แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด “โรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมัน (Basal stem rot)”
29 ต.ค. 2564
419
66
แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด
แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด “โรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมัน (Basal stem rot)”

แจ้งเตือนศัตรูพืชระบาด “โรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมัน (Basal stem rot)”

วันที่ 28 ตุลาคม 2564

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เฝ้าระวังการระบาดของโรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมัน เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตกหนัก มีความชื้นในอากาศสูงเหมาะต่อการแพร่ระบาดของโรค โดยต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุ 1 – 22 ปี จะมีอาการใบเหลืองหรือด่างเป็นปื้นบนทางใบล่าง ใบย่อยแห้งตาย ยอดที่ยัง

ไม่คลี่สั้นกว่าปกติและสีซีด ในปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากกว่า 20 ปี เริ่มแรกมักสังเกตได้ค่อนข้างยาก โดยทางใบแก่จะมี

สีซีดจางและหักพับลงรอบลำต้นทางยอดไม่คลี่มีจำ นวนมากกว่าปกติ เมื่ออาการรุนแรงขึ้นจะค่อยๆ แห้งตายลุกลามจนถึงยอดรากที่อยู่บริเวณโคนต้นเปื่อยแห้ง เน่า เกิดดอกเห็ด ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจสวนปาล์มน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นปาล์มน้ำมันมีอาการดังกล่าว ให้รีบขอค้าแนะน้าจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อหาทางควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Ganoderma sp.

ลักษณะอาการ

1. ปาล์มน้ำมันอายุ 1 –22 ปี มีอาการใบเหลืองหรือด่างเป็นปื้นบนทางใบล่าง ใบย่อยแห้งตายยอดที่ยังไม่คลี่สั้นกว่าปกติและสีซีด ปลายยอดแห้ง เมื่ออาการรุนแรงใบจะเหลืองทั้งต้น ชะงักการเจริญเติบโตและยืนต้องตายภายใน 6 - 24 เดือน

2. ปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 20 ปี เริ่มแรกมักสังเกตได้ค่อนข้างยาก จะสังเกตเห็นเมื่ออาการลุกลามต้นถูกทำลายมากกว่ารอยละ 50 โดยทางใบแก่สีซีดจางและหักพับลงรอบล้า–ต้น ทางยอดไม่คลี่มีจำนวนมากกว่าปกติ เมื่ออาการรุนแรงขึ้นจะค่อยๆ แห้งตายลุกลามจนถึงยอด รากที่อยู่บริเวณโคนต้นเปื่อยแห้ง เน่า เกิดดอกเห็ด ภายในลำต้นถูกท้าลาย จึงยืนต้นตายหรือหักล้มภายใน 2 - 3 ปี

การแพร่ระบาด

โดยสปอร์จากเห็ดผ่านลม น้ำ อุปกรณ์ทางการเกษตร และการสัมผัสกันทางรากของต้นปาล์มน้ำมัน ใต้ดิน

แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

1. เตรียมพื้นที่ปลูกโดยกำจัดต่อเก่า ท้าความสะอาดแปลงเพื่อกำจัดเชื้อสาเหตุในซากพืช และจัดการ

ระบบระบายน้ำให้ดี

2. กำจัดวัชพืชหรือพืชอาศัยอื่นลดการสะสมของเชื้อในธรรมชาติ

3. ทำความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องมือทางการเกษตรก่อนน้าไปใช้ทั้งของเกษตรกร และคนตัดปาล์ม

4. บำรุงต้นปาล์มให้แข็งแรง โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผสมกับเชื้อไตรโคเดอร์มา อัตรา เชื้อสด 1 กิโลกรัม

รำละเอียด 4 - 10 กิโลกรัม และปุ๋ยอินทรีย์ 50 - 100 กิโลกรัม หว่านรอบส่งพุ่ม 3 - 6 กิโลกรัมต่อต้น ในช่วงที่มีความชื้นสูงหรือรองก้นก้นหลุมก่อนปลูก 100 กิโลกรัมต่อหลุม

5. หมั่นสำรวจแปลงเพื่อสังเกตลักษณะอาการของโรค โดยเฉพาะแปลงที่เคยมีประวัติการเกิดโรค

ในพื้นที่มาก่อน ตรงบริเวณต้นปกติที่อยู่โดยรอบของจุดที่พบต้นที่เกิดโรค ซึ่งลักษณะอาการผิดปกติเริ่มแรก มักคล้ายกับอาการขาดธาตุ และตรวจสอบการเข้าท้าลายภายในต้น โดยใช้ไม้เคาะล้าต้นหากลำต้นถูกท้าลายจะมีเสียงโปร่งภายใน

6. เมื่อพบดอกเห็ดเจริญเติบโตขึ้นให้รีบกำจัด นำไปทำลายทิ้งนอกแปลงทันที และถากบริเวณที่เนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออก ทาทับด้วยเชื้อไตรโคเดอร์มา หรือใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น thairam และคอยตรวจสอบหากมีดอกเห็ดเกิดขึ้นอีกหรือลักษณะอาการทางใบยังไม่ปกติจะต้องท้าการถากซ้ำ

7. ราดหรือฉีดพ่นบริเวณรอบโคนต้นและโดยรอบอย่างสม่ำเสมอด้วยเชื้อไตรโคเดอร์ม่า โดยผสมเชื้อสด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 - 100 ลิตรกรองเฉพาะน้ำนำมาใช้

8. ขุดหลุมบริเวณรอบโคนต้นที่เกิดโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด แต่อาจจะป้องกันได้ไม่สมบูรณ์เนื่องจากต้องขุดหลุมให้ลึกพอ และระวังเรื่องลงตื้นเขินภายหลัง

 

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

 

ตกลง