รายงานดัชนีราคาอาหารโลกของ FAO เดือนพฤศจิกายน 2566
13 ธ.ค. 2566
36
21
ดัชนีอาหารโลกประจำเดือนพฤศจิกายน 2566
รายงานดัชนีราคาอาหารโลกของ FAO เดือนพฤศจิกายน 2566
รายงานดัชนีราคาอาหารโลกของ FAO เดือนพฤศจิกายน 2566

FAO รายงานข้อมูลดัชนีราคาอาหารโลก เดือนพฤศจิกายน 2566
ชี้ดัชนีราคาอาหารโลกเริ่มเสถียร แต่ราคาน้ำตาลโลกยังสูงจากข้อกังวลในการผลิตของไทยและอินเดีย ที่มีแนวโน้มลดลง

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( FAO ) รายงานข้อมูลดัชนีราคาอาหารโลก ( FAO Food Price Index : IFFI ) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 อยู่ที่ระดับเฉลี่ย 120 . 4 จุด ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนตุลาคม 2566 และต่ำกว่าเดือนพฤศจิกายนปีก่อน 10 . 7 เปอร์เซ็นต์ สะท้อนมาจากดัชนีราคาธัญพืช ผลิตภัณฑ์นม และน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นจนสามารถชดเชยดัชนีราคาธัญพืชและเนื้อสัตว์ที่ลดลง ซึ่ง FAO ชี้ว่าดัชนีราคาอาหารโลกโดยรวม โดยเฉพาะราคาข้าวของตลาดโลกอยู่ในระดับที่มีความเสถียร แต่ราคาน้ำตาลของตลาดโลกยังสูงขึ้น เนื่องจากความกังวลที่มีต่อการผลิตและส่งออกที่มีแนวโน้มลดลงเนื่องมาจากผลกระทบภัยแล้งที่รุนแรงจากปรากฏการณ์เอลนีโญในประเทศไทยและอินเดีย ซึ่งเป็นสองประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลก

ดัชนีราคาธัญพืชของ FAO ในเดือนพฤศจิกายน เฉลี่ยอยู่ที่ 121 จุด ลดลง 3 เปอร์เซ็นต์จากเดือนตุลาคม แต่ยังสูงกว่า 19 . 4 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยดัชนีราคาข้าวทั้งหมดยังคงทรงตัว ส่วนราคาธัญพืชแบบหยาบ เช่น ข้าวบาร์เลย์ในต่างประเทศลดลง โดยเฉพาะราคาข้าวโพดที่ลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากปริมาณการขายของเกษตรกรในอาร์เจนติน่าและอุปทานของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ในขณะเดียวกัน ราคาข้าวสาลีระหว่างประเทศลดลง 2 . 4 เปอร์เซ็นต์ ได้แรงหนุนจากการเก็บเกี่ยวและอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากสหพันธรัฐรัสเซีย

ดัชนีราคาน้ำตาลของ FAO ในเดือนพฤศจิกายน เฉลี่ยอยู่ที่ 161 . 4 จุด เพิ่มขึ้น 1 . 4 เปอร์เซ็นต์จากเดือนก่อน และสูงกว่าระดับราคาในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว 41 . 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของราคาสะท้อนถึงความกังวลของตลาดโลกที่มีต่อการผลิตและปริมาณการส่งออกน้ำตาลของประเทศไทยและอินเดียที่คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง ซึ่งเป็นผลกระทบจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งอย่างรุนแรงจากปรากฏการณ์เอลนีโญ นอกจากนี้ การขนส่งที่ล่าช้าของบราซิล ประกอบกับการแข็งค่าของเงินเรียลบราซิลเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ ยังส่งผลให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของราคาเมื่อเทียบเดือนต่อเดือนอาจไม่รุนแรง เพราะบราซิลยังมีการสถานะการผลิตที่แข็งแกร่ง และราคาน้ำมันดิบระหว่างประเทศยังอยู่ในช่วงขาลง

ดัชนีราคาน้ำมันพืชของ FAO ในเดือนพฤศจิกายน เฉลี่ยอยู่ที่ 124 . 1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 3 . 4 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่ลดลงติดต่อกันสามเดือน โดยได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันปาล์มและน้ำมันดอกทานตะวันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นจากแรงซื้อของประเทศผู้นำเข้า ในขณะที่ราคาน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันเรพซีดลดลงเล็กน้อยเนื่องจากความต้องการนำเข้าทั่วโลกลดลง
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์นมของ FAO ในเดือนพฤศจิกายน เฉลี่ยอยู่ที่ 114 . 2 จุด เพิ่มขึ้น 2 . 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ถือว่าลดลง 16 . 9 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนเมื่อปีที่แล้ว โดยราคาเนย นมผงพร่องมันเนย และนมผง เพิ่มสูงขึ้นสะท้อนถึงความต้องการซื้อของผู้บริโภคก่อนช่วงวันหยุดฤดูหนาวในยุโรปตะวันตก ผนวกกับการอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเงินยูโรที่ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์นมในตลาดโลกเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนราคาชีสโดยเฉพาะราคาเชดดาร์ชีสในตลาดโลกยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้แรงหนุนจากความพร้อมในการส่งออกที่สูง

ดัชนีราคาเนื้อสัตว์ของ FAO ในเดือนพฤศจิกายน เฉลี่ยอยู่ที่ 111 . 8 จุด ลดลง 0 . 4 เปอร์เซ็นต์จากเดือนก่อน และลดลง 2 . 4 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนปีก่อน เนื่องจากราคาเนื้อสัตว์ปีก สุกร และวัวลดลง ซึ่งมีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายประเทศ ความต้องการนำเข้าสุกรในตลาดเอเชียที่ซบเซาอย่างต่อเนื่อง และปริมาณการส่งออกเนื้อวัวของบราซิลและโอเชียเนียที่ยังมีมากเพียงพอ

แปลและเรียบเรียงโดย สานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจากรุงโรม ( สปษ . โรม ) –  12 ธ . ค . 66

แหล่งข้อมูล FAO (2566) รายงาน Food Price Index ประจาเดือนพฤศจิกายน 2566 เว็บไซต์ www . fao . org เผยแพร่ 8 ธันวาคม 2566

ตกลง