เนื้อแกะอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคบางกลุ่ม
30 ธ.ค. 2566
195
0
เนื้อแกะอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคบางกลุ่ม
เนื้อแกะอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคบางกลุ่ม

เนื้อแกะเป็นแหล่งรวมของวิตามินและแร่ธาตุจำนวนมาก เช่น วิตามินบี วิตามิน PP (ไนอะซิน หรือวิตามิน B3) วิตามิน E และ วิตามิน H (ไบโอติน หรือวิตามิน B7) ธาตุเหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และทองแดง ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท และผิวหนัง แต่ในทางกลับกัน เนื้อสัตว์ชนิดนี้อาจไม่เหมาะกับผู้บริโภคบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคถุงน้ำดีและตับอ่อน

Elena Syurakshina ผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานด้านระบบคุณภาพของรัสเซีย (Roskachestvo) ได้ให้ข้อมูลว่า เนื้อแกะเป็นเนื้อสัตว์ที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของระบบประสาทและการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง รวมทั้ง เนื้อแกะยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ  เช่น ธาตุเหล็กที่จำเป็นต่อการสร้างฮีโมโกลบินและช่วยขนส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยในเนื้อแกะมีธาตุเหล็กมากกว่าเนื้อหมูถึง 30% และยังมีซีลีเนียมที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากสารอนุมูลอิสระ สังกะสีที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน ระบบเผาผลาญ และสุขภาพผิว ฟอสฟอรัสจำนวนมากที่ร่างกายต้องใช้เพื่อสร้างพลังงานแก่กล้ามเนื้อ ระบบประสาท และกระดูกที่แข็งแรง โพแทสเซียมที่ร่างกายต้องใช้สำหรับการทำงานของหัวใจ นอกจากนี้ เนื้อแกะยังมีทองแดงที่มีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและโคบอลต์ที่ช่วยในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดและการทำงานของต่อมหมวกไตและตับอ่อน และครีเอทีนซึ่งมีความสำคัญต่อการเผาผลาญพลังงานในกล้ามเนื้ออีกด้วย ทั้งนี้ปริมาณแคลอรี่ของเนื้อแกะจะขึ้นอยู่กับวิธีการปรุงแต่งและชิ้นส่วนของเนื้อ โดยปริมาณแคลอรี่ที่น้อยที่สุดจะอยู่ที่ส่วนไหล่และมากที่สุดจะอยู่บริเวณหน้าอก

เนื้อแกะไม่เหมาะกับใครบ้าง?

แม้ว่าเนื้อแกะจะอุดมไปด้วยสารอาหาร แต่เนื้อแกะก็อาจจะไม่เหมาะสำหรับกับทุกคน เนื่องจาก เนื้อแกะมีเนื้อที่มีไขมันกลุ่มที่ต้องใช้เอนไซม์ในการย่อยอาหารมากกว่าปกติ จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคถุงน้ำดีและตับอ่อน

ทั้งนี้ นักโภชนาการยังแนะนำให้จำกัดการบริโภคเนื้อแกะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์และโรคข้ออักเสบ รวมถึง สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ควรจำกัดการบริโภคเนื้อแกะไม่เกิน 2-3 ครั้งต่อเดือน เนื่องจากมีไขมันหลายชนิด รวมและหากเกิดอาการแพ้จำเป็นต้องแยกเนื้อแกะออกจากอาหารทันที

คำแนะนำจากเชฟ

Mr. Konstantin Zhuk เชฟผู้เชี่ยวชาญของ Roskachestvo ให้คำแนะนำในการเลือกซื้อเนื้อแกะ 2 ข้อ ได้แก่ เนื้อแกะควรมีความสด และไม่ควรมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ ลักษณะภายนอกของเนื้อควรมีลักษณะเรียบ ไม่มีเศษกระดูก และมีสีที่สวย สำหรับผู้ที่ชอบเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เนื้อแกะอายุน้อยจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะ แต่หากเป็นคนที่ชอบรสชาติดั้งเดิมและมีกลิ่นหอมเฉพาะของเนื้อแกะ ควรเลือกเนื้อแกะที่อายุมาก และจำเป็นต้องเลือกชิ้นเนื้อให้ตรงกับเมนูที่จะปรุงแต่ง

ที่มา: vetandlife.ru/sobytiya/eksperty-roskachestva-rasskazali-komu-vredno-est-baraninu/

ตกลง