สภาพแวดล้อม/สภาพอากาศที่เกิดในช่วงเวลานี้ : ฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่
ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ :พืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และ ส้มเขียวหวาน)
ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้ : ทุกระยะการ เจริญเติบโต
ปัญหาที่ควรระวัง : ๑. โรคแคงเกอร์ (เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas citri subsp citri ชื่อเดิม Xanthomonas axonopodis pv. citri)
ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ :
อาการบนใบ เริ่มแรกเป็นจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะขยายใหญ่เป็นแผลจุดนูนสี เหลืองอ่อน ลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำ จากนั้นเนื้อเยื่อแผลจะแข็ง มีสีน้ำตาล เข้ม ตรงกลางแผลยุบตัว ขอบแผลยก ตัวขึ้น บริเวณรอบๆ แผลปรากฏวงสี เหลืองล้อมรอบ พบอาการของโรคได้ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังใบ โดย เห็นชัดที่ด้านหลังใบ นอกจากนี้ยังพบ อาการของโรคได้บนก้านใบ ทำให้ ใบเหลืองร่วงก่อนกำหนด อาการบนกิ่ง ลักษณะคล้ายอาการบน ใบ แต่ไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล ต่อมาแผลจะแตก แข็ง เป็นสีน้ำตาล ขยายรอบกิ่ง หรือตามความยาวกิ่ง รูปร่างแผลไม่แน่นอน อาการบนผล ลักษณะคล้ายอาการบนใบ แต่จะเกิดเป็นแผลเดี่ยวๆ มี ลักษณะกลมฝังลึกลงไปในผิว แผลจะ ขยายเป็นสะเก็ดใหญ่ รูปร่างไม่ แน่นอน มีวงสีเหลืองล้อมรอบ บางครั้ง พบผลปริแตกตามรอยแผล หากเกิด โรคในระยะผลอ่อนจะทำให้ผลผลิต ไม่ได้คุณภาพ และถ้าอาการรุนแรงจะ ทำให้ผลร่วง
แนวทางป้องกัน/แก้ไข :
๑. ควรเลือกกิ่งพันธุ์จากแหล่งปลูกที่ไม่มีการ ระบาดของโรคนี้ หรือไม่นำกิ่งพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคไปปลูก และใช้กิ่งพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ
๒. ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการ โรค ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค และเก็บเศษพืชที่ร่วง หล่นไปทำลายนอกแปลง แล้วพ่นด้วยสารป้องกัน กำจัดโรคพืช กลุ่มสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ ๘๕% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๓๐-๕๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ คิวปรัสออกไซด์ ๘๖.๒% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐- ๑๕ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือคอปเปอร์ไฮดรอก ไซด์ ๗๗% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๑๕-๒๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นทุก ๗-๑๐ วัน จำนวน ๒-๓ ครั้ง
๓. ไม่นำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ ต่อกับต้นปกติ และควรทำความสะอาดเครื่องมือ ก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง
๔. กำจัดแมลงพวกหนอนชอนใบ โดยเฉพาะช่วงที่ ส้ม มะนาว และมะกรูดแตกใบอ่อน เนื่องจากรอยทำลายของหนอนชอนใบเป็นช่องทางให้เชื้อสาเหตุ โรคเข้าทำลายพืช และช่วยส่งเสริมให้อาการโรคลุกลามอย่างรวดเร็ว โดยพ่นด้วยปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ ๘๓.๙% อีซี อัตรา ๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือโคลไทอะนิดิน ๑๖% เอสจี อัตรา ๕ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด ๗๐% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๒ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ไทอะ มีทอกแซม ๒๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๕ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นให้ทั่วทั้งหลังใบและหน้าใบ และถ้า พบว่ายังมีการระบาดของหนอนชอนใบให้พ่นซ้ำ
ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้ : ระยะแตกใบอ่อน
ปัญหาที่ควรระวัง : ๒. หนอนชอนใบส้ม
ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ :
ผีเสื้อตัวเต็มวัยวางไข่ใต้เนื้อเยื่อใบใกล้เส้นกลางใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนจะกัดกินและชอนไชอยู่ในระหว่างผิวใบ หนอนจะทำลายด้านใต้ใบมากกว่าบนใบ รอยทำลายสังเกตได้ง่ายตั้งแต่เริ่มทำลายโดยเห็นเป็นเส้นทางสีขาวเรียวยาวในระยะเริ่มแรกและขยายใหญ่ขึ้นเป็นทางคดเคี้ยวไปมา ใบมีลักษณะบิดงอลงทางด้านที่มีหนอนทำลาย นอกจากทำลายใบแล้ว ถ้ามีการระบาดมาก หนอนจะเข้าทำลายกิ่งอ่อน และผลอ่อนด้วยรอยแผลที่เกิดจากการทำลายจะเป็นช่องทางให้เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas citri subsp citri ซึ่งทำให้เกิดโรคแคงเกอร์รุนแรงขึ้น
แนวทางป้องกัน/แก้ไข :
๑. การบังคับยอดให้แตกพร้อมกัน สามารถควบคุมประชากรของหนอนชอนใบส้มได้ดีขึ้นสะดวกในการดูแลรักษา ช่วยลดจำนวนครั้งในการใช้สารเคมีในการแตกยอดแต่ละรุ่น และเป็นการ อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
๒. ใบอ่อนที่พบหนอนชอนใบส้มลงทำลายมากควร เก็บทำลายทิ้ง เพื่อลดปริมาณหนอนชอนใบส้ม ในการแตกยอดรุ่นต่อไป
๓. สำรวจหนอนชอนใบส้มช่วงแตกใบอ่อน หากยอดอ่อนถูกทำลายเกินกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของยอดที่สุ่มสำรวจทั้งหมด ให้พ่นสารฆ่าแมลง เช่น ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ ๘๓.๙% อีซี อัตรา ๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือโคลไทอะนิดิน ๑๖% เอสจีอัตรา ๕ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือไทอะมีทอกแซม ๒๕% ดับเบิ้ลยูจีอัตรา ๕ กรัม ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรืออิมิดาโคลพริด ๗๐% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๒ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นให้ทั่ว ทั้งหลังใบและหน้าใบ และถ้าสำรวจพบว่ายังมีการ ระบาดของหนอนชอนใบส้มให้พ่นซ้ำ
*การใช้ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ ในการป้องกัน กำจัดหนอนชอนใบส้มให้มีประสิทธิภาพดีนั้น ต้อง ทำการพ่นสารโดยใช้อัตราน้ำมากกว่าการพ่นสาร ฆ่าแมลงทั่วไป เพื่อให้สารน้ำมันเคลือบใบพืช