ระบบโซล่าเซลล์ พลังงานทางเลือกของเกษตรกรไทย
26 มิ.ย. 2563
520
0
ระบบโซล่าเซลล์ พลังงานทางเลือกของเกษตรกรไทย
ระบบโซล่าเซลล์ พลังงานทางเลือกของเกษตรกรไทย
ระบบโซล่าเซลล์ พลังงานทางเลือกของเกษตรกรไทย

ระบบโซล่าเซลล์ เป็นอีกเทคโนโลยีที่เริ่มมีการประยุกต์ใช้อย่างจริงจังในภาคครัวเรือนและภาคการเกษตร เนื่องจากต้นทุนที่เริ่มลดต่ำลงรวมถึงมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทำไมต้องระบบโซล่าเซลล์

    พลังงานคือหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ว่าอุตสาหกรรมใดก็มีความต้องการ ยิ่งในด้านการเกษตรที่มีการพัฒนาสินค้าต่างๆ ร่วมกับชุมชน ที่ต้องการพลังงานปริมาณมากและยังต้องเป็นพลังงานสะอาด เหมาะสมกับคนในชุมชน

    โซล่าเซลล์จึงกลายเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ด้านพลังงานพื้นฐานของชุมชนเป็นอย่างดี ซึ่งในระดับโลกเองโซล่าเซลล์ก็มีบทบาทในการช่วยเกษตรกรมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่น

  • นวัตกรรมปั้มน้ำโซล่าเซลล์ สามารถุผันน้ำจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้โดยไม่ต้องลากสายไฟฟ้า สามารถใช้งานได้ดีโดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล ขาดแคลนแหล่งพลังงาน ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงหรือไฟฟ้าขาดความเสถียร
  • นวัตกรรมโซล่าเซลล์ควบคู่กับหุ่นยนต์สำรวจแปลงผัก ในตอนนี้หุ่นยนต์ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อีกต่อไปแล้ว แต่การให้พลังงานและการประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพต่างหากคือสิ่งสำคัญ การเพิ่มโซล่าเซลล์เข้ามาทำให้หุ่นยนต์สามารถชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ได้ด้วยตัวเอง เพิ่มระยะเวลาการทำงานให้นานขึ้น
  • ประยุกต์ใช้โซล่าเซลล์ร่วมกับแปลงผักไฮโดรโปนิกส์ แปลงผักไฮโดรโปนิกส์คือแปลงผักที่ไม่ใช้ดิน ใช้เพียงแค่น้ำ ร่วมกับระบบต่างๆ เพื่อให้ปุ๋ย ดูแลรักษาผัก การใช้โซล่าเซลล์เข้าร่วมจะทำให้แปลงผักสามารถอยู่ที่ใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องติดแหล่งพลังงาน หากใช้ควบคูุ่กับระบบ IoT ยิ่งสะดวกต่อการดูแลรักษา
  • ใช้โซล่าเซลล์เพื่อปลูกพืชในทะเลทราย สำหรับประเทศที่มีเขตพื้นที่อยู่ในทะเลทราย เช่น จีน หรือ อียิปต์ ก็เลือกที่จะทำโซล่าฟาร์ม ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าโซล่าเซลล์ทั่วไปในการกระจายพลังงานในพื้นที่ร่วมกับโซล่าเซลล์ปกติด้วย

นอกจากจะใช้โซล่าเซลล์เพื่อเป็นพลังงานให้เหล่าเกษตรในโรงเรือนแล้ว ยังมีการใช้งานในเรือนกระจกเพื่อควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงใช้เพื่อผันน้ำมาปลูกพืชในแปลงขนาดใหญ่เช่นกัน

เกษตรกรไทยยุคใหม่กับโซล่าเซลล์

เกษตรกรไทยมีการประยุกต์ใช้โซล่าเซลล์กับอุปกรณ์ทางการเกษตรเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนที่ถูกลงของโซล่าเซลล์รวมถึงการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีการใช้งานหลักๆ ดังนี้

  • เครื่องสูบน้ำ การประยุกต์ใช้โซล่าเซลล์เข้ากับเครื่องสูบน้ำคงเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่แพร่หลายที่สุดสำหรับเกษตรกรไทย เนื่องจากการทำการเกษตรจำเป็นต้องใช้น้ำ แต่ในบางครั้งสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ทำให้แม่น้ำแห้งขอด ฝนไม่ตกตามฤดูกาล การประยุกต์เข้ากับเครื่องสูบน้ำ โดยเฉพาะเครื่องสูบน้ำบาดาล ทำให้เกษตรกรสามารถดึงน้ำมาใช้ยามกลางวันและพักเครื่องในเวลากลางคืนนอกเหนือจากนั้นยังมีการประยุกต์ใช้ระบบน้ำหยด เชื่อมต่อเข้ากับปั้มน้ำ ทำให้สามารถต่อตรงเพื่อให้น้ำจากพืชได้ทันที โดยมีการใช้ตามศูนย์ทดลองจังหวัดต่างๆ เช่น ระยอง กระบี่ สุรินทร์ ซึ่งระบบนี้ใช้น้ำน้อยกว่าระบบปกติถึง 80%
  • ไฟส่องสว่าง ในพื้นที่บางจุดโดยเฉพาะสวนไร่นาที่ไฟฟ้าไม่สวามารถเข้าถึงได้ การติดตั้งหลอดไฟอัตโนมัติที่ใช้โซล่าเซลล์จะช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรสามารถดูแลสวนของตัวเองได้ง่ายขึ้น นอกเหนือจากใช้งานในไร่นา ไฟโซล่าเซลล์นี้ยังใช้งานในเพิง กระต๊อบ หรือในบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกได้อีกด้วย
  • การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm) ซึ่งเป็นการเกษตรสมัยใหม่ เน้นการเพาะปลูกในพื้นที่จำกัดและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอื่นๆเข้าร่วม เช่น IoT ติดตั้งเข้ากับอุปกรณ์ตรวจสอบต่างๆ

   การมีโซล่าเซลล์อยู่ในพื้นที่จะทำให้อุปกรณ์นั้นๆ ทำงานได้เป็นเอกเทศมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าถึงแบบสมัยก่อนการเกษตรแบบอัตโนมัติโดยส่วนมากจะยังอยู่ในแปลงทดลอง หรือฟาร์มเล็กๆที่ตั้งใจจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ ให้ได้ประยุกต์สูงสุด

   คงเห็นแล้วว่าจริงๆ การประยุกต์ใช้ระบบโซล่าเซลล์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเราอีกต่อไป แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีความแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย แต่ในอนาคตนวัตกรรมเหล่านี้อาจกลายเป็นสิ่งที่เราได้เห็นจนชินตา การใช้พลังงานสะอาดจัเป็นเรื่องปกติของเกษตรกรในวันข้างหน้า เพราะว่าการพัฒนาจะเคลื่อนไปหาสิ่งที่ดีกว่าเสมอ

ตกลง