CoP 2563 - การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Web Application) ด้วย Laravel Framework
22 ก.ค. 2563
570
24,187
CoP 2563 - การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Web Application) ด้วย Laravel Framework
CoP 2563 - การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Web Application) ด้วย Laravel Framework

สรุปผลประชุมกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ (CoP) ประจำปี พ.ศ. 2563

เรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Web Application) ด้วย Laravel Framework

วันที่ 9-10, 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10.00 น. – 17.00 น.

ณ ห้องประชุมศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับรองรับและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐและภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
  2. เพื่อให้เกิดการสร้างความผูกพัน ความร่วมมือระหว่างกลุ่มงานและสร้างแรงจูงใจให้สามารถปฏิบัติราชการได้ตามเป้าหมายที่สอดคล้องกัน
  3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทำความเข้าใจในหลักปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถนำความรู้ ความเข้าใจจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ตรงกัน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับ

        เกิดการสื่อสาร การสร้างความเข้าใจ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ระหว่างเจ้าหน้าที่ของแต่ละกลุ่มฝ่ายงาน เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถนำวิธีการที่แลกเปลี่ยนกันไปประยุกต์ใช้และต่อยอดในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สรุปเนื้อหาสาระในกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้

        Laravel คือ PHP Framework รูปแบบ MVC ซึ่งพัฒนาโดยทีม Taylor Otwell และเป็นที่นิยมใช้มากของนักพัฒนาระบบ หรือเว็บแอปพลิเคชันในปัจจุบันเพราะมีความสามารถที่ช่วยในการทำงานให้ง่ายและเป็นระเบียบมากขึ้น

        PHP Framework คือ เครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาของภาษา PHP โดยมีการจัดโครงสร้างของโค้ดให้ดูมีระเบียบเรียบร้อย เพิ่มความปลอดภัยของระบบ และอีกทั้งให้ความสะดวกในการพัฒนาระบบอีกด้วย 

ข้อดีของ Laravel Framework

        Laravel เป็น framework ที่สามารถดึง class php สำเร็จรูปที่ดีที่มีคนเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตไว้ให้โหลดฟรีมาใช้งานได้จึงทำให้นักพัฒนาระบบหรือเว็บแอปพลิเคชันไม่ต้องเขียนโค้ดเองทั้งหมด โดยทำงานร่วมกับ Composer ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้เรามาติดตั้งบนเครื่องที่ใช้ในการพัฒนา ทำให้นักพัฒนาสามารถดาวน์โหลด Library หรือ Package ต่าง ๆ เข้ามาใช้งานในโปรเจคได้ง่าย

ข้อจำกัดของ Laravel Framework 

        หากมีการอัพเดทเวอร์ชัน อาจทำให้มีการปรับปรุงรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่แตกต่างจากเวอร์ชันเดิม จึงอาจทำให้เกิดความยุ่งยากในการอัพเดท

โดยในกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะแบ่งหัวข้อองค์ความรู้ย่อยในการแลกเปลี่ยน 3 หัวข้อได้แก่ 

1) โครงสร้าง Laravel Framework (โครงสร้างของโฟลเดอร์ใน Laravel) ประกอบด้วย

  • Directory Structure (โครงสร้างของโฟลเดอร์) ของ Laravel
  • การติดตั้งโปรแกรมจำลองเซิร์ฟเวอร์ และสร้างโปรเจคใหม่ (XAMPP Composer Sublime)
  • ข้อดี และข้อเสียของ Laravel
  • Laravel Framework และ MVC Model

2) ขั้นตอนการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วย Laravel

  • การสร้างโปรเจคใหม่ และวิธีการ Run โปรเจค
  • การกำหนดเส้นทางให้ระบบ (Routing)
  • การควบคุมการทำงานของระบบ (Controller)
  • การสร้างหน้าจอการแสดงผล และการใช้งาน Blade Template (View)
  • การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล (Migration) การใช้งาน Model และการใช้งาน Eloquent
  • การพัฒนาระบบ Webboard ด้วย Laravel Framework (Workshop)

3) ขั้นตอนการ Upload ขึ้น Server 

  • การตั้งค่าระบบก่อนการอัพโหลดขึ้น Server
  • การอัพโหลดโฟลเดอร์ต่าง ๆ ขึ้น Server
  • การทดสอบ และการเรียกใช้งาน
ตกลง