่วนขยายพันธุ์จากแหล่งที่ไม่พบการระบาดของโรค
   4. ก่อนปลูกแช่จุก หรือ หน่อพันธุ์ ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WG อัตรา 50 - 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสโฟนิก แอซิด 40% SL อัตรา 50-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรพาโมคาร์บไฮโดรคลอไรด์ เมทาแลกซิล 10% 15% WP อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลูโอพิโคไล ฟอสอีทิล-อลูมิเนียม 4.4% 66.7% WG อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 5 นาที และพ่นยอดทุก 1 – 2 เดือน
   5. ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบต้นที่เป็นโรครุนแรง ควรขุดออกนำไปทำลายนอกแปลงปลูก
   6. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต นำส่วนต่าง ๆ ของพืชที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก
   7. ไม่นำเครื่องมือที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ และควรทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง

 ที่มา กรมวิชาการเกษตร

ตกลง