กัญชง และ กัญชา ต่างกันอย่างไร
20 เม.ย. 2565
137
0
กัญชง และ กัญชา ต่างกันอย่างไร
กัญชง (ซ้าย) และใบกัญชา (ขวา)
กัญชง (ซ้าย) และใบกัญชา (ขวา)

กัญชง และ กัญชา

กัญชง หรือ “เฮมพ์ (Hemp)” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. กัญชา หรือมารีฮวนนา (Marijuana) ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis indica Lam. พืชทั้ง 2 ชนิด เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Cannabaceae เช่นเดียวกัน และเดิมที่การปลูกทั้ง 2 ชนิดนี้ เพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใยมาเป็นเวลานับพันปีในเอเชียและตะวันออกกลาง และสันนิษฐานว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนกลางของทวีป ได้แก่ พื้นที่ทางตอนใต้ของแคว้นไซบีเรีย ประเทศเปอร์เซีย ทางตอนเหนือของแคว้นแคชเมียร์ ประเทศอินเดีย และบริเวณเชิงเขาหิมาลัย ประเทศจีน ก่อนจะกระจายไปในที่ต่าง ๆ (ประภัสสร ทิพย์รัตน์2562)

ความแตกต่างระหว่าง กัญชง และ กัญชา

 “กัญชง” เป็นพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกัญชามาก เนื่องจากอยู่ในวงศ์เดียวกัน ดังนั้นลักษณะภายนอกหรือสัณฐานวิทยาของพืชทั้งสองชนิดจึงมีความแตกต่างกันเล็กน้อย จนบางครั้งยากต่อการจำแนกชนิดและทำให้เกิดความสับสนได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วพืชทั้งสองชนิดมีลักษณะที่ค่อนข้างแตกต่างกัน เช่น กัญชงมีลักษณะลำต้นสูงมากกว่า เมตร ใบมีสีเขียวอมเหลืองรูปเรียวยาว มีการเรียงสลับของใบค่อนข้างห่างชัดเจน ทรงพุ่มเรียวเล็ก มีการแตกกิ่งก้านน้อย และไม่มียางเหนียวติดมือเป็นต้น

กัญชา” มีลักษณะลำต้นสูงไม่เกิน เมตร ใบมีสีเขียวเข้มขนาดกว้างกว่ากัญชง การเรียงตัวของใบจะชิดกันหรือเรียงเวียนใกล้กัน โดยเฉพาะใบประดับช่อดอกจะเป็นกลุ่มแน่นเห็นได้อย่างชัดเจน มีการแตกกิ่งก้านมาก และมักมียางเหนียวติดมือ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 2561; สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, 2562; Cannabis.info, 2562)

 

ที่

กัญชง

กัญชา

1

ต้นสูงเรียว > 2 เมตร

ต้นเตี้ย ทรงพุ่มกว้าง

2

แตกกิ่งก้านน้อย และไปในทิศทางเดียวกัน

แตกกิ่งก้านมาก และออกกิ่งแบบสลับไปมา

3

ใบเรียวเรียงตัวห่างกัน และมีทรงพุ่มโปร่ง

ใบหนากว้างเรียงตัวชิดกัน และมีทรงพุ่มแน่นทึบ

4

ปล้องหรือข้อยาว

ปล้องหรือข้อสั้น

5

เปลือกหนา เหนียว และลอกง่าย

เปลือกบาง ไม่เหนียว และลอกยาก

6

ใบสีเขียวอมเหลือง ขอบใบย่อยในแต่ละแฉกโค้ง

ใบสีเขียวเข้ม ขอบใบย่อยในแต่ละแฉกเรียวยาว

7

เส้นใยยาว และมีคุณภาพสูง

เส้นใยสั้น และมีคุณภาพต่ำ

8

มียางที่ช่อดอกไม่มาก

มียางที่ช่อดอกมาก

9

ออกดอกเมื่ออายุ > 4 เดือน

ออกดอกเมื่ออายุ ประมาณ เดือน

10

เมล็ดมีขนาดใหญ่ ผิวหยาบด้าน และมีลายบ้าง

เมล็ดมีขนาดเล็ก ผิวมันวาว และมีลายมาก

11

การปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถวแคบ เพราะต้องการเส้นใย

การปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถวกว้าง เพราะต้องการใบ และช่อดอก

                                                         ที่มา: สยาม อรุณศรีมรกต (2562)

ลักษณะทางเคมี

ลักษณะ (ร้อยละ)

กัญชง

กัญชา

THC (Tetrahydrocannabinol) 

< 1

1-20

CBD (Cannabidiol)

≥ 2

< 2

ปริมาณเส้นใย (Fiber) สูงสุด

35

15

                                                                          ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2562)

อ้างอิงจาก http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6131/256

 

ตกลง