เตือนการเฝ้าระวัง แมลงดำหนามมะพร้าว ในมะพร้าว ประจำเดือน พฤษภาคม 2568
16 พ.ค. 2568
3
0
เตือนการเฝ้าระวัง
เตือนการเฝ้าระวัง แมลงดำหนามมะพร้าว ในมะพร้าว ประจำเดือน พฤษภาคม 2568

เตือนการเฝ้าระวัง แมลงดำหนามมะพร้าว ในมะพร้าว

     สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน และมีฝนตกบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมะพร้าว ในระยะ ยังไม่ให้ผลผลิต ให้ผลผลิตแล้ว รับมือแมลงดำหนามมะพร้าว ทำลายส่วนใบของมะพร้าว โดยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย อาศัยอยู่ในใบอ่อนที่ยังไม่คลี่ของมะพร้าว และแทะกินผิวใบ ใบมะพร้าวที่ถูกทำลายเมื่อใบคลี่กางออกจะมีสีน้ำตาลอ่อน หากใบมะพร้าวถูกทำลายติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ยอดของมะพร้าวมีสีน้ำตาล เมื่อมองไกล ๆ จะเห็นเป็นสีขาวโพลน ชาวบ้านเรียก “มะพร้าวหัวหงอก”

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
   1. วิธีเขตกรรมและวิธีกล ไม่ควรเคลื่อนย้ายต้นพันธุ์มะพร้าวหรือพืชตระกูลปาล์มมาจากแหล่งที่มีการระบาด
   2. การใช้ชีววิธี การใช้แตนเบียนที่เฉพาะเจาะจงกับแมลงดำหนาม เช่น แตนเบียนอะซีโคเดส ฮิสไพนารัม (Asecodes hispinarum) .และ แตนเบียนเตตระสติคัส บรอนทิสปี้ (Tetrastichus brontispae) มาเลี้ยงขยายเพิ่มปริมาณ และปล่อยทำลายหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว
   3. การใช้สารเคมี
       กรณีมะพร้าวต้นเล็ก ใช้สารอิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 1 กรัม หรือ ไทอะมีทอกแซม 25% WG อัตรา 1 กรัม หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 1 กรัม ละลายน้ำ 1 ลิตรต่อต้น ราดบริเวณยอดและรอบคอมะพร้าว หรือ การใช้สารคาร์แทปไฮโดรคลอไรด์ 4% GR ใส่ถุงผ้าที่ดัดแปลงคล้ายถุงชา อัตรา 30 กรัมต่อต้น มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลงดำหนามมะพร้าวได้นานประมาณ 1 เดือน

ที่มา กรมวิชาการเกษตร

ตกลง