แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด “โรครากขาวยางพารา (White root disease)”
29 ต.ค. 2564
486
51
แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด “โรครากขาวยางพารา (White root disease)”
แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด “โรครากขาวยางพารา (White root disease)”

 แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด “โรครากขาวยางพารา (White root disease)

วันที่ 28 ตุลาคม 2564

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เฝ้าระวังการระบาดของโรครากขาวที่มักเกิดขึ้นในช่วงฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง สามารถเกิดได้ทุกระยะการเจริญเติบโต และมักเกิดขึ้นกับต้นยางอายุ 1 ปี ขึ้นไป โดยใบของยางพาราจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองในบางกิ่งหรือทั้งทรงพุ่ม ขอบใบจะห่อลงเล็กน้อย
กิ่งแขนงบางส่วนแห้ง โคนต้นมีอาการเปลือกแห้งน้ำยางไหล เกิดแผลสีน้ำตาลที่โคน เมื่อขุดรากจะพบเห็นเส้นใยสีขาวของเชื้อราเจริญปกคลุมทั่วผิวราก และมีดอกเห็ดลักษณะครึ่งวงกลม ผิวด้านบนสีส้มเหลืองเป็นวงสลับสีอ่อนแก่
ขอบดอกสีขาวด้านล่างเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาลแผ่นเดียวหรือซ้อนกันหลายแผ่นเป็น ชั้นๆ เกาะติดกับโคนต้นหรือรากที่โผล่พ้นดิน ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจสวนยางพาราอย่างสม่ำเสมอ หากพบยางพารามีอาการดังกล่าว
ให้รีบขอค้าแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อหาทางควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Rigidoporus microporus (Sw.) Overeem

ลักษณะอาการ

ระบบรากของยางพาราจะถูกท้าลาย ท้าให้พุ่มใบแสดงอาการผิดปกติโดยเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ในบางกิ่งหรือทั้งทรงพุ่ม ขอบใบจะห่อลงเล็กน้อยและค่อนข้างหนาเป็นคลื่น กิ่งแขนงบางส่วนแห้งจนในที่สุดจะแสดงอาการยืนต้นตาย ที่โคนต้นมีอาการเปลือกแห้ง น้ำยางไหล เกิดแผลสีน้ำตาลที่โคนเมื่อขุดรากจะพบเห็นเส้นใยสีขาวของเชื้อราเจริญปกคลุมทั่วผิวราก เส้นใยที่มีอายุมากจะกลมนูนและกลายเป็นสีเหลืองซีดหรือแดงซีด เนื้อไม้ในระยะแรกแข็งกระด้างเป็นสีน้ำตาลซีด ในระยะที่เป็นโรคอย่างรุนแรงจะยุ่ยเป็นสีครีม ถ้าอยู่ในที่ชื้นแฉะจะเน่าและปรากฎดอกเห็ดมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม แผ่นเดียวหรือซ้อนกันหลายแผ่นเป็นชั้นๆ เกาะติดกับโคนต้นหรือรากที่โผล่พ้นดินผิวด้านบนของดอกเห็ดเป็นสีส้มเหลืองเป็นวงสลับสีอ่อนแก่ ขอบดอกสีขาว ด้านล่างเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล

การแพร่ระบาด

เชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูฝน ที่มีความชื้นสูง การกระจายและการระบาดของโรคที่รุนแรงมักปรากฏในพื้นที่ปลูกที่มีรากไม้ตอไม้ เป็นพื้นที่ปลูกที่ปลูกแทนป่าเป็นครั้งแรกและดินมีลักษณะเป็นดินร่วนทราย เชื้อราสามารถแพร่กระจายได้ โดยการสัมผัสกันระหว่างรากที่เป็นโรคกับรากจากต้นปกติ และสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม ติดไปกับขาแมลง หรือลอยไปตามน้ำแล้วไปตกบนบาดแผลของตอยางใหม่ เมื่อมีความชื้นเพียงพอ
จะเจริญลุกลามไปยังระบบรากกลายเป็นแหล่งเชื้อโรคแหล่งใหม่

แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

การป้องกันกำจัดและควบคุมโรครากขาวให้ได้ผลจะต้องมีมาตรการในการจัดการตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมการปลูกไปจนถึงหลังปลูก หรือระยะที่ต้นยางให้ผลผลิตแล้ว

1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางควรท้าลายตอไม้ ท่อนไม้เก่าออกให้หมด ไถพลิกหน้าดินตากแดดเพื่อกำจัดเชื้อราที่เจริญอยู่ในดินและในเศษไม้เล็กๆ ที่หลงเหลืออยู่ในดิน

 

2. ในแหล่งที่มีโรคระบาด หลังการเตรียมดินควรปล่อยพื้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 - 2 ปี หรือปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ในดินบางชนิดที่เป็นพิษต่อเชื้อราสาเหตุโรครากขาว

3. แปลงยางที่มีประวัติการเป็นโรครากขาวมาก่อน แนะน้าให้ใช้กำมะถันผงผสมดินในหลุมปลูก
240 กรัมต่อหลุม เพื่อปรับสภาพ 
pH1ดิน ให้เป็นกรด เหมาะต่อการเจริญของเชื้อปฏิปักษ์ต่อโรครากขาวและป้องกันการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรครากขาวเข้าทำลายรากยาง

4. หลังจากปลูกยางไปแล้ว 1 ปี ควรสำรวจแปลงยางสมสม่ำเสมอ ตรวจดูพุ่มใบเพื่อหาต้นยางที่เป็นโรครากขาว ในพื้นที่ที่ไม่เคยเป็นโรคมาก่อน ควรตรวจปีละ 1 - 2 ครั้ง ส่วนในพื้นที่ที่เคยเป็นโรคมาแล้วให้ตรวจซ้ำทุก
3 เดือน ต้นยางเป็นโรครุนแรงไม่สามารถรักษาได้ ควรขุดต้นเผาท้าลายและรักษาต้นข้างเคียงโดยการใช้สารเคมี

5. ต้นยางอายุน้อยกว่า 3 ปี ที่เป็นโรครากขาวนั้น ควรขุดเผาท้าลายให้หมดเพื่อยับยั้งการระบาด
ของโรค

6. ต้นยางที่มีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ควรขุดคูล้อมบริเวณต้นเป็นโรค (กว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 60 เซนติเมตร) เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปยังต้นอื่นโดยการสัมผัสกันของราก และขุดลอกคูทุกปี

7. ไม่ควรปลูกพืชร่วม หรือพืชแซมที่เป็นพืชอาศัยในพื้นที่ที่เป็นโรคราก

8. ใช้สารเคมีสำหรับรักษาต้นที่เป็นโรคเพียงเล็กน้อย และใช้กับต้นข้างเคียงเพื่อป้องกันโรคโดยขุดร่องเล็กๆ รอบโคนต้น กว้าง 15 - 20 เซนติเมตร เทสารเคมีลงในร่องรอบโคนต้น ใช้สารเคมีทุก 6 เดือน เป็นเวลา 2 ปี

- ไตรเดอร์มอร์ฟ 75% EC อัตรา 10 - 20 ซีซี ต่อน้ำ 1 – 2 ลิตร ต่อต้น

- ไซโปรโคนาโซล 10% SL อัตรา 10 - 20 ซีซี ต่อน้ำ 1 – 2 ลิตร ต่อต้น

- โปรปิโคนาโซล 25% EC อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 3 ลิตร ต่อต้น

- เฮกซะโคนาโซล 5% EC อัตรา 10 – 20 ซีซี ต่อ น้ำ 2 ลิตร ต่อต้น

- เฟนิโคลนิล 40% FS อัตรา 4 - 8 กรัม ต่อน้ำ 3 ลิตร ต่อต้น

ตกลง