วารสารรายเดือน Mainichi Asia Business Institute ฉบับเดือนสิงหาคม 2563 ลงบทความประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรแปรรูปของไทย (ครั้งที่ 2)
3 ส.ค. 2563
430
656
วารสารรายเดือนMainichiAsiaBusinessInstituteฉบับเดือนสิงหาคม
วารสารรายเดือน Mainichi Asia Business Institute ฉบับเดือนสิงหาคม 2563 ลงบทความประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรแปรรูปของไทย (ครั้งที่ 2)

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว (สปษ. โตเกียว) ร่วมกับบริษัท Mainichi Newspaper โดย Mainichi Asia Business Institute ประชาสัมพันธ์ สินค้าเกษตรแปรรูปของไทย โดยเน้นสินค้าดาวเด่นที่มีวางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตของญี่ปุ่น ภายหลังตลาดญี่ปุ่นหันมาบริโภคในครัวเรือนมากขึ้นสืบเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 

การหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านและงดรับประทานอาหารนอกบ้านภายใต้สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น โดยมีการหันมารับประทานอาหารในบ้านเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดภาวะ "ความต้องการบริโภคในครัวเรือนขยายตัว" จะเห็นได้จากยอดจำหน่ายของซุปเปอร์มาร์เก็ตในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดอย่างต่อเนื่อง

สปษ. โตเกียว จึงเล็งเห็นโอกาสในการผลักดันสินค้าเกษตรแปรรูปของไทยที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และมีวางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตของญี่ปุ่น โดยการประชาสัมพันธ์ในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคญี่ปุ่นรู้สึกว่าสินค้าเกษตรแปรรูปของไทยเป็นสินค้าใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากสินค้าที่ผลิตเพื่อป้อนผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้ประกอบการแปรรูปเป็นหลัก และจะทำให้ผู้บริโภคทั่วไปรับทราบถึงระบบการผลิตที่มีคุณภาพของไทย สามารถมั่นใจในด้านความปลอดภัยในการบริโภค

การประชาสัมพันธ์ภายใต้ธีม "สินค้าเกษตรแปรรูปของไทย" แบ่งออกเป็น 3 ครั้ง โดยในครั้งที่ 2 นี้ มีการหยิบบกสินค้าเกษตรแปรรูป ได้แก่ เส้นหมี่บีฮุ่น ว่านหางจระเข้และวุ้นมะพร้าว และเครื่องแกงสำเร็จรูป หลังจากที่เมื่อครั้งที่ 1 ได้มีการประชาสัมพันธ์ เนื้อไก่แปรรูปแช่แข็ง กุ้งแปรรูปแช่แข็ง และถั่วแระญี่ปุ่นแช่แข็ง ไปแล้ว (คลิ๊กเพื่ออ่านรายละเอียดการประชาสัมพันธ์ครั้งที่ 1)

บทความประชาสัมพันธ์ดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสารประจำเดือน (Monthly Report) เดือนสิงหาคม 2563 (หน้าที่ 16 - 21) ภายใต้หัวข้อ "国土生かした農水産国タイー付加価値高め日本の食卓へ" หรือ "ไทย ประเทศเกษตรกรรมที่ใช้จุดเด่นด้านภูมิประเทศในการผลิต ยกระดับมูลค่าเพิ่ม ส่งถึงผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น" วารสารดังกล่าวจัดส่งให้แก่สมาชิกที่เป็นผู้ประกอบการญี่ปุ่นประมาณ 40 ราย และเผยแพร่ทางเว็บไซต์ https://mainichi.asia/2008thaiagri2/ ให้บุคคลทั่วไปเข้าไปอ่านได้

ตกลง