ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ประสบความสำเร็จในการ ปรับปรุงพันธุ์มันเทศสำหรับการบริโภคที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่นเดิม จำนวน 2 สายพันธุ์คือ มันเทศพันธุ์สุโขทัย 1 และ มันเทศพันธุ์สุโขทัย 2 ซึ่งเป็นพันธุ์แนะนำให้เกษตรกรป
5 ส.ค. 2565
25
0
ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย
ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ประสบความสำเร็จในการ ปรับปรุงพันธุ์มันเทศสำหรับการบริโภคที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่นเดิม จำนวน 2 สายพันธุ์คือ มันเทศพันธุ์สุโขทัย 1 และ มันเทศพันธุ์สุโขทัย 2 ซึ่งเป็นพันธุ์แนะนำให้เกษตรกรป
ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ประสบความสำเร็จในการ ปรับปรุงพันธุ์มันเทศสำหรับการบริโภคที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่นเดิม จำนวน 2 สายพันธุ์คือ มันเทศพันธุ์สุโขทัย 1 และ มันเทศพันธุ์สุโขทัย 2 ซึ่งเป็นพันธุ์แนะนำให้เกษตรกรปลูกเป็นทางเลือกในการใช้พันธุ์มันเทศพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการสูงทดแทนพันธุ์เดิม
 
สำหรับ “มันเทศพันธุ์สุโขทัย 1” ให้ผลผลิตสูงถึง 3,884 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 79.5 เนื้อสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อเหนียวนุ่ม ละเอียด รสชาติหวานน้อย มีคุณค่าทางโภชนาการให้พลังงานสูง โดยมันเทศ 100 กรัม มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 33 กรัม และแคลอรี 136 กิโลแคลอรี ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการโดยเฉพาะให้พลังงาน คาร์โบไฮเดรต และแคลอรีสูงนั้นสามารถทดแทนอาหารให้พลังงานที่แปรรูปจากแป้งและน้ำตาลแบบอื่น ๆ โดยไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย
 
ส่วนมันเทศพันธุ์สุโขทัย 2 ให้ผลผลิต 2,900 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 34 เนื้อสุกมีสีเหลืองอมส้ม เนื้อเหนียวนุ่ม ละเอียด รสชาติหวาน มีคุณค่าทางโภชนาการให้พลังงานสูง โดยมันเทศ 100 กรัม มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 31 กรัม และแคลอรี 131 กิโลแคลอรี ที่สำคัญมีสารเบต้าแคโรทีนสูงถึง 481 ไมโครกรัม ในขณะที่พันธุ์ท้องถิ่นมีสารเบต้าแคโรทีนน้อยกว่า 10 ไมโครกรัม ซึ่งสารเบต้าแคโรทีนมีบทบาทสำคัญในการบำรุงสุขภาพของสายตา และเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เสมือนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอความแก่ และดูแลรักษาผิวพรรณด้วย
 
มันเทศทั้ง 2สายพันธุ์ สามารถปลูกได้ดีในดินร่วนทราย ทั้งในสภาพบนที่ราบสูงและที่ราบ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคอื่นๆ ที่มีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกัน แต่ควรหลีกเลี่ยงการปลูกมันเทศในแหล่งที่มีการระบาดของด้วงงวงมันเทศ และการปลูกซ้ำที่เดิม สอบถามรายละเอียดมันเทศพันธุ์ใหม่สุโขทัย 1 และสุโขทัย 2 ได้ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย กรมวิชาการเกษตร โทร.0-5567-9085-6
ตกลง